“ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ…ทำทำไม ทำอย่างไร”

 

   คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ มักคิดว่ารัฐวิสาหกิจเป็นเพียงกลุ่มบริษัทไม่กี่แห่งที่ให้บริการสาธารณะ จะหวังให้รัฐวิสาหกิจมีคุณภาพดีหรือบริการดีก็คงยาก เพราะรัฐวิสาหกิจเป็นเพียงแขนขาของระบบราชการ ถูกบริหารโดยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และต้องเกรงใจอิทธิพลทางการเมือง นอกจากนี้ จะเปลี่ยนแปลงทีไรก็มักถูกแรงต้านจากสหภาพแรงงานอีกด้วย ดังนั้นจะหวังให้รัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงได้คงยาก เอาทรัพยากรและพลังไปทำเรื่องอื่นน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าสำหรับสังคมไทย
  เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีความคิดความเห็นแบบนี้ รัฐวิสาหกิจจึงไหลลงไปเรื่อยๆ ถ้าเราคิดว่ารัฐวิสาหกิจเป็นปัญหาที่ปล่อยปละละเลยได้แล้ว เราจะพลาดโอกาสสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น รัฐวิสาหกิจมีความสำคัญมาก(กว่าที่คนไทยส่วนใหญ่คิด)อย่างน้อยในหกมิติสำคัญ
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); มิติแรก รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจครอบคลุมทรัพยากรจำนวนมากที่เป็นหัวใจของยุทธศาสตร์ของประเทศ ประเทศไทยจะยกระดับการพัฒนาได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ทรัพยากรที่อยู่ในมือรัฐวิสาหกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่โทรคมนาคม ระบบการขนส่งทางราง ท่าเรือ สนามบิน สิทธิ์การบิน ที่ดินผืนงามๆ กลางเมือง ตลอดไปจนถึงบริการสาธารณะต่างๆ ที่กระทบโดยตรงต่อต้นทุนการใช้ชีวิตของคนไทย และต้นทุนการทำธุรกิจของธุรกิจไทย ถ้าหากรัฐวิสาหกิจไม่สามารถใช้ทรัพยากรในมือของตนได้อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพแล้ว จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยและความอยู่ดีกินดีของคนไทย
  มิติที่สอง รัฐวิสาหกิจมีงบประมาณรวมกันจำนวนมาก คนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่างบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจในแต่ละปีรวมกันถึงสี่ล้านสี่แสนล้านบาท หรือประมาณสองเท่าของงบประมาณของรัฐบาล ถ้าพิจารณาเฉพาะงบลงทุน จะพบว่ารัฐวิสาหกิจมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ของทุกรัฐบาล จะต้องทำผ่านรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากรัฐวิสาหกิจยังไหลไปเรื่อยๆ โครงการลงทุนเหล่านี้มีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลวหรือได้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ เหมือนกับโครงการลงทุนส่วนใหญ่ของรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมา

  มิติที่สาม รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ประกอบการสำคัญในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจการเงิน (ซึ่งสถาบันการเงินของรัฐมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าร้อยละ 30 ของระบบการเงินไทย) ธุรกิจพลังงาน (ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่แทบทุกประเภท และมีอิทธิพลในการกำหนดราคา) และธุรกิจขนส่ง พฤติกรรมของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจต่างๆ มีผลต่อโครงสร้างการทำธุรกิจและโครงสร้างการแข่งขัน สามารถสร้างความบิดเบือนให้กลไกตลาด สร้างภาระให้แก่ผู้บริโภค และบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่งเอกชน ในบางธุรกิจรัฐวิสาหกิจเป็นทั้งผู้มีอำนาจกำกับดูแลและเป็นผู้ประกอบการเองด้วย สามารถใช้อำนาจกีดกันคู่แข่งเอกชนได้ไม่ยาก ส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

  มิติที่สี่ แม้ว่าในวันนี้รัฐวิสาหกิจไทยสามารถนำส่งรายได้ให้แก่รัฐบาลรวมกันถึงปีละกว่าแสนล้านบาท แต่เรามีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ประสบกับปัญหาขาดทุนโดยต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะขาดทุนเพิ่มขึ้น จากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมการทำธุรกิจ ปัญหาขาดทุนมักถูกซุกใต้พรม ซ่อนไว้รอเวลาที่จะระเบิดออกมาให้รัฐบาลต้องเอาภาษีประชาชนไปช่วยเหลือ เราคุ้นเคยกันดีกับข่าวรัฐบาลล้างหนี้ให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งรอบแล้วรอบเล่า หรือต้องช่วยเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีอัตราหนี้เสียสูงกว่าสถาบันการเงินเอกชนนับสิบเท่า ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการเอกชนในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วจะพบว่ามีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการทำกำไรต่ำกว่ามาก ไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่รัฐได้ใส่เข้าไป และกำไรส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากอำนาจผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด

  มิติที่ห้า รัฐวิสาหกิจเป็นช่องทางสำคัญของการคอรัปชั่นในสังคมไทย เพราะรัฐวิสาหกิจมีงบประมาณสูงและมีอำนาจกึ่งรัฐที่จะให้คุณให้โทษได้ในหลายภาคเศรษฐกิจ การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ในปัจจุบันวิวัฒนาการไปมาก จากที่เคยเรียกเงินทอนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นการคอรัปชั่นผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ไม่มีราคากลาง สามารถปรับตัวเลขสมมุติฐานต่างๆ เพื่อให้แสดงผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุนได้โดยง่าย เกิดปรากฎการณ์กินหัวคิวกันตั้งแต่เริ่มชงโครงการไปจนถึงอนุมัติโครงการ โดยไม่ต้องรอให้ดำเนินโครงการจริง เมื่อผ่านไปหลายปีโครงการลงทุนเหล่านี้ล้มเหลวก็จับมือใครดมไม่ได้ โทษผู้บริหารระหว่างทางได้หลายรุ่น และมักอ้างว่าสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปทำให้ไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ด้วยเหตุนี้ นักการเมืองจึงนิยมแย่งกันเป็นรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่มีรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่อยู่ในอาณัติ และเราถึงได้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจเป็นอนุสาวรีย์แห่งความล้มเหลวอยู่มาก

  มิติที่หก รัฐวิสาหกิจได้กลายเป็นช่องทางสำคัญของการทำนโยบายประชานิยม(แบบไร้ความรับผิดชอบ) เพราะกระบวนการงบประมาณและกระบวนการกำกับดูแลมีช่องโหว่อยู่มาก (มากกว่ากระบวนการงบประมาณและกฎระเบียบขอหน่วยงานราชการ) เราคุ้นเคยกันดีกับโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรแบบรับซื้อทุกเมล็ดในราคาสูงเพื่อแจกเงินซื้อเสียง โครงการพักหนี้ให้แก่ลูกหนี้สารพัดประเภททั้งหนี้เสียและหนี้ดี หรือโครงการบริการสาธารณะฟรีแบบไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โครงการประชานิยม (แบบไร้ความรับผิดชอบ)เหล่านี้อาศัยรัฐวิสาหกิจเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักการเมืองชนะการเลือกตั้ง และสร้างภาระการคลังจำนวนมากให้แก่คนไทยในระยะยาว

  เหตุผลทั้งหกมิติข้างต้นชัดเจนว่าทำไมเราถึงต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แต่คำถามที่ยากกว่า คือจะปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างไรให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ภายในช่วงเวลาสั้นๆ ของโอกาสปฏิรูปประเทศไทยรอบนี้ ปัญหาของรัฐวิสาหกิจเป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน หลายปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ผู้มีอำนาจรัฐที่ผ่านมามักจะซื้อเวลาและปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาของรัฐบาลต่อไป จนรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยู่ในฐานะยากที่จะเยียวยา และเป็นแหล่งผลประโยชน์ที่มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหลายแห่งก็ใช้วิธีซื้อเวลา หวังว่าเมื่อนักการเมืองกลับมามีอำนาจใหม่ ชีวิตแบบรัฐวิสาหกิจไทยไหลไปเรื่อยๆ ก็จะกลับมาเหมือนเดิม

  ผมเชื่อว่าการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าเรากล้าตัดสินใจเลือกทำเฉพาะเรื่องที่จะเกิดผลต่อเนื่องในระยะยาว อย่างน้อยในสี่เรื่องสำคัญ

  เรื่องแรก จะต้องเร่งจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจแบบรวมศูนย์ ในวันนี้ไม่มีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจแทนประชาชนไทยอย่างแท้จริง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ทำหน้าที่เป็นเพียงหน่วยงานประสานงาน และเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐวิสาหกิจและกระทรวงต่างๆ เท่านั้น อำนาจการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจยังกระจายอยู่ตามกระทรวงต้นสังกัด ทำให้นักการเมืองเจ้ากระทรวงแทรกแซงรัฐวิสาหกิจได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหาร การชงและอนุมัติโครงการลงทุน หรือการให้รัฐวิสาหกิจทำบทบาทที่เกินพันธะกิจหลักและความสามารถของตนเพื่อตอบโจทย์ทางการเมือง

  การจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจแบบรวมศูนย์ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นแนวทางกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจในหลายประเทศที่เคยมีปัญหาคล้ายกับเราได้สำเร็จ หน่วยงานกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่ควรจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องสามารถเล่นบทบาทเจ้าของรัฐวิสาหกิจได้อย่างเต็มที่ (คล้ายกับผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชน) จะต้องกำกับดูแลให้แน่ใจว่ารัฐวิสาหกิจทุกแห่งประสบความสำเร็จตามพันธกิจของการจัดตั้งทั้งในฐานะของการเป็นวิสาหกิจที่ต้องหารายได้และการให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ หน่วยงานใหม่นี้ต้องสามารถแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องรอใบสั่งจากนักการเมือง หน่วยงานนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีระบบการบริหารงานที่โปร่งใส เปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลต่างๆ อย่างต่อเนื่องตรงไปตรงมา มีระบบป้องกันไม่ให้นักการเมืองเข้ามาแทรกแซง มีพนักงานคุณภาพสูงที่รู้เรื่องการทำธุรกิจและการบริหารการลงทุนขนาดใหญ่ และมีความเป็นอิสระด้านงบประมาณ (คล้ายกับกรณีของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงาน กลต. ที่ไม่ต้องรอให้นักการเมืองจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้)

  อย่างไรก็ดีรัฐวิสาหกิจต้องเป็นกลไกของรัฐ ดังนั้นกำหนดนโยบายที่จะให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งดำเนินการยังเป็นอำนาจของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่ควรจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องพิจารณาผลของการดำเนินนโยบายที่จะเกิดขึ้นต่อรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง โดยเฉพาะกรณีที่รัฐบาลขอให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการเรื่องที่อยู่นอกเหนือพันธกิจหลัก รัฐบาลจะต้องรู้ภาระที่จะเกิดขึ้นกับรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ก่อนที่จะดำเนินการ และมีกลไกชดเชยผลกระทบทางการเงินให้แก่รัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ใช้รัฐวิสาหกิจแบบขาดความรับผิดชอบและซ่อนปัญหาไว้ใต้พรมเหมือนกับที่ผ่านมา

  เรื่องที่สองจะต้องยกระดับระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจให้เท่าเทียมหรือเหนือกว่าบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศ ระบบบรรษัทภิบาลที่ดีจะต้องเริ่มจากการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนระหว่างรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ที่ทับซ้อนกัน (ทั้งในระดับหน่วยงาน และระดับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เข้ามาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ) เพื่อไม่ให้ชี้นิ้วกันไปมา หรือประนีประนอมกันจนไม่เกิดผลอย่างที่คาดหวัง โดยเฉพาะในด้านการกำหนดนโยบาย (policy maker) การกำกับดูแลตรวจสอบรัฐวิสาหกิจ (regulator) บทบาทการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ (owner) และการดำเนินงานของตัวรัฐวิสาหกิจเอง (operator) และที่สำคัญจะต้องสร้างระบบตรวจสอบการทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบแต่ละด้านได้อย่างตรงไปตรงมา

  ในปัจจุบันการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจถูกกำกับโดยกฎหมายและกฎเกณฑ์หลายฉบับ แต่รัฐวิสาหกิจยังมีปัญหาบรรษัทภิบาลอยู่มาก เราอาจจะต้องเร่งทบทวนกฎหมายต่างๆที่มีอยู่ และกำหนดกระบวนการทำงานเกี่ยวกับระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจใหม่ เพื่อแน่ใจว่าการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามพันธะกิจหลัก มีเป้าหมายที่ชัดเจน โปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐวิสาหกิจต้องเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานอย่างเพียงพอในรูปแบบที่นักวิเคราะห์จะสามารถติดตามได้ คณะกรรมการและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจต้องปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการทำหน้าที่ทับซ้อน ต้องรับผิดรับชอบต่อการกระทำ และถูกประเมินอย่างเหมาะสมกับสภาวะทางธุรกิจและการแข่งขัน การให้ผลตอบแทนแก่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องสอดคล้องกับผลงาน และที่สำคัญการทำงานของรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของรัฐบาลจะต้องมีกรอบที่ชัดเจนทั้งในเรื่องผลสำเร็จที่คาดหวังและต้นทุนการดำเนินงาน

  เรื่องที่สาม จะต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับผู้ประกอบการเอกชนในกิจการหารายได้ของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน การแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้รัฐวิสาหกิจหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง รัฐวิสาหกิจไม่ควรใช้ความได้เปรียบจากอำนาจรัฐสร้างเกราะป้องกันตัวเองจากการแข่งขัน หรือบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่งเอกชน ในปัจจุบันมีหลายเรื่องที่รัฐวิสาหกิจได้เปรียบคู่แข่ง อาทิเช่น รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจ(แทนที่จะให้เงินอุดหนุนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย)ทำให้รัฐวิสาหกิจมีต้นทุนการทำธุรกิจลดลง กฎเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐยังคงให้สิทธิ์รัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าไม่ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจเหนือตลาดและทำธุรกิจแข่งกับเอกชน และรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังเป็นผู้กำกับดูแลคู่แข่งเอกชนด้วย

  ในขณะเดียวกันมีหลายปัจจัยที่ทำให้รัฐวิสาหกิจแข่งขันกับคู่แข่งเอกชนด้วยความเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการถูกบังคับให้ทำหน้าที่เกินพันธกิจหลักของตนโดยไม่ได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสมและทันการณ์ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและแรงงานรัฐวิสาหกิจขาดความยืดหยุ่น ไม่สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขันและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าประเด็นเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข รัฐวิสาหกิจจะแข่งขันไม่ได้ กลายเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องดูแลในอนาคต และรัฐวิสาหกิจต้องพยายามหาอำนาจรัฐสร้างเกราะป้องกันการแข่งขันให้ตนเองจนเกิดความบิดเบือนในกลไกตลาด

  เรื่องสุดท้าย รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจปรับเปลี่ยนสถานะรัฐวิสาหกิจที่ไม่ควรเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป ให้อยู่ในรูปองค์กรอื่นที่เหมาะสมกว่า หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลลง สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาความสามารถในการแข่งขันและปัญหาทางการเงิน รัฐบาลต้องกล้าที่จะผ่าตัดปฏิรูปอย่างเด็ดขาด ไม่เลี้ยงไข้ไว้สร้างปัญหาที่รุนแรงกว่าในระยะยาว รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาไม่ควรได้รับเงินช่วยเหลือ หรือถูกมอบหมายให้ดำเนินโครงการใหม่ๆ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ จนกว่าจะแน่ใจได้ว่าจะเกิดการปฏิรูปการดำเนินงานอย่างแท้จริง

  การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหานี้หนีไม่พ้นที่รัฐบาลและคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจต้องกล้าตัดสินใจเรื่องพนักงาน ทั้งในด้านจำนวนที่มักเกินพอดี และคุณภาพของพนักงานที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขัน ปัญหาของรัฐวิสาหกิจเป็นปัญหาโครงสร้างที่หมักหมมมานานและมักไม่ใช่ความผิดของพนักงาน ดังนั้น รัฐบาลต้องดูแลพนักงานที่จะได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

  ช่วงระยะเวลาหนึ่งปีข้างหน้านี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการวางโครงสร้างปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่างๆ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนี่งที่จะต้องดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพราะถ้าเรานิ่งเฉยไม่ทำอะไรกันอย่างจริงจังแล้ว รัฐวิสาหกิจมีแนวโน้มที่จะเป็นระเบิดเวลา และเป็นตัวถ่วงการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย การอยู่ดีกินดีของประชาชน และที่สำคัญการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ให้ก้าวข้ามการคอรัปชั่นและกับดักนโยบายประชานิยม (แบบไร้ความรับผิดชอบ) ไปได้อย่างยั่งยืน

โดย ดร.วิรไท สันติประภพ

หุ้นที่มีสัญลักษณ์เชิงบวก 4 กุมภาพันธ์ 2558

หุ้นที่มีสัญลักษณ์เชิงบวก

 

โปรแกรม Tisco stock scan

โดยเลือกฟังชั่น Upside% คือการแสกนหุ้นที่สถิติในเชิงบวกโดยคิดเป็นเปอร์เซ็น และได้ผลลัพท์ออกมาดังนี้

  • หุ้น EARTH  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 31.69%  ราคาอยู่ที่ 4.86 บาท
  • หุ้น HMPRO  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 30.96%  ราคาอยู่ที่ 8.40 บาท
  • หุ้น ROBINS  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 26.09%  ราคาอยู่ที่ 46.00 บาท
  • หุ้น SIRI มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 25.00%  ราคาอยู่ที่ 1.84 บาท
  • หุ้น KTC  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 24.24%  ราคาอยู่ที่ 65.00 บาท
  • หุ้น BANPU มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 21.57%  ราคาอยู่ที่ 25.50 บาท
  • หุ้น CPN มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 19.57%  ราคาอยู่ที่ 46.00 บาท
  • หุ้น PTTEP มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 9.55%  ราคาอยู่ที่ 120.50 บาท
  • หุ้น LH มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 9.10%  ราคาอยู่ที่ 9.35 บาท
  • และ BLAND มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 2.24%  ราคาอยู่ที่ 1.79 บาท

นี่เป็นเพียงสัญลักษณ์และสัญญานทางเทคนิค

ซึ่งนักลงทุนควรศึกษาปัจจัยพื้นฐาน  ของหุ้นแต่ละตัวก่อนลงทุน

และขอให้โชคดีในการเทรดคับ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/setlnw 

บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น

บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น 4 กุมภาพันธ์ 2558

มุมมองตลาด

ตลาดหุ้นไทยปิดทะลุ 1600 จุด ปัจจัยบวกยังคงเป็นเรื่องของกระแสเงินลงทุนที่ไหนเข้าสู่ตลาดทุน หนุนจากนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตามจากมาตรการ QE ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆพบว่าแผนมูลค่า 1.1 ล้านล้านยูโรของธนาคารกลางยุโรปอาจไม่ได้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในแถบเอเชียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่จะช่วยให้ตลาดทรงตัวอยู่ในระดับซื้อขายที่ค่อนข้างสูงได้ ในส่วนของภาวะการซื้อขายของตลาดโดยรวมพบว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเนื่องจากเหตุผล

1.จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐลดจากเดือนต.ค 57 ราว 24%
2.กองทุนเฮดฟันด์ทำ short covering ช่วงเปลี่ยนซีรีส์
3.การวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบเร็วทำให้กลุ่มผลิตน้ำมันดิบลดจำนวนแท่นผลิต
4.ปริมาณอุปสงค์น้ำมันดิบทั่วโลกยังเพิ่มช้ากว่าคาด

สรุป : มุมมองราคาน้ำมันดิบอาจฟื้นตัวระยะสั้น อย่างไรก็ตามระยะยาวคาดว่าราคาน้ำมันจะยังไม่ปรับตัวขึ้นได้ไกล ฝ่ายวิเคราะห์เราคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 4/57 กำไรของบริษัทในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะอ่อนตัวลง

สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ถึงความเสี่ยงภายหลังจากการสร้างรูปแบบ Triple top ของการเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิค RSI ปรับตัวขึ้นเข้าสู่กรอบบน Overbought ( กรณีหักล้างดัชนีต้องทะลุ 1610 จุดขึ้นไปและยืนเหนือได้) นอกจากนี้เรามองว่าตลาดจะมีความเสี่ยงจากเครื่องมือ RSI ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้กรอบบนซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างแพง
มุมมองราคาน้ำมันดิบและหุ้นกลุ่มพลังงาน

ราคาน้ำมันดิบ Wti เทรดในตลาด New York กับ Brent ที่ซื้อขายในตลาด London เมื่อวานยังคงทะยานขึ้นต่อจากภาวะ oversold โดยมีปัจจัยเรื่องการลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในประเทศสหรัฐเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อ cover ฟิวเจอร์กลับจากบรรดากองทุนเฮดฟันด์ที่ทำการซื้อขายและเปิดสัญญาด้าน Short มาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานน้ำมันเองนั้นยังไม่เห็นสัญญานที่ชี้ชัดว่า ราคาน้ำมันที่ระดับ $53 ต่อบาร์เรลจะสามารถทรงตัวได้ในขณะนี้ท่ามกลางปริมาณน้ำมันดิบผลิตที่เพิ่มขึ้นจากทั้งกลุ่มโอเปค และ นอกกลุ่มโอเปค

PTT ราคาปิดเมื่อวานนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนเทียบเท่ากับตลาดโดยรวม โดยปัจจัยที่ไม่แน่นอนของตลาดน้ำมัน แต่ปัจจัยบวกระยะสั้น คือ การขายหุ้นที่ถือใน BCP ออกไปให้กองทุนวายุภักษ์ 15% และกำลังเจรจาขายหุ้นที่เหลืออีก 12% ให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นรายอื่นต่อไป โดยได้เงินราว 1 หมื่นล้านบาท และมีกำไรราว 5 พันล้านบาท เราประเมินว่าโอกาสที่ราคาหุ้นจะขึ้นได้ดีกว่าดัชนีตลาดฯนั้นยาก เราแนะนำขายระดับ 380 +/-

PTTEP ราคาปิดสะท้อนการดีดตัวระยะสั้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่ราคาน้ำมันดิบเราประเมินระยะสั้นได้เพียง $55 ต่อบาร์เรล ดังนั้น ราคาหุ้นน่าจะทดสอบแนวต้าน 125 บาท และน่าจะทะลุไปได้ไม่เกิน 130 บาท มุมมองสั้น รอขายที่บริเวณราคาแนวต้าน

ออสเตรเลีย

สัปดาห์ที่แล้วดิฉันลาท่านผู้อ่านเพื่อไปสังเกตการณ์ฤดูร้อนในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้ คือประเทศออสเตรเลีย

เวลาไปออสเตรเลีย มักจะได้ยินสถิติต่างๆว่าใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้บ้างล่ะ ทันสมัยที่สุด หรือสูงที่สุดในซีกโลกใต้ แน่นอนค่ะ เพราะเป็นประเทศเดียวที่ครอบครองทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป แม้ว่าจะเป็นทวีปที่เล็กที่สุดก็ตาม

ออสเตรเลียมีพื้นที่ 7.74 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15 เท่าของพื้นที่ประเทศไทย นับความใหญ่ของพื้นที่เป็นอันดับ 6 ของโลก มีชายฝั่งยาวถึง 25,760 กิโลเมตร

เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภูมิอากาศจึงแตกต่างกันไป ทางตอนเหนือซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน มีพืชพันธุ์ธัญญาหารคล้ายๆกับบ้านเรา ในขณะพื้นที่ทางตอนใต้และตะวันออกของเกาะจะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น

แต่เดิม เมื่อประมาณ 40,000 ปี ก่อนที่ชาวยุโรปจะค้นพบทวีปออสเตรเลีย ผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียกลุ่มแรก มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หากถอยหลังไปดูการจำลองพื้นที่ของโลกโบราณจะพบว่าทวีปออสเตรเลียเคยเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แล้วภายหลังแตกหลุดออกไป)

ทวีปออสเตรเลียในยุคใหม่ ถูกค้นพบโดย กัปตันเจมส์ คุก เมื่อปี 1770 และได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่ง 1 มกราคม 1901 จึงได้รับเอกราช แต่ยังคงเป็นประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ เรียกว่า Commonwealth of Australia

ออสเตรเลียแบ่งเขตการปกครองเป็น 6 รัฐ และ 2 อาณาเขต มีประชากรน้อยกว่าที่ใครๆมักจะคิด เพียง 22.5 ล้านคน ส่วนใหญ่ คือ 89.2% อาศัยอยู่ในเมือง

เมืองหลวงคือ แคนเบอร์รา เมืองใหญ่ที่สุดคือซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองธุรกิจ มีประชากร 4.5 ล้านคน รองลงมาคือ เมลเบอร์น มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน และ บริสเบน มีประชากร 2.04 ล้านคน

ประชากรของออสเตรเลียส่วนใหญ่คือประมาณ 92% เป็นคนผิวขาว ถัดมาเป็นเอเชีย 7% และเชื้อชาติอะบอริจินซึ่งเป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ก่อนการค้นพบของกัปตันคุก รวมกับเชื้อชาติอื่นๆ ประมาณ 1%

และแน่นอนว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดยมีสัดส่วนของโปรแตสแตนท์และคาทอลิกใกล้ๆกันค่ะ รวมกันประมาณ 50% ถัดมาเป็นกลุ่มไม่นับถือศาสนาใด 22%

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว คาดการณ์ขนาดของเศรษฐกิจวัดโดย GDP ในปี 2014 ประมาณ 1.488 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 48.5 ล้านล้านบาท โดยมีรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว 43,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 ล้านบาทต่อปี

เวลาพูดถึงออสเตรเลีย คนมักจะนึกถึงแร่ธาตุ ทองคำ และน้ำมัน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ออสเตรเลียมีอยู่มากมาย และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ ออสเตรเลียขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และอาหารรายใหญ่ของโลก โดยเป็นผู้ส่งออกถ่านหินถึง 29%ของการส่งออกทั่วโลก

นอกจากถ่านหิน ทองคำ และน้ำมันแล้ว ออสเตรเลียยังมีแร่ธาตุอื่นมากมาย ทั้งบ๊อกไซต์ เหล็ก ทองแดง ดีบุก เงิน ยูเรเนียม นิเกิล ทังสเตน ตะกั่ว สังกะสี เพชร และมีแหล่งก๊าซธรรมชาติ

1421639531

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังเลื่องชื่อเกี่ยวกับปศุสัตว์ เช่น วัว และแกะ และเป็นประเทศที่มีสัตว์แปลกๆมากมาย เช่น จิงโจ้ วิลโลบี หมีโคอาลา เนื่องจากเป็นทวีปที่แยกออกมาห่างไกลจากทวีปอื่น สัตว์ดึกดำบรรพ์จึงสามารถคงอยู่ได้โดยไม่สูญพันธ์ุ

ทั้งนี้ การนำเข้าพืชพันธุ์ต่างๆเข้มงวดมาก ประเทศเกาะส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนี้ เพราะหากไม่เข้มงวด อาจจมีการนำเอาเชื้อโรคใหม่ๆที่เป็นอันตรายต่อพืชพันธุ์และปศุสัตว์มาแพร่กระจายได้ และจะแก้ปัญหายาก ดังนั้นผู้เดินทางเข้าประเทศจะถูกห้ามนำอาหารสด อาหารที่มีส่วนผสมของนม ติดตัวเข้าไปโดยเด็ดขาด

ธงชาติทั่วโลก6

กฎหมายของเขาเข้มงวด และมีการบังคับใช้ได้ดีมาก การฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ

วันชาติของออสเตรเลีย ไม่ได้เรียกว่า National Day เหมือนวันชาติของประเทศอื่นๆ แต่เรียกว่า Australia Day คือเป็นวันที่ระลึกถึงผู้อพยพจากอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานในทวีปนี้ชุดแรก ซึ่งเดินทางมาถึง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 1788

เนื่องจากออสเตรเลียอยู่ในซีกโลกใต้ ฤดูกาลจะสลับกับซีกโลกเหนือที่เราคุ้นเคยกันอยู่ค่ะ

ดิฉันไปเยือนออสเตรเลียในช่วงที่มีการแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมแรกของปี คือ ออสเตรเลียนโอเพ่น ซึ่งจัดที่เมืองเมลเบอร์น ในกลางฤดูร้อน คือสัปดาห์ที่สามและสี่ของเดือนมกราคม ซึ่งจะคร่อมช่วงของ Australian Day ทำให้ได้มีโอกาสดูพาเหรด ดูทีวีเห็นกิจกรรมต่างๆ การมอบรางวัล “บุคคลแห่งปี”ให้กับหญิงและชาย ท่านละหนึ่งรางวัล

ในปีนี้ได้ไปดูการจุดพลุฉลอง ที่เขาแจ้งว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองเมลเบอร์น เนื่องจากเป็นปีครบรอบ 100 ปีของ ANZAC ทางการได้ทำเหรียญที่ระลึก 100 ปีออกมาจำหน่ายด้วย

ดิฉันสงสัยว่า ANZAC คืออะไร ไปค้นหาจึงพบว่า เป็นการครบรอบ 100 ปีของการที่ทหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยกพลขึ้นบกที่ตุรกี ในคราวที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 1915

ออสเตรเลียยังมีกลิ่นไอของประเทศเกิดใหม่อยู่มาก มีโอกาสในการทำงาน สร้างฐานะ มีการก่อสร้างเกิดขึ้นตลอดเวลา และมีผู้คนอพยพไปอยู่เรื่อยๆ คนขับรถแท้กซี่เล่าว่า เขามาจากอินเดียเมื่ออายุ 17 ปี ตอนนี้อายุ 24 ปี สามารถมีแท้กซี่ให้เช่าและขับเองถึง 3 คัน เขามาเที่ยวเมืองไทยบ่อยๆด้วยค่ะ

ออสเตรเลียใช้จ่ายเงินเพื่อการศึกษา 5.6%ของ GDP (ดิฉันค้นดูแล้วไทยเราใช้ถึง 5.8% ของ GDP ค่ะ แต่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่า) และเป็นประเทศที่คนเอเชียอยากไปเรียนต่อ เนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่อยู่ใกล้ทวีปเอเชียที่สุด และมีคนเอเชียโดยเฉพาะชาวจีน อยู่มาก ประมาณว่ามีคนใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาหลัก 1.2% และใช้จีนกวางตุ้งเป็นภาษาหลัก 1.2%

ร้านอาหารจีนในออสเตรเลียส่วนใหญ่อร่อยค่ะ เพราะมีวัตถุดิบอาหารที่สด ในเมลเบอร์นมีไชน่าทาวน์หรือย่านชุมชนชาวจีนที่ค่อนข้างใหญ่ คือประมาณ 3 ช่วงตึก ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกค่ะ

ค่าเงินออสเตรเลีย ถือเป็นค่าเงินที่ผันผวนมากสกุลหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศอิงกับโภคภัณฑ์ ในยามที่ราคาโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง ค่าเงินก็จะแข็ง เช่นในปี 2008 ก่อนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่ราคาเหล็กและน้ำมัน พุ่งขึ้นไปสูงมาก ในเดือน กรกฎาคม 2008 หนึ่งเหรียญออสเตรเลีย แลกได้ 0.95 เหรียญสหรัฐ หลังเกิดวิกฤติเพียงหนึ่งเดือน คือในเดือนตุลาคม 2008 ค่าเงินอ่อนตัวไปถึง 0.60 เหรียญสหรัฐ และแข็งขึ้นมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2011 ที่ 1.1 เหรียญสหรัฐ แต่ในปัจจุบันเมื่อราคาน้ำมันตกฮวบฮาบ ในวันที่ 30 มกราคม 2015 ล่าสุด 1 เหรียญออสเตรเลีย แลกได้เพียง 0.7754 เหรียญสหรัฐเท่านั้นค่ะ

ได้รู้จักกับออสเตรเลียพอหอมปากหอมคอนะคะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ

สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง

สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง แต่กลุ่มทุนข้ามชาติได้เต็มๆจากละเมิดสิทธิฯในอาเซียน

เอเจนซีส์ – AEC หรือการรวมตัว 10 ชาติในย่านเอเชียแปซิฟิกที่มีประชากรอาศัยรวมกันร่วม 620 ล้านคนเพื่อเป็นตลาดเดียวที่มีมูลค่าสูงถึง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่จะเปิดพรมแดนติดต่อร่วมกันเป็นทางการในปลายปีนี้ แต่ทว่าเดอการ์เดียน สื่ออังกฤษชี้ว่า การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่เลียนแบบกลุ่มสหภาพยุโรปนี้ อาจไม่ช่วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจทั้งหมดอาจตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน นอกจากนี้ สื่ออังกฤษยังชี้ ไทยอาจไม่ได้รับความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการรวมตัวของ AEC เพราะโดนพิษการเมืองเล่นงาน ทำให้เสียความได้เปรียบไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า

เดอะการ์เดียน รายงานวันที่ 3 ก.พ. 2014 ถึงโอกาสและศักยภาพของ AEC การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ 10ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มี (1)พม่า (2)บรูไน (3)กัมพูชา (4) อินโดนีเซีย (5)ลาว (6)มาเลเซีย (7)ฟิลิปปินส์ (8)ไทย (9)สิงคโปร์ และ (10)เวียดนาม เป็นสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่มีรูปแบบคล้ายสหภาพยุโรป เพื่อหาประโยชน์จากการรวมตัวการค้าตลาดเดียวมูลค่าสูงถึง2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีประชากรร่วม 620 ล้านคนอาศัย และช่องทางการค้าเสรีที่ทำให้มีศักยภาพในการต่อรองสูงขึ้น ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่า ถึงแม้จะยังไม่มีการเปิดตัวของ AEC อย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นความหอมหวลของ AEC สามารถดึงดูดนักลงทุนที่สนใจเข้ามาในภูมิภาคนี้แล้ว

แต่กระนั้นบรรดานักสังเกตการณ์เตือนว่า ในบางส่วนของพื้นที่ หรือแม้กระทั่งทั้งประเทศอาจอยู่ในสภาพที่แย่กว่าเดิม เนื่องมาจากความเสี่ยงพลเมืองในพื้นที่ที่จะถูกริดรอนสิทธิมนุษยชน รีดเอาหยาดเหงื่อแรงงานและสิทธิที่ควรได้ในฐานะความเป็นมนุษย์ไปให้กับการเติบโตทางตัวเลขเศรษฐกิจของกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน

ทั้งนี้มีการคาดการตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 5 % ต่อปี ของ AECที่มีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และถึงขั้นต้องการให้แซงหน้ากลุ่มเศรษฐกิจสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงญี่ปุ่น ไปในท้ายที่สุดก่อนปี 2018 แต่ทว่าเมื่อวิเคราะห์ถึงศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิก สื่ออังกฤษชี้ว่า ทั้ง 10ประเทศมีความแตกต่างเป็นอย่างมากทั้งในด้านการปกครอง สภาพเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง และภาษาที่ใช้ ทำให้มีความกังวลว่า ความฝันที่จะทำให้ AEC จะเริ่มเปิดได้จริงตามกำหนดภายในสิ้นปีนี้ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาว่า เช่น พม่า ซึ่งเป็นชาติที่จนที่สุดในบรรดา 10ประเทศ ซึ่ง 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในขณะที่สิงคโปร์ ที่ถือเป็นชาติร่ำรวยที่สุดในกลุ่ม มีพลเมืองถูกจัดอันดับว่าร่ำรวยที่สุดในโลก

มุสตาปา โมฮาเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาเลเซียกล่าวว่า “ประชาคมโลกธุรกิจต้องการอาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัญหาอีกมาก เช่น ปัญหาเขตแดน ปัญหาศุลกากร ปัญหาการเดินทางข้ามถิ่น และระบบควบคุมที่ใช้มาตรฐานต่างกัน”

ทั้งนี้มาเลเซีย ที่ถือเป็นประเทศที่ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลกทรอนิก นั่งเป็นประธานกลุ่ม AEC ที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ได้ออกมาเตือนว่า จะไม่มีโอกาสได้เห็นการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าและบริการข้ามพรมแดนภายใน AEC ก่อนปี 2020 อย่างแน่นอน ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้นทางประเทศสมาชิกเพียงแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับการเปิดใช้จริง”

อย่างไรก็ตาม เดอะการ์เดียนชี้ว่า ถึงแม้จะมีความต่างเป็นอย่างมากในะหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่นี้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนขยาด แต่ทว่าสื่ออังกฤษไม่คิดว่า AEC จะประสบปัญหาหนี้เน่าเหมือนเช่น EU กำลังเผชิญหน้าอยู่ เป็นเพราะในแต่เริ่มแรก AEC ไม่มีเป้าหมายรวมตัวเพื่อใช้สกุลเงินเดียว และมีรัฐสภายุโรป เช่น สหภาพยุโรป

แต่ทว่าความต่างที่หลากหลายทางสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก ทำให้บางประเทศได้รับผลประโยชน์ไปแล้วจากแนวคิดการรวมตัว AEC แซงหน้าประเทศอื่น ซึ่งจากรายงานล่าสุดของบริษัทกฎหมาย เบเกอร์และแมคเคนซีชี้ว่า สิงคโปร์ยังคงได้รับความไว่วางใจจากธุรกิจข้ามชาติให้เป็นฐานถึง 80 % จากการที่สิงคโปร์เป็นฮับทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ รวมถึงการเป็นตลาดเปิด

นอกจากนี้ยังพบว่า อินโดนีเซีย และพม่าจะเป็นอีก 2 ชาติที่ได้รับประโยชน์ในการเปิด AEC จากการที่ทั้งสองชาติถูกโหวตให้เป็นฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติในอีก 5 ปีข้างหน้า

ซึ่งต่างจากไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ แต่ไทยได้เสียศักยภาพการแข่งขันไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า ราจีฟ บิสวาซ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แผนกเอเชียแปซิฟิกประจำIHS ให้ความเห็น “ความยุ่งเหยิงทางการเมืองล่าสุดในไทยทำให้ประเทศดูมีความเสี่ยงมากขึ้นในสายตานักลงทุนข้ามชาติ และทำให้คนเหล่านี้ลังเลที่จะนำเม็ดเงินกลับเข้ามาลงทุนในไทยอีกครั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม เวียดนามจะเห็นการลงทุนต่างชาติมากขึ้น ในการทำสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศมีความแข็งแกร่งมากขึ้น รวมไปถึงทำให้ค่าแรงของเวียดนามต่ำลงเพื่อที่จะสามารถสู้กับค่าแรงของจีนได้”

เดอะการเดียนวิเคราะห์ว่า การเติบโตของชุมชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหมายถึงศักภาพตลาดภายในภูมิภาคที่มีกำลังซื้อสูงตามไปด้วย และหากค่าแรงของจีนถูกปรับเพิ่มขึ้น จะกลายเป็นโอกาสสำหรับอาเซียน ซึ่งจะทำให้มีการเติบโตของแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมือตามมาเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากร 620 ล้านคนในกลุ่ม AEC เหล่านักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “น่าเป็นห่วง” จากปัญหาการค้าแรงงานทาสที่เป็นปัฯหาสำคัญในภูมิภาคนี้ รวมไปถึงปัญหาแนวคิดก่อการร้าย

ในแถลงการณ์ล่าสุดของกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดAsean People’s Forum หรือ APF ได้แจกแจงปัญหาที่เกิดในภูมิภาคนี้ เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน คอรัปชันและการไร้ประสิทะภาพในการบริหารประเทศ การเข้ายึดครองที่ดินของรัฐ รัฐบาลทหารและเผด็จการ ปัญหาแรงงานทาส ปัญหาการรใช้อำนาจป่าเถื่อนของตำรวจในเครื่องแบบ การขาดธรรมาธิบาลและความรับผิดชอบสังคมของกลุ่มธุรกิจ และที่กลุ่ม APF เป็นกังวลมากขึ้น คือการที่กลุ่มทุนใช้ต้นทุนมนุษย์ของประชาชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น ในบางประเทศสมาชิก AEC อนุญาตให้บริษัทสามารถฟ้องรัฐบาลหากเกิดข้อขัดแย้งกับกฎหมายท้องถิ่นที่ขวางการทำธุรกิจ ซึ่งการรวมตัวจะทำให้สิทธิของชุมชนในพื้นที่ การขยายขอบเขตการปกป้องแรงงาน หรือการป้องกันมลพิษนั้นอาจต้องหมดไปหากมี AEC เกิดขึ้น และจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ประชากรรากหญ้าที่อาศัยในชุมชน และบริษัทข้ามชาติ ระบาดไปทั่วAEC ฟิล โรเบิร์ตสัน ( Phil Robertson ) นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนกล่าว

แต่ทว่าในท้ายที่สุด สื่ออังกฤษสรุปท้ายจากความเห็นของนักธุรกิจชั้นนำของพม่า Thaung Su Nyein ว่า การเกิดของ AEC สมควรที่จะต้องให้ความสนใจมากกว่าหวาดระแวง เนื่องจากจะนำการเติบโตทางเศรษฐกิจและการคมนาคมอย่างยั่งยืนมาสู่ภูมิภาค “ คิดว่าเราต่างควรต้อนรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ฝึกคน

aec-setlnw-thai2