หุ้นที่มีสัญลักษณ์เชิงบวก 4 กุมภาพันธ์ 2558

หุ้นที่มีสัญลักษณ์เชิงบวก

 

โปรแกรม Tisco stock scan

โดยเลือกฟังชั่น Upside% คือการแสกนหุ้นที่สถิติในเชิงบวกโดยคิดเป็นเปอร์เซ็น และได้ผลลัพท์ออกมาดังนี้

  • หุ้น EARTH  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 31.69%  ราคาอยู่ที่ 4.86 บาท
  • หุ้น HMPRO  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 30.96%  ราคาอยู่ที่ 8.40 บาท
  • หุ้น ROBINS  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 26.09%  ราคาอยู่ที่ 46.00 บาท
  • หุ้น SIRI มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 25.00%  ราคาอยู่ที่ 1.84 บาท
  • หุ้น KTC  มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 24.24%  ราคาอยู่ที่ 65.00 บาท
  • หุ้น BANPU มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 21.57%  ราคาอยู่ที่ 25.50 บาท
  • หุ้น CPN มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 19.57%  ราคาอยู่ที่ 46.00 บาท
  • หุ้น PTTEP มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 9.55%  ราคาอยู่ที่ 120.50 บาท
  • หุ้น LH มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 9.10%  ราคาอยู่ที่ 9.35 บาท
  • และ BLAND มีสัญลักษณ์เชิงบวกเพิ่มขึ้น 2.24%  ราคาอยู่ที่ 1.79 บาท

นี่เป็นเพียงสัญลักษณ์และสัญญานทางเทคนิค

ซึ่งนักลงทุนควรศึกษาปัจจัยพื้นฐาน  ของหุ้นแต่ละตัวก่อนลงทุน

และขอให้โชคดีในการเทรดคับ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/setlnw 

CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่

CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่ ควบรวม”บีอีซีแอล-บีเอ็มซีแอล” ตั้งบริษัทใหม่ ถือหุ้นใหญ่ 40%

ck-setlnw

หวังรองรับโครงการพื้นฐานต่อยอดธุรกิจ เสริมศักยภาพด้านการเงิน เพิ่มโอกาสการลงทุนใน-นอกประเทศ เผยแผนควบรวมเสร็จส.ค.นี้ พร้อมจ่ายปันผลทันที ขณะที่บริษัทใหม่พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เดือนก.ย.นี้

กลุ่มช.การช่าง ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มครั้งใหญ่ โดยคณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL มีมติเห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่างบีอีซีแอล และบีเอ็มซีแอล โดยเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ให้มีมติควบรวมบริษัท

ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลยุทธ์ผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและต่อยอดธุรกิจ พร้อมช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย

กลุ่มบริษัทช.การช่าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา บริษัทและบริษัทลูกมีการปรับโครงสร้างภายในเครือทั้งหมด โดย ปัจจุบันช.การช่างถือหุ้นอยู่ในบีอีซีแอล 15.15% และถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 25.19% ขณะที่บีอีซีแอล ถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 10%

ควบรวม2บริษัทลูกตั้งบริษัทใหม่

ดังนั้นเพื่อเป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน บริษัทช.การช่าง จะเข้าซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล ในส่วนที่บีอีซีแอลถือทั้งหมด โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.79 บาท หลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว จะทำให้ช.การช่างถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลเพิ่มเป็น 35.19%

ส่วนการควบรวมกิจการระหว่างบีอีซีและบีเอ็มซีแอลนั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา จากนั้นจะเป็นการแลกหุ้นของบริษัทใหม่ โดย 1 หุ้น บีอีซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.065538 หุ้น และ 1 หุ้นบีเอ็มซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ดังนั้นการแลกหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 15,285 หุ้น หรือ 15,285 ล้านบาทพาร์หุ้นละ 1 บาท สำหรับบริษัทตั้งใหม่นี้ จะถูกถือหุ้นโดยช.การช่างประมาณ 40% และที่เหลืออีก 60% จะเป็นหุ้นสภาพคล่อง หรือฟรีโฟลท ซึ่งถือโดยนักลงทุนทั่วไป

ขายหุ้นไซยะบุรีให้ซีเคพาวเวอร์

นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังขายหุ้นโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี ให้กับบริษัทซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP ทั้งหมดที่ถืออยู่ 30% มูลค่า 4.34 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุน ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.34 หุ้นใหม่ ราคา 3 บาท ซึ่งจะทำให้ ซีเค พาวเวอร์ ได้รับเงินจากเพิ่มทุน 5.6 พันล้านบาท พร้อมแจกวอร์แรนท์สำหรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนท์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน จะทำการแตกพาร์จาก 5 บาท เป็น 1 บาทก่อน

วานนี้ (22 ม.ค.) ราคาหุ้น ช.การช่าง (CK) ปิดตลาดที่ 28.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.54% มูลค่าซื้อขาย 4,072.09 ล้านบาท ขณะหุ้น บีอีซีแอล (BECL) ปิดตลาดที่ 42 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ ลดลง 1.18% มูลค่าซื้อขาย 800.37 ล้านบาท และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ปิดตลาดที่ 18.60 บาท ลดลง 4.62 % มูลค่าซื้อขาย 889.13 ล้านบาท

ควบรวมหวังเตรียมรองรับแข่งขัน

ด้าน นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. แผนการเห็นชอบในการควบรวมกิจการ กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งการควบรวมดังกล่าว จะส่งผลให้ บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ศักยภาพในการเติบโต

“การควบรวมทั้ง 2 บริษัท จะช่วยให้ศักยภาพทั้ง 2 บริษัทเติบโตขึ้น ซึ่งบีอีซีแอล มีความพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการเงินแข็งแกร่งอยู่แล้ว และบีเอ็มซีแอล มีอนาคตการเติบโตที่ดี จากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการนำเอาความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งในอนาคตหากใครที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ หรือใครที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ต้องใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทแน่นอน”นายสมบัติ กล่าว

บีเอ็มซีแอลลดทุนล้างขาดทุนสะสม

เขากล่าวต่อว่า สิ่งที่บีเอ็มซีแอลจะได้ คือ เดิมทีผู้ถือหุ้นบีเอ็มซีแอล มักจะมีคำถามว่า บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันบริษัทมีขาดทุนสะสมอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 และต้องทยอยล้างขาดทุนสะสมก่อน ถึงจะปันผลได้

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ดังนั้นการควบรวมบริษัทครั้งนี้ บีเอ็มซีแอลจะใช้วิธีลดทุนจดทะเบียนจาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 7,000 ล้านบาท จากนั้นลดพาร์จาก 1 บาท เหลือ 30 สตางค์ โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ที่มีอยู่ ส่งผลให้บริษัทจะมีหนี้เหลืออยู่ในหลัก 100 ล้านบาท ดังนั้นจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยลดลง ส่งผลต่อศักยภาพในการระดมทุนมากขึ้น

ยุติออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

“การควบรวมกิจการครั้งนี้ ทำให้การระดมทุนในอนาคต โดยการใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นลืมไปได้เลย หรือไม่จำเป็นออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพราะบริษัทมีฐานทุนที่มากพอจะขยายธุรกิจ และทำให้จ่ายเงินปันผลได้ทันทีหากมีกำไร”นายสมบัติ กล่าว

การรวมหุ้นครั้งนี้ จะต้องเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท ในเดือนก.พ. และคาดว่า จะสามารถควบรวมแล้วเสร็จ และนำหุ้นเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในเดือนส.ค.นี้ โดยบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะมีทุนจดทะเบียน 15,285 ล้านบาท ในราคา พาร์ ที่ 1 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้ง 2 บริษัทรวมกันอยู่ในลำดับที่ 35 ที่ 78,403 ล้านบาท โดยบริษัทใหม่สามารถเข้าซื้อขายได้ในเดือนก.ย.นี้

“ส่วนนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทใหม่จะไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ”นายสมบัติ กล่าว

หุ้นบีเอ็มซีแอลดิ่งรับข่าวที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ในการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเกิดขึ้นนั้น มองว่าผู้ถือหุ้นจะยอมรับกับข้อเสนอการควบรวมดังกล่าวได้ เพราะทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีพื้นฐานที่เข้มแข็งขึ้น และผู้ถือหุ้นได้ถือหุ้นในบริษัทที่ดี สำหรับความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบีเอ็มซีแอล ที่ปรับตัวลดลงแรงวานนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการรับข่าวที่เกิดขึ้นวานนี้

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า สำหรับการทำราคาหุ้นที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ ใช้ราคาหุ้นย้อนหลัง 60 วัน ซึ่งหลังจากการทำราคาหุ้นนั้น หุ้นของทั้ง 2 บริษัทอาจปรับตัวสูงกว่าการทำราคาสว็อปหุ้น การปรับตัวลดลงจึงเป็นการตอบสนองกับมูลค่าที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทไม่ได้มองว่าเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้ถือหุ้น ส่วนนักลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นของบริษัทอยู่ จะเดินหน้าให้ข้อมูลถึงประโยชน์ในการควบรวมครั้งนี้ และเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น

ราคาหุ้นบีเอ็มซีแอล(BMLC) ปิดตลาดวานนี้ ที่ระดับ 2.06 บาท ลดลง 0.32 บาท หรือ 13.45% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 2,436.17 ล้านบาท

เติบโตตามการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า

สำหรับการเติบโตของบีเอ็มซีแอลในอนาคตจะมีอีกมาก หากพิจารณาจำนวนเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบัน ระยะทางเกือบ 60 กิโลเมตร เป็นของบริษัท 20 กิโลเมตร และนโยบายของรัฐบาลต้องการเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครบ 500 กิโลเมตรในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทยังเห็นโอกาสเติบโต

เขากล่าวต่อว่า ล่าสุดบริษัทได้รับการประมูลการเดินรถในเส้นทางเดินสายสีม่วง และคาดจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 12 ส.ค. 2559 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทพลิกมีกำไร

นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการขยายเส้นทางเดินรถไปยังส่วนต่อขยายในระยะเวลาอันสั้นอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสายสีเขียว ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และในอนาคตจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าในอีก 3 เส้นทาง ทั้งสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง ทำให้เห็นโอกาสของการเติบโตที่อยู่อย่างมาก ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทมีเงินทุนเข้าไปประมูลได้

ช.การช่างพร้อมรับซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล

ด้านนางสาวปาหนัน โตสุวรรณถาวร รองกรรมการผู้จัดการสายการเงิน บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL เปิดเผยว่า หลังจากควบรวมกิจการ จะมีรายได้รวมในปีนี้อยู่ที่ 11,657 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.42% จากปี 2557 ที่มีรายได้รวม 11,276 ล้านบาท โดยจะมาจากรายได้ของ บีเอ็มซีแอล 2,974 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่ 10% ตามการปรับอัตราค่าโดยสารและมีผู้ใช้บริการโดยสารมากขึ้น และรายได้จาก บีอีซีแอล 8,683 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3% จากปี 2557

ส่วนนายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช.การช่วง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในส่วนของบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 บริษัท มองว่า การควบรวมดังกล่าว ส่งผลดีต่อการทำธุรกิจ ทำให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะรับซื้อหุ้นทั้งหมด หากนักลงทุนไม่เชื่อมั่นกับการทำรายการครั้งนี้

“สำหรับหุ้นของบีเอ็มซีแอล ที่บีอีซีแอลถือกว่า 10%นั้น บริษัทจะรับซื้อทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการควบรวม โดยหลังจากการควบรวมนั้น ช.การช่าง จะถือหุ้นในบริษัทใหม่ราว 40%” นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าว

กรุงเทพธุรกิจ

กฏของ Pareto กับการเล่นหุ้นแบบ Trend Following

ผลกำไรจากการซื้อ-ขายเพียงไม่กี่ครั้งคือสิ่งที่มีค่ามากกว่าที่เราคิด พวกมันมักจะเป็นสิ่งที่กำหนดผลการลงทุนในภาพรวมของพวกเราเอาไว้ มันคือสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดครับ!

way-of-the-setlnw

“ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของนักเก็งกำไรก็คือการพลาดโอกาสในการทำกำไรก้อนใหญ่ไป นั่นก็เพราะผลกำไรกว่า 95% นั้นมักจะมาจากเพียง 5% ของจำนวนการซื้อขายทั้งหมดเท่านั้น”

Richard Dennis ผู้ให้กำเนิด Turtle Trader

กฎของ Pareto

ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินถึงกฏ 80/20 ของ Pareto กันมาบ้างแล้ว แต่ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ไม่ได้ฉุกคิดถึงความเกี่ยวโยงระหว่างกฏข้อนี้กับหลักการเล่นหุ้นตามแนวโน้มแบบ Trend Following กันสักเท่าไรนัก และนี่ก็คือเรื่องที่ผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟังในบทความนี้

ท้าวความกลับไปเมื่อประมาณปี ค.ศ 1906 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียนคนหนึ่งที่ชื่อว่า Vilfredo Pareto ได้ค้นพบกฏบางอย่างของธรรมชาติและได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า “ร้อยละ 80 ของความมั่งคั่งในประเทศอิตาลีนั้นได้ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 20 ของประชากรในประเทศอิตาลีเท่านั้น!” และแน่นอนว่าสิ่งที่เขาได้ค้นพบนี้ได้กลายมาเป็นหลักการซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อๆมา ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลข 80/20 ตรงนี้จะไม่ใช่เลขที่เป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์แบบตรงเป๊ะในทุกๆกรณี แต่มันก็ได้มีความสำคัญที่ทำให้เราได้เข้าใจถึงหลักการของ “ความสำคัญจากสิ่งที่เป็นส่วนน้อย หรือ Vital Few Principle” นั่นเอง

กฏของ Pareto เกี่ยวข้องอย่างไรกับหลักการเล่นหุ้นแบบ Trend Following อย่างนั้นหรือ?

เมื่อเราลองพิจารณาถึงคำพูดของ Richard Dennis ผู้ที่ได้ฉายาว่าเป็น Prince of The Pit และเป็นผู้ที่ให้กำเนิดกลุ่ม Turtle Trader ขึ้นมานั้น คำตอบของมันคงจะเดาได้ไม่ยากนัก นั่นก็เพราะเขาได้บอกใบ้ให้กับเราอย่างชัดเจนสุดๆแล้วว่า ผลการซื้อขายไม่กี่ครั้งเท่านั้นคือสิ่งที่จะกลายเป็นตัวตัดสินถึงผลลัพท์ของการลงทุนชนิดร่ำรวยแบบล้นฟ้ากับการเล่นหุ้นได้กำไร-ขาดทุนไปวันๆเลยทีเดียว! และเพื่อที่จะทำให้ทุกๆคนได้เห็นภาพของมันได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นนั้น ในบทความนี้ผมจึงได้ทำการเก็บสถิติจากระบบการลงทุนแบบ Trend Following ชนิดหนึ่งซึ่งก็คือระบบ Turtle System 2 (แบบ Simplify โดยไม่มีการ Pyramid ซื้อหุ้นเพิ่ม) ในรูปแบบของค่า R-Multiple ออกมาให้ดูกันถึงความเกี่ยวโยงของมันกับกฏของ Pareto ออกมาแล้วทำการคำนวณคร่าวๆด้วย Excel โดยในตารางที่เราจะได้เห็นกันต่อไปนั้นเป็นการเก็บสถิติจากผลการลงทุนกับหุ้นใน SET100 ตั้งแต่วันที่ 3/1/2001 – 29/12/2011 โดยได้รวมเอาค่า Com ที่ 0.25% ต่อการซื้อขายเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

set-lnw-Turtle-2-Simplify-Portfolio-Equity-RMultiple

ภาพที่ 1 : Portfolio Equity ของระบบ Turtle 2 Simplify ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท ทดสอบย้อนหลังกับหุ้นใน SET100 ตั้งแต่ปี 2001 – 2011 โดยรวมค่าคอมมิสชั่นแล้ว

***Note : การวัดผลกำไรจากการซื้อขายแต่ละครั้งในรูปแบบ R-Multiple คือการนำเอาผลกำไรที่ได้รับหารด้วยความเสี่ยงเริ่มต้นของการซื้อขายในครั้งนั้น โดยที่ความเสี่ยงเริ่มต้นคิดจากราคาซื้อลบด้วยจุดตัดขาดทุนที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ว่า

R-Multiple = Profit / Initial Risk

โดยที่ Initial Risk = Entry Price – Stop Price

การวัดจาก R-Multiple จะมีข้อดีกว่าการวัดผลกำไร-ขาดทุนเป็นรูปแบบของจำนวนเงินหรือ % ร้อยละของเงินทุนเนื่องจากมันได้ทำให้ผลของกำไร-ขาดทุนนั้นอยู่ในหน่วยเดียวกัน มันจึงช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบผลการซื้อขายจากระบบที่ต่างกันหรือจากขนาดของพอร์ทโฟลิโอที่ต่างกันได้เป็นอย่างดี

lnw-set-multiple

ภาพที่ 2 : Win R-Multiple จากระบบ Turtle 2 (Simplify) แสดงให้เห็นถึงค่า +R Multiple จากการซื้อขายที่ “ได้กำไร” จากระบบ โดยที่แกน Y แนวตั้งด้านซ้ายแสดงให้เห็นถึงความถี่และแกน Y ด้านขวาคืออัตราส่วนร้อยละจากจำนวนการซื้อขายที่เป็นกำไร +R ทั้งหมด

Frequency of +R – แท่งแต่ละแท่งคือจำนวนความถี่ของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงของค่า R เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงค่า 0R ถึง 1R มีจำนวน 75 ครั้ง

Cumulative +R Distribution – เส้นที่ลากต่อกันคือจำนวนความถี่สะสมของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 0R ถึง 5R คิดเป็น 82.67% ของจำนวน Win R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

Cumulative +R Contribution – เส้นที่ลากต่อกันคือมูลค่าสะสมของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 0R ถึง 5R คิดเป็นมูลค่า 30.78% ของมูลค่าจาก Win R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

กฎของ Pareto กับธรรมชาติของผลกำไรจากระบบ Trend Following

ตาราง Win R-Multiple ได้บอกให้เราเห็นถึงความสำคัญของผลกำไรจากการซื้อขายไม่กี่ครั้งอย่างชัดเจนมากๆ (ซึ่งเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้ว่ามันคือครั้งไหน) จากภาพนั้นคุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามูลค่าของผลกำไรกว่า 69.22% นั้นเกิดขึ้นจากราวๆ 17.44% (5R ขึ้นไป) ของการซื้อขายที่ได้กำไรเท่านั้น! และในทางกลับกันแล้วร้อยละ 82.56% ของการซื้อขายที่ได้กำไรกลับคิดเป็นมูลค่าของกำไรทั้งหมดเพียงแค่ 30.78% เท่านั้น (0R-5R) นอกจากนี้แล้ว มูลค่าของกำไรกว่า 53.38% ของกำไรทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากเพียง 5.13% ของการซื้อขายที่ได้กำไรเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้กำลังตอกย้ำอะไรกับเราอย่างนั้นหรือครับ??

มันกำลังตอกย้ำให้เราจำเอาไว้ให้ดีว่าเราต้องกล้า Let Profits Run!! … อย่ากลัวว่าจะรวยเกินไป และอย่าไปใส่ใจมากเกินไปหากว่าการ Let Profits Run จะทำให้ผลกำไรที่เราเคยมีต้องหดหายลงไป นั่นเพราะกว่าร้อยละ 80 ของการซื้อขายที่ได้กำไรจากระบบ Trend Following จะกลายเป็นเพียงกำไรก้อนเล็กๆตั้งแต่ 0R – 5R เท่านั้น คุณต้องรู้ว่ามันคือเรื่องธรรมดา! และถ้าหากว่าคุณกลัวกำไรหดและรีบ Take Profit อยู่บ่อยๆล่ะก็ คุณก็จะไม่มีวันได้ลิ้มรสชาติของผลกำไรตั้งแต่ 5R ขึ้นไปเลยเพราะคุณได้ตัดโอกาสของคุณทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว

และในทางกลับกันนั้น หากว่าคุณไม่ยอมตัดขาดทุนเสียแต่เนิ่นๆ แต่ดันไป Let Loss Run ก็จะเป็นการเปิดโอกาสทำให้คุณต้องโดนการขาดทุนแบบ –5R ขึ้นไปเข้าสักวันอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงความเสียหายของพอร์ทอย่างย่อยยับได้อย่างง่ายดาย และมันก็คือเหตุผลของคนที่เจ๊งหุ้นส่วนใหญ่นั่นเอง

ลักษณะของค่า R-Multiple จากระบบการลงุทุนแบบ Trend Following

ในคราวนี้เราลองมาดูถึงลักษณะซึ่งของค่า R-Multiple ซึ่งเป็นเหมือนลายเซ็นของระบบการลงทุนแบบ Trend Following กันดูบ้าง ซึ่งเมื่อคุณได้เห็นถึงค่า R-Multiple ในรูปแบบเฉพาะของมันแล้ว ผมเชื่อว่ามันก็น่าจะทำให้ได้เข้าใจว่าทำไมวินัยของการ Cut Losses Short, Let Profits Run และการ Take Every Trades จึงได้สำคัญนักที่จะสร้างผลกำไรในระยะยาวขึ้นมาได้

lnw-set-multiple2

ภาพที่ 3 : R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากระบบ Turtle 2 (Simplify) โดยที่แกน Y แนวตั้งด้านซ้ายแสดงให้เห็นถึงความถี่และแกน Y ด้านขวาคืออัตราส่วนร้อยละจากจำนวนการซื้อขายทั้งหมด

Frequency of R-Multiple – แท่งแต่ละแท่งคือจำนวนความถี่ของค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงของค่า R โดยแท่งแดงแสดงถึงผลขาดทุน –R และแท่งน้ำเงินคือผลกำไร +R เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงค่า -3R ถึง -2R มีจำนวน 2 ครั้ง

Cumulative R Distribution – คือจำนวนความถี่สะสมของค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ค่า R ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง -3R ถึง 2R คิดเป็น 78.59% ของจำนวน R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

Cumulative R Contribution – คือมูลค่าสะสมของค่า R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไร “สุทธิ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง -3R ถึง 2R คิดเป็นมูลค่า 5.15% ของมูลค่าสุทธิจากค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

Pareto Effect และกลไกของระบบการลงทุนแบบ Trend Following

ใช่แล้วครับ! สิ่งที่คุณเห็นจากค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะต่างๆนั้นคือกลไกที่ทำให้ระบบการลงทุนแบบ Trend Following มีค่ากำไรคาดหวังหรือ Expectancy ที่เป็นบวกในระยะยาวนั่นเอง

จากภาพที่ 3 นั้นคุณจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจำนวนการขาดทุนทั้งหมดจะคิดเป็นร้อยละ 50.85% แต่เมื่อสังเกตุให้ดีเราจะพบว่าผลการขาดทุนของระบบที่แย่กว่า –2R นั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.73% ของผลการซื้อขายทั้งหมดเท่านั้น การ Cut Losses อย่างรวดเร็วของระบบ Trend Following จึงเปรียบเสมือน SAFE-T-CUT ที่จะทำให้เราไม่โดน Pareto Effect ในเชิงลบออกไปได้นั่นเอง มันคือกลไกที่จะทำให้เราไม่ต้องหมดตัวไปอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันนั้นการ Let Profits Run ก็จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถหักลบกลบหนี้การขาดทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ซึ่งในประเด็นนี้เราจะเห็นได้ว่าจำนวนการซื้อขายกว่าร้อยละ 78.59% จะหมดไปกับการทำให้ระบบมีกำไรสุทธิเป็นบวกได้เท่านั้น ผลกำไรที่มากกว่า +2R ขึ้นไปซึ่งเป็นผลจากการที่คุณอึดและกล้าพอที่จะ Let Profits Run จึงกลายเป็นผลการซื้อขายในส่วนน้อยที่สำคัญมากๆ (Vital Few) ที่จะทำให้คุณได้เสพสุขกับความมั่งคั่งจากการใช้ระบบการลงทุนแบบ Trend Following จริงๆ นอกจากนี้แล้วเมื่อมองในมุมกลับคุณก็ยังจะพบว่ามูลค่าของผลกำไรสุทธิทั้งหมดกว่า 82.14% นั้นจะมาจากเพียงกำไร +4R ขึ้นไปหรือคิดเป็นร้อยละ 11.92% เท่านั้น! นี่จึงทำให้คำกล่าวของ Richard Dennis ในเบื้องต้นไม่ใช่สิ่งที่เกินเลยจากความจริงไปสักเท่าไหร่นัก

อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆคนคงเริ่มที่จะมองเห็นถึง Anatomy of Trend Following และ Pareto Effect กันบ้างในระดับหนึ่งแล้วนะครับ อย่างไรก็ตาม การที่ Pareto Effect จะเกิดขึ้นมากับเราได้นั้นยังคงมีตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ … เมื่อคุณได้ศึกษาหรือทดสอบระบบการลงทุนของคุณจนมั่นใจได้ในระดับหนึ่งแล้วว่าในระยะยาวมันจะให้กำไรคาดหวังที่เป็นบวกออกมาได้ คุณต้องมีวินัยและกล้าที่จะทำตามระบบในทุกๆครั้งที่เกิดสัญญาณขึ้นโดยไม่มีข้อแม้ … ไม่ว่าจะเป็นการขายทิ้งหรือเป็นการซื้อหุ้นที่ดูสูงและน่ากลัวแค่ไหนก็ตาม

เรื่องที่ว่ามานี้เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก และผมเชื่อว่าหลายๆคนรวมถึงผมเองก็คงต้องเคยได้ตัดสินใจผิดพลาดจากการมีคติกับสัญญาณในการเข้าซื้อหุ้นที่เกิดขึ้นกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ความผิดพลาดตรงนี้เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ด้วย Mindset ,การฝึกจิตใจ และความเข้าใจที่มีต่อระบบการลงทุนของเรา หวังว่าบทความชิ้นนี้จะทำให้เพื่อนๆที่ได้อ่านเห็นถึงความสำคัญของ “สิ่งที่เป็นส่วนน้อยซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่” และ Pareto Effect ในการเล่นหุ้นกันขึ้นอีกพอสมควร แล้วเดี๋ยวบทความหน้าจะหาเรื่องสนุกๆมาเขียนใหม่ครับ

3 เทพฝ่าด่านสต๊อกมาสเตอร์ กลยุทธ์ดี “มีชัย” เหนือตลาดหุ้น

    อาชีพลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเส้นทางที่ “คนรุ่นใหม่” อยากจะเข้ามาค้นหาความสำเร็จ ขณะที่ “The Stock Master 2014” ถือเป็นเวทีหนึ่งที่ฮอต เพราะนอกจากผู้ได้รับคัดเลือกจะได้เรียนรู้กับโปรแกรมการลงทุนที่ยากจะหาซื้อได้แล้ว ยังมีกูรูที่แนะนำอย่างใกล้ชิดฝึกปรือให้คุณเป็น “เทพแห่งการลงทุน” ก็ได้

3lnwstockmaster

โดยซีซั่นนี้มีการให้ตำแหน่ง “เทพแห่งการลงทุน” ที่วัดผลอย่างมีหลักการ โดย “บรรณรงค์ พิชญากร” กรรมการผู้จัดการ กิจการค้าหลักทรัพย์ และ “สินธนันทน์ บุญยอด” หัวหน้าส่วนงาน Online Trading & Customer Service บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง เล่าว่า

โครงการ “The Stock Master 2014” ในซีซั่นนี้ เราจะใช้ Bualuang iTracker ซึ่งเป็นระบบติดตามผลการลงทุน รายงาน วิเคราะห์ผลการลงทุน โดยจะรวบรวมธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า เพื่อประมวลผลในเชิงปริมาณแบบ Win/Loss Analysis ซึ่งวัดผลการลงทุนในหลากหลายมิติมากกว่าการพิจารณาเพียงมูลค่าทรัพย์สินในพอร์ตลงทุน ดังนั้นการแข่งขันในระยะเวลา 8 สัปดาห์ จึงเรียกได้ว่าไม่มีผู้ที่ได้รางวัลจากโชคช่วยอย่างเด็ดขาด
“วิธีการคำนวณของ iTracker จะวัดผลจากความสามารถของผู้เข้าแข่งขันว่ามีคุณสมบัติตรงกับข้อกำหนดที่เราตั้งไว้หรือไม่ โดย iTracker จะไม่สนว่าทุ่มลงทุนแล้วโชคดีได้กำไร เราต้องการคนที่มีการลงทุนสม่ำเสมอ ได้กำไรต่อเนื่อง ทำอย่างเป็นระบบ ซื้อหุ้นถูกตัว และเข้าแล้วต้องทำกำไรให้เยอะที่สุด ถ้าทำได้ก็จะเป็นเทพแต่ละสาขา”

พร้อมกันนี้ ผู้บริหารได้เปิดตัว “อดิศร เตชะนิธิสวัสดิ์” อายุ 22 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก Imperial College London ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่ง “เทพมั่งคั่ง” จากที่บริหารเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 26.10% ของเงินลงทุนตั้งต้น

“อดิศร” เล่าว่า ตนไม่เคยมีประสบการณ์การลงทุนมาก่อน แต่อยากมีความรู้เรื่องการลงทุน และด้วยบุคลิกที่รักความเสี่ยง จึงมองว่า The Stock Master 2014 ซีซั่นนี้ น่าสนใจที่เน้นการลงทุนแบบเทรดดิ้ง ซึ่งเมื่อเข้ามาลงทุนช่วง 2 สัปดาห์แรกในการแข่งขัน ก็เกิดความผิดพลาด โดยเขาได้ทดลองทุ่มเงินกว่า 1.5 แสนบาทในการลงทุน “หุ้นซิ่ง” คือหุ้นที่มีความหวือหวาอย่างมาก และราคาเกินปัจจัยพื้นฐาน จำนวน 6 บริษัท จนทำให้ร่วงไปอยู่อันดับต่ำสุดจากผู้เข้าร่วมแข่งขันที่มี 60 คน

“ผมเล่นหุ้นซิ่ง ที่บางครั้งวิ่งจากราคาสูงสุด (ซิลลิ่ง) ไปที่ราคาต่ำสุด (ฟลอร์) หรือเรียกได้ว่าวิ่งหวือหวาเป็น 10% ภายใน 1 วัน ตอนนั้นผมโดนเรียกเข้าห้องเย็น ซึ่งเป็นการเชิญเข้าพบโดยจะมีพี่ ๆ ที่ บล.บัวหลวง แนะนำให้คุมความเสี่ยงให้ดีกว่านี้ ซึ่งผมตั้งใจที่จะปรับพอร์ต เพราะความตั้งใจที่เข้ามาแข่งขันคือ ผมมาอยากเป็นที่ 1 แต่ผมทำเกินตัวมาก ก็เจ๊งก่อน” อดิศรเล่า

เขาได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ด้วยการวิเคราะห์ หุ้นในพอร์ตอย่างละเอียด โดยใช้เทคนิคอล ช่วยวิเคราะห์สัญญาณราคา จากนั้นกำหนดกลยุทธ์ขายตัดขาดทุนในบาง บจ. และซื้อ เพิ่มในบาง บจ. พร้อมทั้งตั้งเกณฑ์การลงทุนด้วยการไม่ขายทำกำไรทันที แต่ปล่อยให้หุ้นขึ้นไปก่อน (Let Profit Run) จนกว่าจะมีสัญญาณ หลังจากนั้นประมาณ 2-3สัปดาห์ อันดับก็ปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ จนขึ้นเป็นอันดับ 1 ในที่สุด

ขณะที่ “คเณศ สุตันติวรคุณ” อายุ 27 ปี จบการศึกษาปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก RICE UNIVERSITY ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา คว้าตำแหน่ง “เทพวางแผน” โดยสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด 14.56% ถือเป็นผู้ที่ทำได้ตามแบบแผนการลงทุน และได้ผลตอบแทนสูงสุดของกลุ่ม เล่าว่า ความตั้งใจแรกของการเข้าร่วมโครงการก็คาดหวังที่จะได้ตำแหน่งนี้อยู่แล้ว

“โครงการนี้กำหนดให้เลือกหุ้นมา30 บริษัท ผมก็ไปคัดเลือกจากหุ้นกว่า 500 บริษัท ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ แล้วค่อย ๆ ไล่ดูว่ากราฟหุ้นของบริษัทไหนมีแนวโน้มว่าน่าจะขึ้นได้ในช่วง 2 เดือน และเลือกหุ้นที่เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) กำลังหันหัวขึ้น และ Moving Average Convergence Divergence (MACD) น่าจะตัดใน 1-2 เดือนข้างหน้า ก็จะเลือกเข้ามาในพอร์ต พร้อมทั้งกำหนดว่าหาก Moving Average ตัดลง หรือถึงจุด Stop Loss 5-10% ก็จะขาย” คเณศกล่าว

มาที่อีกตำแหน่ง “เทพ iTracker” ตกเป็นของ “ธนัชพร เอ็งอุทัยวัฒน์” อายุ 29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เพราะเป็นผู้ที่มี Expectancy เป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 2.49% โดยจะวัดผลจากการเลือกหุ้นได้ถูกตัวและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด ซึ่งตำแหน่งนี้ได้มาแบบไม่ง่ายเช่นกัน อีกทั้งการซื้อขายในตลาดก็มีอุปสรรคระหว่างทางคือ ภาวะตลาดที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนแบบนักลงทุนหุ้นมูลค่า (VI) ทำให้ต้องปรับพอร์ตให้สอดคล้องต่อการทำกำไรระยะสั้นมากขึ้น

“ตอนแรกลองเล่นหุ้นแนว VI แต่พบว่าราคาหุ้นไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ จึงต้องปรับมาเล่นหุ้นตามเทรนด์ตลาด ทำให้เรารู้สึกถึงความกลัวและความกล้าของการลงทุนหุ้นพวกนี้ เนื่องจากเราต้องมีจุดการซื้อขายเป็นจังหวะที่ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะซื้อหมูและติดดอยได้” ธนัชพรเล่า

โดยประเด็น “การต่อสู้กับความรู้สึก” นี้ของทั้ง “3 เทพ” มีความเห็นตรงกันว่า เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทำให้ “ไม่กล้า” ขายตัดขาดทุนเมื่อราคาลง และ “กลัว” ที่จะถือหุ้นต่อ จนไม่ได้ Let Profit Run ตามแผน ดังนั้น Bualu-ang iAlgo ที่เป็นระบบส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นอัตโนมัติด้วยชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ (Algorithmic Order) ซึ่งเราสามารถกำหนด หรือสร้างเงื่อนไขในการส่งคำสั่งในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อล็อกทำกำไร จำกัดความเสี่ยง กำหนดจุดตัดขาดทุน จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยตัดความรู้สึกต่าง ๆ ออกไปได้

นี่คือสิ่งที่ “3 เทพ” นักลงทุนรุ่นใหม่ ที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างมีแบบแผน ตามคอนเซ็ปต์ของโครงการนี้ ที่ต้องการ “เปลี่ยนเม่า…เป็นเหาฉลาม” ทำกำไรเกาะกระแสตลาดหุ้นในช่วงดังกล่าว

จับจังหวะหุ้นด้วยปัจจัยเทคนิค

“จะลงทุนในหุ้นอย่างไรให้ถูกจังหวะ” หาคำตอบได้จากหนังสือ “จับจังหวะหุ้นด้วยปัจจัยเทคนิค” ซึ่งได้ให้แนวทางในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคแบบง่ายๆ ตั้งแต่หลักการ แนวคิดพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎีดาว การพิจารณากราฟราคา การดูแนวรับและแนวต้าน เส้นแนวโน้ม รวมถึงรูปแบบราคา เพื่อให้ผู้อ่านสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์จับจังหวะการลงทุนของราคาหุ้นได้ถูกเวลา

https://www.mebmarket.com/embed.php?seller_link=http%3A%2F%2Fwww.mebmarket.com%2Findex.php%3Faction%3DBookDetails%26data%3DYToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NjoiNDU2NjE4IjtzOjc6ImJvb2tfaWQiO3M6NToiMTkzNDIiO30 setlnw-meb