ช.การช่างคาดรายได้ปีนี้แตะ3.4หมื่นลบ.

“ช.การช่าง” คาดรายได้ปีนี้แตะ 3.4 หมื่นล้านบาท เล็งถือหุ้นบริษัทใหม่หลังควบ BMCL-BECL สัดส่วน 30%

นายประเสริฐ มริตตนะพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มงานบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดรายได้ปี 2558 จะใกล้เคียงกับปี 2557 ที่มีรายได้ประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจะรับรู้รายได้จากงานในมือ ประมาณ 30%จากที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2557ที่ 104,928 ล้านบาท ส่วนงานใหม่บริษัทฯ คาดหวังจะได้งานประมาณ 20-25% ในการเข้าประมูลแต่ละโครงการ

ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ CK กล่าวว่า กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปี 57 อยู่ที่ราว 10% ขณะที่คาดรายได้ปี57เกินกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยสิ้นปี 57 บริษัทมีงานในมือ (Backlog) 1.05 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BMCL และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ BECL ควบรวมเสร็จแล้ว ช.การช่าง จะเข้าไปถือหุ้นบริษัทใหม่ในสัดส่วน 30%จะทำให้บริษัทฯ สามารถบันทึกกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทใหม่ได้มากขึ้น และได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีขึ้นด้วย

โดยการควบรวมระหว่าง BMCL และ BECL จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้ง 2 บริษัท เพราะจะทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจ มีศักยภาพทางการเงิน การดำเนินงานและการแข่งขันแข็งแกร่งขึ้น สามารถลงทุนและแข่งขันได้ทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อว่าบริษัทใหม่นี้จะทำให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนที่ดีมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ทุกหุ้นทุกราย

“ช.การช่าง ยืนยันที่จะสนับสนุนการควบรวมของ 2 บริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทฯ จะซื้อหุ้น BMCL ที่BECL ถืออยู่จำนวน 10% มูลค่า 3,670 ล้านบาท และจะเป็นผู้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านด้วย ภายหลังที่บริษัทใหม่ควบรวมเรียบร้อยแล้ว ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่ 30%” นายปลิว กล่าว

CKคาดถือหุ้นบริษัทใหม่30%

“ปลิว” คาด ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่หลัง “BMCL-BECL” จำนวน 30% – เผยรายได้ปี 57 เกิน 3.3 หมื่นลบ.

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จากัด (มหาชน)หรือ CK เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BMCL และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BECL ควบรวมเสร็จแล้ว ช.การช่าง จะเข้าไปถือหุ้นบริษัทใหม่ในสัดส่วน 30% จะทำให้บริษัทฯสามารถบันทึกกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทใหม่ได้มากขึ้น และได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีขึ้นด้วย โดยการควบรวมระหว่าง BMCL และ BECL จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้ง 2 บริษัท เพราะจะทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจ มีศักยภาพทางการเงิน การดำเนินงานและการแข่งขันแข็งแกร่งขึ้น สามารถลงทุนและแข่งขันได้ทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อว่าบริษัทใหม่นี้จะทำให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนที่ดีมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ทุกหุ้นทุกราย

“ช.การช่าง ยืนยันที่จะสนับสนุนการควบรวมของ 2 บริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทฯจะซื้อหุ้น BMCL ที่ BECL ถืออยู่จำนวน 10% มูลค่า 3,670 ล้านบาท และจะเป็นผู้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านด้วย ภายหลังที่บริษัทใหม่ควบรวมเรียบร้อยแล้ว ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่ 30%” นายปลิว กล่าว

ส่วนการขายหุ้นของบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (XPCL) ให้แก่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จากัด (มหาชน) หรือ CKP มูลค่ารวม 4,344 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย โดย CKP ถือว่าได้ซื้อโครงการที่มีความสำคัญและผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ต้องมีภาระการลงทุนที่สูงเกินไป เพราะหากทิ้งไว้จนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการดังกล่าวจะมีราคาที่สูงมาก ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโครงการที่ CKP จะได้รับต่ำลง ในส่วนของบริษัทฯสามารถรับรู้กำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวและได้รับกระแสเงินสดเข้าสู่บริษัทฯ

สำหรับการปรับโครงสร้างการลงทุนทั้ง 2 ส่วนนี้ ช.การช่าง มีความมั่นใจว่าจะทำให้บริษัทใหม่ที่ควบรวม BMCL กับ BECL และ CKP มีความแข็งแกร่ง มีศักยภาพที่สูงขึ้น สามารถลงทุนดำเนินงานและพัฒนาโครงการต่างๆ รองรับการเติบโตของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกจิของภาครัฐในระบบขนส่งมวลชนทั้งทางรางและถนน รวมถึงธุรกิจพลังงาน ซึ่งปัจจุบัน ช.การช่างร่วมกับบริษัทในกลุ่มทั้งหมด รวมถึง TTW ได้จัดเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้ครบถ้วน ทั้งทรัพยากรบุคคล การเงิน พันธมิตรต่างๆ พร้อมที่จะลงทุนดำเนินโครงการต่างๆในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่าและลาวซึ่งเป็น 2 ประเทศเป้าหมายสำคัญที่มีการเจริญเติบโตของธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นอย่างมาก

นายปลิว กล่าวด้วยว่า กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปี 57 อยู่ที่ราว 10% ขณะที่คาดรายได้ในปีก่อนเกินกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยสิ้นปี 57 บริษัทมีงานในมือ (Backlog) 1.05 แสนล้านบาท

หุ้นกลุ่มน้ำตาลปี′58 คืนชีพกำไรโต

หุ้นกลุ่มน้ำตาลปี′58 คืนชีพกำไรโต โบรกชี้พ้นจุดต่ำสุด-แรงส่งรายได้ธุรกิจโรงไฟฟ้า

โบรกฯชี้หุ้นกลุ่มน้ำตาลพลิกฟื้นกลับมา คาดปี′58 โชว์กำไรโต 13% หลังอุตสาหกรรมนี้ผ่านจุดต่ำสุด เหตุซัพพลายน้ำตาลในตลาดโลกเริ่มทรงตัว แต่ดีมานด์เพิ่ม ด้านผู้บริหารธุรกิจฟันธงปีนี้ “รายได้-กำไร” กระเตื้อง แถมมีแรงหนุนกำไรดีจากธุรกิจโรงไฟฟ้า

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งจากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำตาลในปี 2558 เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำตาลจะออกสู่ตลาดโลกประมาณ 172.5 ล้านตัน ซึ่งลดลง 1.5% จากปีก่อน เนื่องจากสภาพอากาศในบางประเทศที่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกอ้อย นำโดยบราซิล (ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่สุดของโลกและส่งออกน้ำตาลมากกว่า 40% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทั่วโลก) อาจมีผลผลิตน้ำตาลลดลง 5.3% จากปีก่อน จากภาวะความแห้งแล้ง ทําให้ผลผลิต (Yield) ของอ้อยลดลง

สําหรับประเทศไทย (ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก และส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก) คาดว่าจะผลิตน้ำตาลได้เพียง 10.2 ล้านตันในปี 2557/2558 (1 พ.ย. 2557-31 ต.ค. 2558) ลดลง 10% จากปีก่อน เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งเช่นกัน โดยปีนี้คาด Yield อ้อยจะกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ผลผลิตน้ำตาลโลกที่ลดลงจะทําให้ธุรกิจน้ำตาลกลับสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกให้ฟื้นตัวดีขึ้น โดยฝ่ายวิจัยคาดกําไรสุทธิของกลุ่ม (KSL KBS และ KTIS) ในปีนี้จะเติบโตถึง 13.3% จากปีก่อนสู่ระดับ 5,700 ล้านบาท

ด้านนายชลัช ชินธรรมมิตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลดำเนินงานของบริษัทในปีนี้น่าจะเติบโตจากปี 2557 เนื่องจากคาดว่าปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านตัน จากปีก่อนที่ทำได้เพียง 8.4 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลเพิ่มเป็นกว่า 9 แสนตัน และผลิตเอทานอลเพิ่มเป็น 103-104 ล้านลิตร จากเดิมที่ 90 ล้านลิตรในปีที่แล้ว หลังจากแนวโน้มของวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ด้านราคาน้ำตาลเฉลี่ยในตลาดโลกปีนี้ ยังคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจากระดับ 19-20 เซนต์ต่อปอนด์ในปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอ่อนแอจากปริมาณผลผลิตที่ยังล้นตลาด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ทิิศทางของราคาน้ำตาลน่าจะเริ่มทยอยปรับขึ้น หากปริมาณผลผลิตน้ำตาลของโลกเริ่มลดลง ขณะที่ความต้องการน้ำตาลเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2% ต่อปี

“จะเห็นภาพชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ หลังบราซิลเริ่มเดินเครื่องผลิต จะรู้ทิศทางปริมาณน้ำตาลที่จะออกมาสู่ตลาดในปีนี้ แต่เชื่อว่าปีนี้ราคาน้ำตาลคงยังไม่สามารถทะลุระดับ 20 เซนต์ต่อปอนด์ได้”

นายชลัชได้คาดการณ์รายได้ของบริษัทว่า ในปีนี้น่าจะเติบโตประมาณ 5% จากผลดำเนินงานงวดปี 2556/2557 (1 พ.ย. 2556-31 ต.ค. 2557) ที่มีรายได้รวม 1.9 หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้เกินกว่า 60% จะมาจากธุรกิจน้ำตาล ส่วนธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอล มีรายได้รวมกันประมาณ 30% ส่วนที่เหลือเป็นอื่น ๆ ส่วนกำไรคาดว่าจะเติบโตจากปีที่แล้วที่อยู่ระดับ 1,630 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกำไรที่มาจากธุรกิจไฟฟ้ากำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ มีสัดส่วนสูงประมาณ 60% เอทานอล 25% และน้ำตาล 15%

นายอิสสระ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ บมจ.น้ำตาลครบุรี (KBS) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปีนี้จะเติบโต 5% เช่นกัน โดยคาดว่ายอดขายน้ำตาลทั้งในและต่างประเทศจะอยู่ที่ระดับ 5,000-6,000 ล้านบาท (บริษัทส่งออกน้ำตาล 75% และขายในประเทศ 25%) ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายปริมาณอ้อยเข้าหีบประมาณ 2.5 ล้านตัน ประกอบกับปีนี้บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ ซึ่งจะขายไฟให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 22 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะทำรายได้ปีละ 500-600 ล้านบาท ทำให้กำไรในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน

นอกจากนี้ บริษัทตั้งงบฯ ลงทุนปีนี้ 3,500 ล้านบาท โดยจะแบ่งใช้งบฯลงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท สำหรับขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาล จาก 2.3 หมื่นตันอ้อยต่อวัน เป็น 3.5 หมื่นตันอ้อยต่อวัน และที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาท จะใช้ก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล โดยมีกำลังการผลิต 2 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทำประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในช่วงเร็ว ๆ นี้ และจะเริ่มก่อสร้างในทันที โดยคาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปีนี้และจะสามารถรับรู้รายได้ในปี 2559

คาดควบบริษัท BECL – BMCL แล้วเสร็จไตรมาส3 ปีนี้

นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 เห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL เป็นผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของ BECL และ BMCL ร่วมกัน โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL เพื่อพิจารณาอนุมัติการควบบริษัทตามวิธีการแห่งพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ต่อไป
bmcl-becl-setlnw
ทั้งนี้การควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL ถือเป็นกลยุทธ์ในการผสานความแข็งแกร่งของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าการควบบริษัทครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและ ต่อยอดธุรกิจ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน ทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้หุ้นของบริษัทจากมุมมองของนักลงทุน นอกจากนี้ การควบบริษัทจะเป็นการผสานจุดแข็งระหว่าง BECL กับ BMCL ซึ่งส่งเสริมประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอและมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม และมีศักยภาพพร้อมสำหรับรับโอกาสในการเข้าลงทุนในโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย

การจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL มีอัตราส่วน คือ 1 หุ้นเดิมใน BECL ต่อ 8.65537841 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน BMCL ต่อ 0.42050530 หุ้นในบริษัทใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินการควบบริษัทจะแล้วเสร็จ และสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทใหม่ได้ภายในช่วงไตรมาส 3 ปี 2558

ด้านนายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ. ช.การช่าง หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสองแห่งและผู้ถือหุ้นหลัก สนับสนุนการควบบริษัทในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และมีความเชื่อมั่นว่าการควบบริษัทนี้จะทำให้บริษัทใหม่มีความแข็งแกร่งในทุกด้าน มีความพร้อมในการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้นทุกคน ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงได้แสดงเจตนารมณ์ในการรับซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ไม่ประสงค์ที่จะถือหุ้นต่อโดยลงมติคัดค้านการควบบริษัทในครั้งนี้

TICON ฝันแชมป์บริหารกองทรัสต์ “เราจะเติบโตกับธุรกิจอสังหาฯ”

 

TMAN ชื่อ “ไทคอน แมนเนจเม้นท์” อาจจะเป็นที่ไม่คุ้นหูนัก แต่ถ้าบอกว่า นี่คือบริษัทลูกของ บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) ซึ่งถือเป็นผู้นำด้านพัฒนาโรงงานนิคมอุตสาหกรรม ด้วยความเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท จึงตั้งบริษัท ไทคอน แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ TMAN ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT) โดยปักธงให้ TMAN เป็นผู้จัดการกองทรัสต์แถวหน้าของประเทศไทย

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “อมร จุฬาลักษณานุกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน แมนเนจเม้นท์ จำกัด (TMAN) ถึงทิศทางการบริหารเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายที่ปักธงไว้ มานำเสนอดังนี้
เนื่องจากบริษัทแม่คือ TICON มีเป้าหมายให้เราเข้ามาเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT Manager) ของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเครือ ทั้งประเภทโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งล่าสุดคือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TREIT) ที่ได้เข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแล้วในวันที่ 9 มกราคม

นอกจากนี้ TMAN ยังจะทำหน้าที่จัดหาอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพเข้ามาบริหารเพิ่มผ่าน REIT ด้วย ซึ่งก็มีเจ้าของสินทรัพย์หลายแห่งที่ติดต่อเข้ามาหาเรา เนื่องจากต้องการมารวมกลุ่มกับ TICON ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถือในวงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม

และไม่เพียงเท่านี้ เพราะมีบริษัท มิตซุย แอนด์ คัมปะนี (เอเชีย แปซิฟิก) หรือ MAP ที่เข้ามาถือหุ้นใน TMAN สัดส่วน 30% ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งกับเรา เนื่องจากเครือข่ายธุรกิจญี่ปุ่นของมิตซุยเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจบริหารจัดการทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์REITประเภทการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์จึงเสมือนเป็นการติดปีกให้แก่การหาสินทรัพย์ชั้นดีในต่างประเทศด้วย

“เรามีโอกาสในการทำธุรกิจในต่างประเทศที่ดีจากการที่ได้มิตซุยเป็นพันธมิตรจะช่วยให้เราสามารถหาสินทรัพย์ในต่างประเทศได้ดีขึ้นโดยในญี่ปุ่นเองก็มีความโดดเด่นเรื่องคลังสินค้าในสิงคโปร์ก็มีความโดดเด่นด้านอาคารสำนักงาน ขณะเดียวกัน TICON ที่มีความสนใจออกไปลงทุนในตลาดเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย ดังนั้นถือว่าเรามีโอกาสทางธุรกิจรอบตัว”

“อมร” ยังวิเคราะห์ถึงโอกาสทางธุรกิจปีนี้ว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งหลายด้าน ได้แก่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่แพงมากเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ การมีโอกาสเติบโตได้ดีจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลให้ความต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งคลังสินค้า อาคารสำนักงาน มีแนวโน้ม ขยายตัวดี และที่สำคัญ จุดแข็งด้าน “ที่ตั้ง” ของประเทศไทยที่อยู่ในบริเวณจุดกึ่งกลางของการขนส่งสินค้าของประเทศในอาเซียน ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอย่างมากในสินทรัพย์ประเภท “คลังสินค้า”

“ประเด็นเรื่องสินทรัพย์ในประเทศไทยต้องบอกว่า มีให้เลือกอยู่ตลอด โดยสินทรัพย์ประเภทคลังสินค้ามีโอกาสขยายตัวด้านรายได้ที่ดีตามความต้องการเช่า รองลงมาคือสินทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงานที่จะมีอัตราการเช่าสูงขึ้น หากบริษัทต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในไทย แต่ถ้าเป็นโรงแรมก็อาจจะอยู่อันดับท้าย ๆ เพราะมีประเด็นเยอะ ทั้งฤดูกาลท่องเที่ยว ปัญหาการเมืองที่กดดันการเข้าพัก ซึ่งต้องพิจารณามากขึ้น”

เขาพูดถึงความน่าสนใจลงทุนในกองทุน REIT ว่า ต่างชาติยังให้การตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกมีปัญหาอย่างมาก ทั้งจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ การฟื้นตัวของประเทศมหาอำนาจเช่นสหรัฐ แต่หลายคนยังไม่แน่ใจว่าปรับตัวดีขึ้นจริงหรือไม่ ดังนั้นนักลงทุนต่างชาติจึงต้องเริ่มหาการลงทุนใหม่ ๆ ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีและสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

ขณะที่นักลงทุนไทย เชื่อว่ายังมีความต้องการลงทุนอย่างมากเช่นกัน แต่หากว่ามีการจูงใจให้เห็นถึงข้อดีของการลงทุน REIT ซึ่งมีอสังหาทรัพย์เป็นสินทรัพย์อ้างอิงและสามารถจับต้องได้ และให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระดับที่น่าสนใจ ก็น่าจะทำให้ REIT เป็นสินค้าการลงทุนที่ได้รับความนิยม

“ผลตอบแทน REIT ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์จะอยู่ระดับที่ไม่เกิน 6% แต่ของไทยอาจจะทำได้ดีกว่านั้น เช่น TREIT ของเราให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 7% และมีอัตราเช่าเฉลี่ย 100% ต่อปี ก็น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติได้”

ด้วยโอกาสทั้งตัวสินทรัพย์และความต้องการลงทุนในREIT”คุณอมร”จึงตั้งเป้าหมาย 3-5 ปีจากนี้ TMAN จะขึ้นผู้จัดการกองทรัสต์อันดับ 1 ของประเทศไทยให้ได้