เล่นหุ้น- ต้องดูคน

         

        การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น  นอกจากต้องดูข้อมูล “พื้นฐาน”  ต่าง ๆ  เช่นตัวเลขผลประกอบการและข้อมูลเชิงคุณภาพอื่น ๆ  เช่นความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแล้ว  การดู  “คน”   ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและหุ้นก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  นักลงทุนแนว VI นั้น  มักจะเน้นที่การดูผู้บริหารสำคัญและผู้บริหารสูงสุดของบริษัทเป็นหลักว่า  พวกเขานั้นมีความสามารถและความซื่อสัตย์และ  “เห็นแก่ผู้ถือหุ้น”  หรือมองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน  การที่จะเข้าใจในตัวผู้บริหารได้ดีก็ต้องคอยติดตามว่าพวกเขามีพฤติกรรมอย่างไรในประเด็นต่าง ๆ  เกี่ยวกับบริษัท  และบางทีก็ในเรื่อง  “ส่วนตัว”  ด้วย   ส่วน “นักเก็งกำไร”  นั้น  จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ในเรื่องของ  “คน”  มากขึ้นมาก  เพราะนอกจากผู้บริหารแล้ว  พวกเขาจะต้องมองไปถึงผู้ถือหุ้นใหญ่  นักเล่นหุ้น  “ขาใหญ่” รวมไปถึงนักเล่นหุ้นคนอื่น ที่สนใจและเข้าไปเล่นหุ้นด้วย  ว่าที่จริงหลาย ๆ คนนั้นดูเรื่องนี้เป็นหลัก  ส่วนเรื่องพื้นฐานของบริษัทนั้นเป็นรอง  เหนือสิ่งอื่นใด  พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์หุ้นได้ถูกต้องจริง ๆ  และถึงจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง  มันก็เป็นเรื่อง  “ระยะยาว”  ที่ไม่มีประโยชน์มากนักในการเล่นหุ้นในช่วงสั้น ๆ  หรือวันต่อวัน

เรื่องของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหุ้นที่มีทุกวันเรื่องแรกก็คือ  การซื้อ-ขายของผู้บริหาร หรือที่เรียกว่า Insider Trading นั้น  เป็นสิ่งที่ผมมักตามดูอยู่ห่าง ๆ  โดยทั่วไป  การซื้อขายจำนวนน้อยและทำโดยพนักงานหรือคู่สมรสนั้น  ผมคิดว่าไม่ใคร่จะมีความหมายหรือมีสัญญาณอะไร  ว่าที่จริงผมคิดว่าพวกเขาไม่ได้รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับบริษัท  แต่การซื้อหรือขายโดยผู้บริหารระดับสูงสุดหรือเป็นคนสำคัญของบริษัทนั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีความหมายพอสมควร  การขายหุ้นจำนวนมากซึ่งบ่อยครั้งทำเป็นเรื่อง  “โอนออก” นั้น  เราจะต้องวิเคราะห์ให้ออกว่ามันหมายความว่าอะไร?  โดยส่วนใหญ่แล้วผมมองว่ามันอาจจะไม่ใคร่ดีนัก  เขาอาจจะดูว่าหุ้นมีราคาสูงมากหรืออาจจะเกินพื้นฐานไปแล้วเขาจึงขาย  หรือเขาแค่ต้องการลดความเสี่ยงที่มีหุ้นตัวเดียวมากเกินไป?  เหล่านี้เป็นเรื่องที่เราต้องคิด

บางครั้งผู้บริหาร  รวมถึงผู้บริหารสูงสุด  เข้ามาซื้อหรือขายหุ้นบ่อย ๆ  หรือ  “ตลอดเวลา”  ซึ่งในกรณีนี้  ส่วนมากแล้วจะเป็นการซื้อมากกว่าขาย  ถ้าเป็นแบบนี้  ผมมักมีความรู้สึกว่า  พวกเขาพยายาม “ส่งสัญญาณ”  ว่า  หุ้นเขา “ราคาถูกกว่าพื้นฐาน”  ดังนั้น  นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นจึงควรเข้ามาซื้อ  เพราะ  “ขนาดเจ้าของที่มีหุ้นมากมายอยู่แล้วยังเข้ามาเก็บหุ้นเลย”  อย่างไรก็ตาม  เราก็ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย  เพราะเจ้าของเองอาจจะมี  “วาระซ่อนเร้น” อยู่  พวกเขาอาจจะอยากทำให้ราคาหุ้นสูงเพื่อเหตุผลบางอย่าง  หรือไม่พวกเขาบางคนก็อาจจะคิดไปเองว่าหุ้นของตนเองมีราคาถูกโดยที่ตนเองก็วิเคราะห์ไม่เป็น  และมักจะมีความ  “ลำเอียง” ว่าหุ้นของบริษัทตนเองนั้นดีกว่าความเป็นจริง  ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน  สำหรับผมเองแล้ว  ผมไม่ชอบที่ผู้บริหารเข้ามาซื้อขายหุ้นตัวเองมากเกินไป  เพราะมันอาจจะทำให้ราคาหุ้นไม่เป็นไปตาม  “ธรรมชาติ”

ในช่วงที่ตลาดมีการเก็งกำไรในหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กอย่างหนักนั้น  นักเล่นหุ้นจำนวนมากนั้น  ชอบดู  “ขาใหญ่”  ว่ากำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า?  เพราะเขาเชื่อว่า  ราคาหุ้นจะปรับตัวแรงมากน้อยแค่ไหนสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ   มีนักเล่นหุ้นรายใหญ่เข้าไปซื้อ  ซึ่งจะทำให้หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้อาจจะหลายเท่าในเวลาอันสั้น  ความคิดแบบนี้ผมคิดว่ามีอยู่มากในบรรดานักเล่นรายวันจำนวนมาก  ดังนั้น  นักเล่นหุ้นรายใหญ่จึงมักจะพยายามส่งข้อมูลหรือสัญญาณว่าตนเองได้เข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นจำนวนมากเพราะเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ดีราคาถูกและจะปรับตัวขึ้นไปอีกมากอาจจะหลายเท่า  ผลก็คือ  ราคาหุ้นก็มักจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงซื้อของนักลงทุนและคนเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมาก  แต่หุ้นลักษณะแบบนี้นั้นก็มักจะมีอันตรายสูงที่จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วถ้ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งเนื่องจากราคาอาจจะสูงเกินพื้นฐานไปมาก  พูดถึงเรื่อง  “ขาใหญ่”  แล้ว  ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยในยามนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก  เหตุผลก็เพราะตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงมายาวนานและนักลงทุนที่ “กล้าได้กล้าเสีย” สามารถทำกำไรมโหฬารจนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก  ผลก็คือ  หุ้นตัวเล็กที่ “วิ่งกันระเบิด”  นั้น  แทบทุกตัวก็จะต้องมี  “ขาใหญ่” บางคนหรือบางกลุ่มเข้าไปเล่นทั้งสิ้น

การดูผู้บริหารหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับตัวหุ้นนั้น  ยังต้องดูแรงจูงใจของพวกเขาด้วย  ผู้บริหารบางคนนั้น  ชอบ  “ดูแลหุ้น” ตัวเองมาก  เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้หุ้นมีราคาดีมีปริมาณการซื้อขายสูง  การพูดโปรโมตหุ้นนั้น  จะทำอยู่ตลอดเวลาถ้าทำได้  นอกจากนั้น  หลายคนยังเข้าไปซื้อขายหุ้นของตนเอง  โดยอาจจะผ่านนอมินีหรือส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาช่วย “ทำราคา” ด้วย  เจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทบางคนโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมโตช้าหรือตะวันตกดินนั้น  ตรงกันข้าม  ไม่ดูแลหุ้นของตนเองเลย  พวกเขาไม่สนใจที่จะพบนักลงทุนหรือให้ข่าวข้อมูลของกิจการแก่นักลงทุนถ้าไม่จำเป็น  ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาไม่สนใจ  ในกรณีแบบนี้  บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาไม่ต้องการจะจ่ายปันผลที่งดงามให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย  ดูเหมือนว่าพวกเขาอยากจะบริหารบริษัทคล้าย ๆ  กับบริษัทส่วนตัวมากกว่า  ในทั้งสองกรณีคือ  ดูแลหุ้นตัวเองมากเกินไปและไม่ดูแลหุ้นเลยนั้น  ผมไม่ชอบทั้งคู่  โดยที่ไม่ชอบมากกว่าก็คือการไม่ดูแลหุ้นเลย  หุ้นที่ดีนั้นผมคิดว่า  ควรจะเป็นหุ้นที่ผู้บริหารและเจ้าของควร “ดูแล” พอประมาณในด้านของการให้ข้อมูลและการจ่ายปันผลรวมถึงการปรับในเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการเข้ามาซื้อขายหุ้นเอง  การดูแลหุ้นมากเกินไปนั้น  ผมคิดว่ามันทำให้หุ้นอาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง  ราคาอาจจะเกินมูลค่าที่แท้จริง  ในขณะที่หุ้นที่เจ้าของไม่ดูแลเลยนั้น  ผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทนตามพื้นฐานที่ควรเป็นและผมมักจะหลีกเลี่ยง

ประวัติหรือพฤติกรรมของผู้บริหารหรือเจ้าของหุ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมอง   ถ้าเจ้าของมีประวัติเป็น  “นักเล่นหุ้น” เคยซื้อขายหุ้นในฐานะ  “ขาใหญ่” ผมจะไม่ชอบ  ข้อแรกก็คือ  ผมไม่แน่ใจในเรื่องทักษะหรือความสามารถในการบริหารธุรกิจที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ  ข้อสองก็คือ  ผมคิดว่าเขามักจะเน้นไปที่การทำหรือดูแลราคาหุ้นมากเกินไปซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงกว่าพื้นฐาน  ผู้บริหารที่ดีนั้น  ควรเป็นคนที่คลุกคลีและสร้างธุรกิจด้วยตนเองหรือสืบทอดธุรกิจต่อมาอย่างประสบความสำเร็จ  ในด้านของประวัติทางการเงินนั้น  ผมชอบคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ  ไม่เคยถูก  “Blacklist” หรือถูก  “ตราหน้า” ในสังคมของสถาบันการเงินว่าเป็นลูกหนี้ที่  “เบี้ยว” หนี้ทั้งที่ธุรกิจยังพอไปได้  เช่นเดียวกัน  เขาก็ควรจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคมไม่มีประวัติที่  “น่ารังเกียจ”  และสุดท้ายก็คือ  เมื่อนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทมหาชนแล้ว  เขาควรที่จะต้องคำนึงถึงนักลงทุนเสมอเวลาที่จะตัดสินใจทำอะไรโดยเฉพาะในสิ่งที่มี  “ผลประโยชน์ขัดกัน” ระหว่างตนเองและบริษัทในฐานะที่เป็นของมหาชนที่เขาเป็นผู้บริหาร

สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือเรื่องของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นแต่ละตัวว่าพวกเขามีหลักการหรือกลยุทธ์การลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร  เป็น VI หรือเป็นแนวเทคนิค  พฤติกรรมของพวกเขาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเช่นลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว  ต่าง ๆ  เหล่านี้  ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ  เรียนรู้และต้องอาศัยประสบการณ์เพราะมันไม่มีใครเขียนเป็นบันทึกให้อ่านหรือบางทีเราอ่านพบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง   ถ้าจะถามว่าเราจะต้องรู้ไปทำไมว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ใครเป็นเจ้าของหรือใครเข้าไปเล่น  คำตอบของผมก็คือ  การที่รู้ว่าใครเข้าไปเล่นหุ้นตัวไหนนั้น  อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกหรือเตือนเราว่า  ราคาหุ้นที่เราเห็นนั้น  อาจจะต่างจากมูลค่าพื้นฐานได้มากน้อยแค่ไหน  หุ้นบางตัวนั้น  ผมคิดว่าราคาอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานได้หลายเท่า  กลายเป็นหุ้น  “อภินิหาร”  ได้  เพียงเพราะคนที่เข้าไปเล่นนั้นกล้าทำและทำได้  ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเล่นถ้าไม่ต้องการ  “หายนะ”

ดร.นิเวศน์  เหมวชริวรากุล

เล่นหุ้น- ต้องดูคน

         

        การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น  นอกจากต้องดูข้อมูล “พื้นฐาน”  ต่าง ๆ  เช่นตัวเลขผลประกอบการและข้อมูลเชิงคุณภาพอื่น ๆ  เช่นความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแล้ว  การดู  “คน”   ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและหุ้นก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  นักลงทุนแนว VI นั้น  มักจะเน้นที่การดูผู้บริหารสำคัญและผู้บริหารสูงสุดของบริษัทเป็นหลักว่า  พวกเขานั้นมีความสามารถและความซื่อสัตย์และ  “เห็นแก่ผู้ถือหุ้น”  หรือมองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน  การที่จะเข้าใจในตัวผู้บริหารได้ดีก็ต้องคอยติดตามว่าพวกเขามีพฤติกรรมอย่างไรในประเด็นต่าง ๆ  เกี่ยวกับบริษัท  และบางทีก็ในเรื่อง  “ส่วนตัว”  ด้วย   ส่วน “นักเก็งกำไร”  นั้น  จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ในเรื่องของ  “คน”  มากขึ้นมาก  เพราะนอกจากผู้บริหารแล้ว  พวกเขาจะต้องมองไปถึงผู้ถือหุ้นใหญ่  นักเล่นหุ้น  “ขาใหญ่” รวมไปถึงนักเล่นหุ้นคนอื่น ที่สนใจและเข้าไปเล่นหุ้นด้วย  ว่าที่จริงหลาย ๆ คนนั้นดูเรื่องนี้เป็นหลัก  ส่วนเรื่องพื้นฐานของบริษัทนั้นเป็นรอง  เหนือสิ่งอื่นใด  พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์หุ้นได้ถูกต้องจริง ๆ  และถึงจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง  มันก็เป็นเรื่อง  “ระยะยาว”  ที่ไม่มีประโยชน์มากนักในการเล่นหุ้นในช่วงสั้น ๆ  หรือวันต่อวัน

เรื่องของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหุ้นที่มีทุกวันเรื่องแรกก็คือ  การซื้อ-ขายของผู้บริหาร หรือที่เรียกว่า Insider Trading นั้น  เป็นสิ่งที่ผมมักตามดูอยู่ห่าง ๆ  โดยทั่วไป  การซื้อขายจำนวนน้อยและทำโดยพนักงานหรือคู่สมรสนั้น  ผมคิดว่าไม่ใคร่จะมีความหมายหรือมีสัญญาณอะไร  ว่าที่จริงผมคิดว่าพวกเขาไม่ได้รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับบริษัท  แต่การซื้อหรือขายโดยผู้บริหารระดับสูงสุดหรือเป็นคนสำคัญของบริษัทนั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีความหมายพอสมควร  การขายหุ้นจำนวนมากซึ่งบ่อยครั้งทำเป็นเรื่อง  “โอนออก” นั้น  เราจะต้องวิเคราะห์ให้ออกว่ามันหมายความว่าอะไร?  โดยส่วนใหญ่แล้วผมมองว่ามันอาจจะไม่ใคร่ดีนัก  เขาอาจจะดูว่าหุ้นมีราคาสูงมากหรืออาจจะเกินพื้นฐานไปแล้วเขาจึงขาย  หรือเขาแค่ต้องการลดความเสี่ยงที่มีหุ้นตัวเดียวมากเกินไป?  เหล่านี้เป็นเรื่องที่เราต้องคิด

บางครั้งผู้บริหาร  รวมถึงผู้บริหารสูงสุด  เข้ามาซื้อหรือขายหุ้นบ่อย ๆ  หรือ  “ตลอดเวลา”  ซึ่งในกรณีนี้  ส่วนมากแล้วจะเป็นการซื้อมากกว่าขาย  ถ้าเป็นแบบนี้  ผมมักมีความรู้สึกว่า  พวกเขาพยายาม “ส่งสัญญาณ”  ว่า  หุ้นเขา “ราคาถูกกว่าพื้นฐาน”  ดังนั้น  นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นจึงควรเข้ามาซื้อ  เพราะ  “ขนาดเจ้าของที่มีหุ้นมากมายอยู่แล้วยังเข้ามาเก็บหุ้นเลย”  อย่างไรก็ตาม  เราก็ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย  เพราะเจ้าของเองอาจจะมี  “วาระซ่อนเร้น” อยู่  พวกเขาอาจจะอยากทำให้ราคาหุ้นสูงเพื่อเหตุผลบางอย่าง  หรือไม่พวกเขาบางคนก็อาจจะคิดไปเองว่าหุ้นของตนเองมีราคาถูกโดยที่ตนเองก็วิเคราะห์ไม่เป็น  และมักจะมีความ  “ลำเอียง” ว่าหุ้นของบริษัทตนเองนั้นดีกว่าความเป็นจริง  ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน  สำหรับผมเองแล้ว  ผมไม่ชอบที่ผู้บริหารเข้ามาซื้อขายหุ้นตัวเองมากเกินไป  เพราะมันอาจจะทำให้ราคาหุ้นไม่เป็นไปตาม  “ธรรมชาติ”

ในช่วงที่ตลาดมีการเก็งกำไรในหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กอย่างหนักนั้น  นักเล่นหุ้นจำนวนมากนั้น  ชอบดู  “ขาใหญ่”  ว่ากำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า?  เพราะเขาเชื่อว่า  ราคาหุ้นจะปรับตัวแรงมากน้อยแค่ไหนสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ   มีนักเล่นหุ้นรายใหญ่เข้าไปซื้อ  ซึ่งจะทำให้หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้อาจจะหลายเท่าในเวลาอันสั้น  ความคิดแบบนี้ผมคิดว่ามีอยู่มากในบรรดานักเล่นรายวันจำนวนมาก  ดังนั้น  นักเล่นหุ้นรายใหญ่จึงมักจะพยายามส่งข้อมูลหรือสัญญาณว่าตนเองได้เข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นจำนวนมากเพราะเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ดีราคาถูกและจะปรับตัวขึ้นไปอีกมากอาจจะหลายเท่า  ผลก็คือ  ราคาหุ้นก็มักจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงซื้อของนักลงทุนและคนเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมาก  แต่หุ้นลักษณะแบบนี้นั้นก็มักจะมีอันตรายสูงที่จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วถ้ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งเนื่องจากราคาอาจจะสูงเกินพื้นฐานไปมาก  พูดถึงเรื่อง  “ขาใหญ่”  แล้ว  ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยในยามนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก  เหตุผลก็เพราะตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงมายาวนานและนักลงทุนที่ “กล้าได้กล้าเสีย” สามารถทำกำไรมโหฬารจนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก  ผลก็คือ  หุ้นตัวเล็กที่ “วิ่งกันระเบิด”  นั้น  แทบทุกตัวก็จะต้องมี  “ขาใหญ่” บางคนหรือบางกลุ่มเข้าไปเล่นทั้งสิ้น

การดูผู้บริหารหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับตัวหุ้นนั้น  ยังต้องดูแรงจูงใจของพวกเขาด้วย  ผู้บริหารบางคนนั้น  ชอบ  “ดูแลหุ้น” ตัวเองมาก  เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้หุ้นมีราคาดีมีปริมาณการซื้อขายสูง  การพูดโปรโมตหุ้นนั้น  จะทำอยู่ตลอดเวลาถ้าทำได้  นอกจากนั้น  หลายคนยังเข้าไปซื้อขายหุ้นของตนเอง  โดยอาจจะผ่านนอมินีหรือส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาช่วย “ทำราคา” ด้วย  เจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทบางคนโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมโตช้าหรือตะวันตกดินนั้น  ตรงกันข้าม  ไม่ดูแลหุ้นของตนเองเลย  พวกเขาไม่สนใจที่จะพบนักลงทุนหรือให้ข่าวข้อมูลของกิจการแก่นักลงทุนถ้าไม่จำเป็น  ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาไม่สนใจ  ในกรณีแบบนี้  บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาไม่ต้องการจะจ่ายปันผลที่งดงามให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย  ดูเหมือนว่าพวกเขาอยากจะบริหารบริษัทคล้าย ๆ  กับบริษัทส่วนตัวมากกว่า  ในทั้งสองกรณีคือ  ดูแลหุ้นตัวเองมากเกินไปและไม่ดูแลหุ้นเลยนั้น  ผมไม่ชอบทั้งคู่  โดยที่ไม่ชอบมากกว่าก็คือการไม่ดูแลหุ้นเลย  หุ้นที่ดีนั้นผมคิดว่า  ควรจะเป็นหุ้นที่ผู้บริหารและเจ้าของควร “ดูแล” พอประมาณในด้านของการให้ข้อมูลและการจ่ายปันผลรวมถึงการปรับในเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการเข้ามาซื้อขายหุ้นเอง  การดูแลหุ้นมากเกินไปนั้น  ผมคิดว่ามันทำให้หุ้นอาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง  ราคาอาจจะเกินมูลค่าที่แท้จริง  ในขณะที่หุ้นที่เจ้าของไม่ดูแลเลยนั้น  ผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทนตามพื้นฐานที่ควรเป็นและผมมักจะหลีกเลี่ยง

ประวัติหรือพฤติกรรมของผู้บริหารหรือเจ้าของหุ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมอง   ถ้าเจ้าของมีประวัติเป็น  “นักเล่นหุ้น” เคยซื้อขายหุ้นในฐานะ  “ขาใหญ่” ผมจะไม่ชอบ  ข้อแรกก็คือ  ผมไม่แน่ใจในเรื่องทักษะหรือความสามารถในการบริหารธุรกิจที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ  ข้อสองก็คือ  ผมคิดว่าเขามักจะเน้นไปที่การทำหรือดูแลราคาหุ้นมากเกินไปซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงกว่าพื้นฐาน  ผู้บริหารที่ดีนั้น  ควรเป็นคนที่คลุกคลีและสร้างธุรกิจด้วยตนเองหรือสืบทอดธุรกิจต่อมาอย่างประสบความสำเร็จ  ในด้านของประวัติทางการเงินนั้น  ผมชอบคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ  ไม่เคยถูก  “Blacklist” หรือถูก  “ตราหน้า” ในสังคมของสถาบันการเงินว่าเป็นลูกหนี้ที่  “เบี้ยว” หนี้ทั้งที่ธุรกิจยังพอไปได้  เช่นเดียวกัน  เขาก็ควรจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคมไม่มีประวัติที่  “น่ารังเกียจ”  และสุดท้ายก็คือ  เมื่อนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทมหาชนแล้ว  เขาควรที่จะต้องคำนึงถึงนักลงทุนเสมอเวลาที่จะตัดสินใจทำอะไรโดยเฉพาะในสิ่งที่มี  “ผลประโยชน์ขัดกัน” ระหว่างตนเองและบริษัทในฐานะที่เป็นของมหาชนที่เขาเป็นผู้บริหาร

สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือเรื่องของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นแต่ละตัวว่าพวกเขามีหลักการหรือกลยุทธ์การลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร  เป็น VI หรือเป็นแนวเทคนิค  พฤติกรรมของพวกเขาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเช่นลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว  ต่าง ๆ  เหล่านี้  ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ  เรียนรู้และต้องอาศัยประสบการณ์เพราะมันไม่มีใครเขียนเป็นบันทึกให้อ่านหรือบางทีเราอ่านพบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง   ถ้าจะถามว่าเราจะต้องรู้ไปทำไมว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ใครเป็นเจ้าของหรือใครเข้าไปเล่น  คำตอบของผมก็คือ  การที่รู้ว่าใครเข้าไปเล่นหุ้นตัวไหนนั้น  อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกหรือเตือนเราว่า  ราคาหุ้นที่เราเห็นนั้น  อาจจะต่างจากมูลค่าพื้นฐานได้มากน้อยแค่ไหน  หุ้นบางตัวนั้น  ผมคิดว่าราคาอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานได้หลายเท่า  กลายเป็นหุ้น  “อภินิหาร”  ได้  เพียงเพราะคนที่เข้าไปเล่นนั้นกล้าทำและทำได้  ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเล่นถ้าไม่ต้องการ  “หายนะ”

ดร.นิเวศน์  เหมวชริวรากุล

ลงทุนผ่าน LTF/RMF สร้างโอกาสรับความมั่งคั่ง วัยเกษียณ

ลงทุนผ่าน LTF/RMF สร้างความมั่งคั่งวัยเกษียณ

     ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ธุรกิจกองทุนรวมเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา  อุตสาหกรรมกองทุนรวมมีอัตราการเติบโตประมาณ 17% และปัจจุบันมูลค่าสินทรัพย์รวมของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวม  มีมูลค่าสูงถึง 3.78 ล้านล้านบาท  เพิ่มขึ้น 7.1 แสนล้านบาท  หรือประมาณ 23% นับตั่งแต่ต้นปี 2557 
       และคาดกันว่าในอีกไม่กี่เดือนที่เหลือของปี 2557 นี้ “กองทุนรวม” จะมีอัตราการเติบโตขึ้นอีก  โดยเฉพาะจากเม็ดเงินที่เข้าลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ที่มักจะเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปี 
      ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของอุตสาหกรรมกองทุนรวม  และความเข้าใจของนักลงทุนต่อการลงทุนในกองทุนรวมที่เพิ่มสูงขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเงินเดือนประจำหรือมนุษย์เงินเดือนที่เริ่มหันมาลงทุนในกองทุนรวมเพิ่มขึ้น  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการอยากจะใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณอย่างสุขสบายและมั่งคั่ง
      นั่นเพราะการลงทุนผ่านกองทุนรวม  เป็นอีกทางเลือกที่สามารถสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนในระยะยาวได้เป็นอย่างดี  และเป็น “ตัวช่วย” ให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายที่วางแผนไว้ในวัยเกษียณได้อย่างไม่ยากนัก
    เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนเพื่อความมั่งคั่งในชีวิตวัยเกษียณ  บจล.กสิกรไทย  ได้นำเสนอกองทุนรวมระยะยาว LTF และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ที่มีความหลากหลาย  เพื่อให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนตามความต้องการ  และอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
     สำหรับกองทุน LTF และ RMF ของ บจล.กสิกรไทย  ที่มีความโดดเด่น  และอยากแนะนำให้กับนักลงทุน  โดยแต่ละกองทุนจะมีจุดเด่นและแนวนโยบายที่น่าสนใจ  สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

       1.กองทุนเปิดเค  หุ้นระยะยาวปันผล (KDLTF) (ระดับความเสี่ยง 6)

            กองทุนเปิดเค (KDLTF)  เป็นกองทุน LTF ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศจากการลงทุนของภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ  เช่น ธนาคารพาณิชย์  ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  รับเหมาก่อสร้าง ท่องเที่ยว ขนส่ง ฯลฯ
           ที่ผ่านมากองทุน KDLTF  มีผลการดำเนินงานที่ดี  และจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งตั่งแต่จัดตั้งกองทุน  มีการจ่ายเงินปันผลแล้วทั้งสิ้น  16 ครั้ง  รวม 6.98 บาทต่อหน่วย  โดยครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา  จ่ายสูงถึง 0.84 บาท ต่อหน่วย

       2.กองทุนเปิดเค  โกรทหุ้นระยะยาวปันผล (KGLTF) (ระดับความเสี่ยง 6)

            เป็นอีกหนึ่งกองทุน LTF ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มอัตราการเติบโตของผลกำไร (EPS) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยปัจจุบันอัตราการเติบโตของ EPS ของตลาดอยู่ที่ประมาณ 8% โดยหุ้นที่กองทุนลงทุนจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 9.1% 
            ทั้งนี้  บลจ.กสิกรไทย  คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และเติบโตได้ดีกว่าปีนี้  จึงน่าจะทำให้แนวโน้มอัตราการเติบโตของผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน (ที่ประมาณ 8%)
           ที่ผ่านมากองทุน KGLTF มีผลการดำเนินงานที่ดี  กล่าวคือ  ตั่งแต่จัดตั้งกองทุน  มีการจ่ายเงินปันผลแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง  รวม 4.42 บาทต่อหน่วย  โดยครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา  จายสูงถึง 0.71 บาทต่อหน่วย

      3.กองทุนเปิดเค  หุ้นทุนบริพัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFLRMF) (ระดับความเสี่ยง 6)

         กองทุน RMF นี้  มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้  โดยสามารถปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้ตั้งแต่ 0-100% ตามสภาวะการลงทุน  
         ปัจจุบันกองทุน KFLRMF มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 85% และลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากประมาณ 15%  โดยในส่วนของหุ้น  ให้น้ำหนักในหุ้นกลุ่มธนาคาร  และสื่อสาร  และอสังหาริมทรัพย์มากกว่าตลาด
         กองทุน KFLRMF จึงสามารถตอบโจทย์สำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาบริหารพอร์ตการลงทุนด้วยตนเอง  เพราะกองทุนนี้จะมีการปรับสัดส่วนหุ้น  และตราสารหนี้  ให้เหมาะกับภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา  

    4.กองทุนเปิดเค โกลบอล  แอลโลเคชั่น  เพื่อการเลี้ยงชีพ (KGARMF)(ระดับความเสี่ยง 5) 

       เป็นอีกหนึ่งกองทุน RMF ที่มีนโยบายการลงทุนผ่านกองทุนหลัก BGF Global Allocation ซึ่งบริหารโดย BlackRock บจล.ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  โดยกองทุนหลักจะลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ทั่วโลกทั้งภาครัฐบาลและเอกชน  มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ตลาดที่เหมาะสม
       ปัจจุบันกองทุน KGARMF มีการลงทุนในหุ้น 57% ตราสารหนี้ 21% และเงินสด 22% ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนหลักมองว่าสถาณการณ์ตลาดโลกยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่  จึงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า Blackmark เนื่องจากมองว่าหุ้นสหรัฐอเมริกาค่อนข้างแพงแต่จะให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มยุโรป  และญี่ปุ่น  สูงกว่าตลาดเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทสเหล่านี้น่าจะมีโอกาสเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  
       สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้  กองทุน KGARMF จะให้น้ำหนักต่ำกว่า Benchmark เพราะมองว่าเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว  น่าจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและจะส่งผลลบต่อราคาพันธบัตรในด้านผลตอบแทน  ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา  กองทุน KGARMF ให้ผลตอบแทนประมาณ 7% ขณะที่ความผันผวนโดยรวมต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น (กองทุนมีความผันผวนเฉลี่ย 5% ขณะที่หุ้นไทยผันผวนประมาณ 14% และหุ้นสหรัฐอเมริกา  ผันผวนประมาณ 10% )
     จากการเล็งเห็นความสำคัญของการออม  รวมทั้งต้องการปลูกฝังให้นักลงทุนมือใหม่มีวินัยและใส่ใจในการออมเพิ่มขึ้น  บลจ.กสิกรไทย  จึงได้ปรับลดมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำในกองทุน LTF และ RMF จากเดิม 5,000 บาท เหลือเพียง 500 บาท  รวมทั้งมีโปรโมรชั่นพิเศษรับเงินคืนสูงสุดถึง 20,000 บาท  สำหรับลูกค้าที่ลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ตั่งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2557
   สนใจลงทุนในกองทุน LTF และ RMF เพิ่มเติม  สอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนการลงทุนได้ที่ ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา  หรือติดต่อผ่าน K-Contract Center โทร. 0-2888-8888 กด 841 หรือที่เวป http://www.kasikornasset.com

ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ FIF

หลบการเมืองร้อน   สู่ตลาดต่างประเทศกับ “กองทุน FIF”

       ปัจจุบัน ปัญหาการเมืองในประเทศยังเป็นปัจจัยลบที่กดดันทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดจนกำไรบริษัทจะทะเบียนไทย  แม้ว่าภาพจะมีความชัดเจนขึ้นบ้างหลังการ “รัฐประหาร” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาแต่ภาพของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะไม่ดีนักและเป็นการเติบโตต่ำกว่าเศรษฐกิจโลกอีกปีหนึ่งด้วย
     หนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความสนใจและมีการพูดถึงมากขึ้นในปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงปีนี้ก็คือ  การกระจายการลงทุนไปต่างประเทศผ่าน “กองทุนรวมเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF)” นั่นเอง
    แม้ความตื่นตัวของการไปลงทุนในต่างประเทศจะมีมากขึ้นในปัจจุบัน  แต่มุมมองของ ดร.สมจินต์  ศรไพศาล  กรรมการผู้จัดการ  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน  ทหารไทย จำกัด  ยอมรับว่า  นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังมีความโน้มเอียงที่จะลงทุนสินทรัพย์ในประเทศเป็นหลักและมีการกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศไม่มากนัก  หากมองจากสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจกองทุนรวมสิ้นปี 2556 มีประมาณ 3.08 ล้านล้านบาท  เป็นกองทุน FIF ประมาณ 6.5 แสนล้านบาท  หรือประมาณ 21.11% แต่ในจำนวนนี้มากกว่า 90% เป็นกองทุนตราสารหนี้แบบมีอายุ (Term Fund) เป็นหลัก  ส่วนที่เป็นการลงทุนในหุ้นมีไม่มากนัก  รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะทองคำ
       “การกระจายความเสี่ยงไปในที่ที่มีโอกาสในการลงทุนนั้น  ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยไม่น่าลงทุนในกรณีของหุ้น  แต่โอกาสในการสร้างผลตคอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงแล้ว  ในต่างประเทศอาจจะมีมากกว่าเท่านั้นเอง  ในส่วนของพอร์ตการลงทุนในหุ้นจึงแนะนำให้มีการกระจายไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นในปีนี้  โดยเฉพาะในตลาดพัฒนาแล้ว”
      สอดคล้องกับข้อมูลของ บริษัท  มอร์นิ่งสตาร์ รีเสร์ช (ประเทศไทย) จำกัด  ที่พบว่าในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา  มีเงินลงทุนกระจายไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น  ซึ่งถือเป็นสัญญานที่ดีแม้จะยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับสินทรัพย์โดยรวมก็ตาม  โดยพบว่า  ในช่วง 3 เดือนแรก  มีเงินลงทุนไปในต่างประเทศกว่า 1.12 หมื่นล้านบาท  โดยภูมิภาคที่มีเงินไหลเข้าไปลงทุนสูงสุดนำมาโดย “ยุโรป” 4.09 พันล้านบาท  “สหรัฐ” 2.57 พันล้านบาท  และ “ญี่ปุ่น” 2.30 พันล้านบาท  ในขณะที่ยังมีเงินไหลออกจาก “ตลาดเกิดใหม่” 180 ล้านบาท
   “สิ้นไตรมาส 1 ปี 2557 เงินลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุน “FIF” นั้น มีสัญญาณที่ดีเพราะมีการกระจายตัวค่อนข้างหลากหลาย  ดดยมีการลงทุนในจีนมากสุด 21% ตามมาด้วยเอเชีย  19% สหรัฐ 19%  ยุโรป 17% หุ้นโลก 10% ญี่ปุ่น 9% และตลาดเกิดใหม่อีก 5% ซึ่งทางมอร์นิ่งสตาร์มองเป็นสัญญาณที่ดีและแนะนำให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเองและเกิดประโยชน์สูงสุด”

   ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปีนี้ “หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว” เป็นหนึ่งใน “เป้าหมาย” ของนักลงทุนทั่วโลกรวมทั้งนักลงทุนไทยด้วย ซึ่งหลายบจล.ก็ได้นำเสนอกองทุนที่ไปลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วอย่างต่อเนื่อง

   ภาพรวมการลงทุนในปีนี้ “หุ้น” ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุด  หากมองในตลาดหุ้นไทย “ปัจจัยการเมือง” ยังคงจะทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนต่อเนื่องได้ในลักษณะแกว่งตัวออกข้าง (Sideway) การกระจายการลงทุนไปในหุ้นต่างประเทศก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนที่เข้าใจและสามารถรับความเสี่ยงได้โดยภูมิภาคที่น่าสนใจยังเป็น “ตลาดพัฒนาแล้ว” โดยเฉพาะยุโรปและญี่ปุ่น

    นอกจากภูมิภาค “ตลาดพัฒนาแล้ว” กลุ่ม “เอเชียเหนือ” ซึ่งประกอบด้วย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ก็เป็นอีกภูมิภาคที่มีบลจ. ไทยสนใจและแนนำไปลงทุนด้วยเช่นเดียวกัน  ความโดดเด่นของหุ้นเอเชียเหนือเป็นตลาดที่สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปีนี้  เนื่องจากเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง  และเป็นแรงดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากทั่วโลก  อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่จุหนุดภาคการส่งออกให้เติบโตในระดับที่สูง

     นอกจากนี้ตลาดหุ้นราคายังอยู่ในระดับที่ถูกเมใื่อเทียบกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ด้วยกันเองและปัจจุบันหุ้นเอเชียเหนือยยังซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของตัวเองอีกด้วย  ปัจจุบันส่วนต่างระหว่างสัดส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ของหุ้นสหรัฐและเอเชียอยู่สูงสุดในรอบ 8 ปี โดยหุ้นจีนและเกาหลีใต้ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E ประมาณ 8-9 เท่า  ขระที่หุ้นสหัรัฐและยุโรป P/E อยู่ที่ประมาณ 12-15 เท่า

     “การฟื้นตัวของสหรัฐ  ยุโรป และญี่ปุ่น  รวมทั้งค่าเงินที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลดีต่อกำไรของบริษัทในกลุ่มเอเชียเหนื่อจากการขยายตัวของการส่งออกอีกด้วย  โดยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจะเป็นแรงผลักดันให้แต่ละตลาดมีโอกาสเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง  ทำให้ปีนี้กลุ่มเอเชียเหนื่อมีโอกาสในขาขึ้น (Upside) เฉลี่ยอยู่ถึง 35%

     หนึ่งในตลาด “เอเชียเหนือ” ที่น่าสนใจในปีนี้ก็คือ “เกาหลีใต้”  เกี่ยวกับเรื่องนี้ เกาหลีใต้ได้รับอานิสงส์จากการฟ้นตัวทางเศรษฐกิจโลก  โดยเกาหลีใต้มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยมีสินค้าเทคโนโลยีเป็นสินค้าหลักนอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องส่งผลให้ตลาดการเงินมีภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของกระแสเงินจากการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบผ่อนคลายเชิงประมาณ (QE) ของสหรัฐ

    “ตลาดหุ้นของเกาหลีใต้ทำการซื้อขายในระดับที่น่าสนใจ มีสัดส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) เพียง 8-9 เท่า  ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเติบดตสูงประมาณ 20% ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน”

        แม้ว่าบรรยากาศกาลงทุนในประเทศจะเริ่มดีขึ้น  แต่หากมองแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน  ประกอบกับฟันด์โฟลว์ที่เริ่มสู่ตลาดพัฒนาแล้วอย่างต่อเนื่อง  การลงทุนต่างประเทศที่กำลังเป็นจุดโฟกัสของนักลงทุนทั่วโลก  เป็นอีกช่องทางการลงทุนที่มีศักยภาพในช่วง 1-2 ปีนี้เช่นกัน


Smart Money Set In The CITY 2014

เปลี่ยนจากวัยรุ่น  เป็นเศรษฐีเงินล้าน  ผ่านการวางแผนทางการเงิน….

    หลายคนคงเคยถามตัวเองว่า..ในวัยเท่าๆ กัน ทำไมเพื่อนหรือคนใกล้ตัวจึงมีเงินมากกว่าเรา

     สารพัดคำตอบที่เราคิด  เช่น.. อาจเป็นเพราะเขาเหล่านั้นสามารถออมเงินในกระเป๋าได้ดีกว่าเราจึงมีเงินเหลือไปใช้จ่ายสิ่งของต่างๆ หรืออาจเพราะเขาเหล่านี้มีต้นทุนชีวิตที่สูงกว่าเรา ฯลฯ

     ท่ามกลางคำถามคำตอบเหล่านี้  ทราบหรือไม่ว่า เราทุกคนสามารถเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเศรษฐีเงินล้านได้  ด้วยการวางแผนทางการเงินที่ดี  ผ่านการแนะนำของมืออาชีพโดยที่ไม่มีค่าใช้จ่าย

       คำว่า “การวางแผนทางการเงิน” ก็คือการบริหารจัดการทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินที่เรามีอยู่ให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  วันนี้ “การวางแผนทางการเงิน” ไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไป  ใครก็ตามที่ได้เงิน  ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่รับค่าขนมรายเดือน, ได้เงินจากงานพาร์ทไทม์  และในอนาคตเมื่อเริ่มต้นทำงาน  นับตั่งแต่เงินเดือนแรกเราก็ควรวางแผนทางการเงิน  เพราะยิ่งเราเริ่มต้นเร็วก็จะมีโอกาสมากกว่าซึ่งการวางแผนทางการเงิน  มี 2 สิ่งที่ต้องคิด คือ

    1. กำหนดเป้าหมาย
    2. วางแผนการบริหารจัดการเรื่องเงินๆ  ทองๆ ของเรา

     วางเป้าหมายชัดเจน : ฝันล้าน  ต้องหาให้ได้ล้าน

        การวางเป้าหมายให้ชัดเจน  นับเป็นหัวใจสำคัญของการวางแผนการเงิน  ฟังดูง่าย  แต่การวางเป้าหมายอาจมีจุดเริ่มต้นมาจากความอยากได้สิ่งต่างๆ ของเรา เช่น ฝันอยากมีเงินล้านก่อนอายุ 30 ปี, อยากมีเงินดาวน์คอนโดฯ  ทันทีที่เรียนจบ  หรืออยากท่องเที่ยวยุโรปตอนอายุ 25 ปี ฯลฯ เหล่านี้คือการตั้งเป้าหมายที่มีการกำหนดมูลค่าและระยะเวลาที่ชัดเจน  ทำให้เรารู้ว่ามีระยะเวลาที่เหลืออยู่เท่าไหร่เพื่อที่จะพิชิตเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

       ในเรื่องนี้มีข้อคิดสำคัญคือ   เราอยากให้คุณกำหนดเป้าหมายทั้งระยะสั้น  กลาง และยาว คิดไปให้ไกลถึงตอนเกษียณเลยก็ได้ว่าคุณอยากส่องกระจกแล้วเห็นตัวเองเป็นอย่างไรเมื่อตอนอายุ 60 ปี? ลองทำการบ้านกับตัวเองดู  ให้เวลาตัวเองสักนิด  คิดให้ถึ่ถ้วน  สามารถปรึกษาครอบครัวหรือคนรู้จักก็ได้

     บริหารเงินเริ่มต้นได้ทันที  เพราะมีมืออาชีพช่วยเหลือ

       เมื่อรู้ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่  รายจ่ายเท่าใด  เป้าหมายที่ชัดเจนของเราก็เหมือนกับตุดหมายการเดินทาง

      เมื่อรู้เป้าหมายแล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการเลือก “พาหนะ” ที่จะนำคุณไปให้ถึงเส้นทางนั้นๆ เช่น การพิชิตเงนิล้านก่อนอายุ 30 ปี  ถ้าให้คิดเร็วๆ เราก็ต้องเริ่มสะสมเงินตั้งแต่วันนี้ด้วยการออมเงิน  การออมเป็นสิ่งที่ดีและมั่นคง  แต่ต้องพิจารณากับสัดส่วนของเงินที่ได้ต่อเดือนและระยะเวลาของเป้าหมายของเราด้วยว่าเป็นไปได้แค่ไหน

       เพราะหากเรากำหนดเป้าหมายไว้สูง  แต่เลือกออมเพียงอย่างเดียวก็เหมือนกับการเลือกขี่จักรยานขึ้นภูเขา  ซึ่งจักรยานอาจไม่ใช่พาหนะที่ถูกที่ควรนัก

      ในโลกของการเงิน  มี “พาหนะ” ให้เราเลือกมากมาย  และมีคุณสมบัติทำให้เงินของเรางอกเงยได้ต่างกัน  ซึ่งมีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปด้วย เช่น

     บริหารเงินผ่าน  ธนาคาร  จะได้ผลตอบแทนต่ำ  ความเสี่ยงต่ำ  สภาพคล่องสูง  ฝากถอนเมื่อไหร่ก็ได้

     ซื้อพันธบัตร/สลากออมสิน  จะได้ผลตอบแทนต่ำ  ความเสี่ยงต่ำ  สภาพคล่อต่ำกว่าการฝากเงิน
   
     ลงทุนในหุ้น  หรือกองทุนรวม  ผลตอบแทนสูง  ความเสี่ยงสูงตาม  ใช้ความรู้ความสามารถในการเลือก  อาจจะมีผลประโยชน์ทางด้านภาษี

     ซื้อประกัน   มีความคุ้มครอง  อาจจะได้รับผลตอบแทนบ้าง  และลดหย่อนภาษีได้

      นอกจากนี้  ยังมีสินค้าทางการเงินอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก  สินค้าทางการเงินที่จะพาเราไปสู่จุหมายนั้นต้องศึกษาข้อกำหนดให้ดี  และต้อรับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและศึกษาให้เข้าใจก่อนจะตัดสินใจเลือกวิธีการใด  ซึ่งการเดินทางไปสู่จุดหมาย  เราอาจต้องใช้หลายพาหนะ  จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย

      อาจฟังดูน่าปวดหัว  แต่อย่าเพิ่งเปลี่ยนเป้าหมายของคุณเพราะว่าขยาดกับการวางแผนการเงิน  เพราะปัจจุบันเรามีตัวช่วย  คือ  “นักวางแผนการเงิน CFP” หรือผู้ประกอบวิชาชีพนักวางแผนการเงิน  ที่สามารถให้บริการวางแผนการเงิน  ซึ่งประกอบไปด้วย  แผนการลงทุน  แผนการประกันชีวิต  แผนภาษีและมรดก  และแผนเพื่อวัยเกษียณแก่ลูกค้า

    นักวางแผนการเงิน “CFP” 

       นักวางแผนการเงิน “CFP” เปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เราอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต

      บริการของนักวางแผนการเงิน “CFP” จะครอบคุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงิน  ในทุกๆ ด้านตามที่กล่าวมา  ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคล  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ  และมีชีวิตภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข  นักวางแผนการเงิน “CFP” จึงเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เราอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต  โดยนักวางแผนการเงิน “CFP” จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
      และช่วงนี้ต้องถือว่าเป็นโอกาสดีสำหรับคุณๆ ที่สนใจในเรื่องการวางแผนทางการเงิน  คุณสามารถเริ่มต้นวางแผนทางการเงินผ่านมืออาชีพได้ฟรี ณ จุดบริการ  Wealth coaching จากสุดยอกนักวางแผนทางการเงินแบบตัวต่อตัว ในงาน Set in The City 2014 ระหว่างวันที่ 20 – 23 พ.ย. 2557 นี้  ที่ รอยัล ฮอลล์  ชั้น 5 สยามพารากอน  ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ http://tfpa.or.th/event/
     เมื่อคุณลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว  สามารถจูงมือทั้งครอบครัวไปช่วยกันคิดช่วยกันฟังได้  แต่อย่าลืมทำการบ้านเรื่องเป้าหมายให้ชัดเจนไปด้วย  และเมื่อคุณได้รับแผนการบริหารจัดการเงินมาแล้ว  เส้นทางต่อไปจากนั้นคือการดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด  พร้อมกับตรวจสอบและปรับแผนตามสถาณการณ์  เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถมีเงินล้านได้ตามฝันอย่างแน่นอน
     และนอกจากเรื่องการวางแผนทางการเงินแล้ว  ภายในงาน SET in The City 2014 ยังมีกิจกรรมน่าสนใจให้คุณได้เรียนรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนอีกด้วย  สามารถดูรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ  ภายในงาน ได้ที่  www.set.or.th/setinthecity