กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูก by ดร.นิเวศน์

     

   
           ในช่วงที่ผมเริ่มเป็น VI ใหม่ ๆ เกือบ 20 ปีมาแล้วนั้น  ผมเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูก  เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงนั้นตลาดหุ้นตกต่ำมาก  หุ้นในตลาดแทบทุกตัวต่างก็มีราคา  “ถูก”  การซื้อหุ้นที่มีราคาถูกจึงทำได้ง่าย  กลยุทธการลงทุนของผมในตอนนั้นก็คือการซื้อหุ้นที่มีคุณภาพพอใช้ได้แต่มีราคาถูกมาก   หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีราคาถูกพอสมควรทีเดียว  ต่อมาเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นพร้อม ๆ  กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  ราคาหุ้นทั่วไปในตลาดก็ไม่ถูกเหมือนเดิมแต่ก็ยังค่อนข้างถูก   กลยุทธการลงทุนของผมก็เปลี่ยนแปลงไป  ผมหันมาลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดีมากที่มีราคาถูกหรือราคา  “ไม่แพง”  เป็นแนวลงทุนแบบ  Super Stock  จวบจนถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเป็นปกติแล้วและตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นมาเต็มที่ตามพื้นฐานที่ควรจะเป็น  ส่งผลให้หุ้นจำนวนมากโดยเฉพาะหุ้นซุปเปอร์สต็อกมีราคาแพงขึ้นมากจนแทบจะไม่เหลือ Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยในการลงทุน   ปัญหาของผมก็คือ  ถ้าเราได้รับปันผลมาหรือขายหุ้นบางตัวทิ้งเราควรจะเอาเงินไปลงทุนแบบไหน?  และนี่นำมาสู่ประเด็นที่ผมจะพูด  นั่นก็คือ  กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูก—ที่ยังเหลืออยู่บ้างในตลาดหลักทรัพย์

             ในภาวะปัจจุบันของตลาดหุ้นนั้น  เรายังมีกลุ่มธุรกิจหลายกลุ่มที่มีหุ้นราคาถูกอยู่ในความหมายที่ว่า  ค่า PE  ยังต่ำกว่าหรือประมาณ 10 เท่าต้น ๆ    ค่า PB ไม่ถึง 1 หรือหนึ่งเท่าเศษ ๆ  และผลตอบแทนเงินปันผลมากกว่า 3-4% ของปีล่าสุด  การที่หุ้นมีราคาถูกนั้น   ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเพราะว่าหุ้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่ดีหรืออาจจะมีปัญหาการทำกำไรในอนาคตทำให้ตลาดไม่ให้คุณค่ามันเท่ากับธุรกิจกลุ่มอื่น ๆ   อย่างไรก็ตาม  “ตลาดอาจจะผิด”  ในบางอุตสาหกรรมหรือในหุ้นบางตัว   ดังนั้น  กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูกของผมนั้น  หลัก ๆ แล้วก็คือ  พยายามหาหุ้นที่  “ถูกมาก”  ที่ตัวธุรกิจหรือกิจการอาจจะไม่  “เลวร้าย”  อย่างที่ตลาดหรือนักลงทุนทั่ว ๆ  ไปคิด  ลองมาดูกันไปทีละกลุ่มที่อาจจะเป็นเป้าหมายในการลงทุนเนื่องจากว่าเป็นหุ้นกลุ่มที่ยังมีราคาถูกหรือไม่แพงในยามนี้

              หุ้นกลุ่มแรกที่ยังถูกอยู่และก็คงถูกไปเรื่อย ๆ  ก็คือหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม  “ตะวันตกดิน”  เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร  ผู้ผลิตสิ่งทอที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแฟชั่น  และอุตสาหกรรมเหล็ก  เป็นต้น  หุ้นในกลุ่มนี้มีปัญหาว่าในระยะยาวแล้วอาจจะไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นซึ่งทำให้ธุรกิจต้องค่อย ๆ  หดตัวลง  ดังนั้น  การลงทุนในหุ้นถูกกลุ่มนี้จึงไม่มีประโยชน์  โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจะยากมาก  กลยุทธก็อาจจะเป็นว่าเราไม่สนใจจะดู  อย่างไรก็ตาม  คนที่เข้าใจกิจการอย่างลึกซึ้งก็อาจจะหาหุ้นที่ไม่ได้ผลิตสินค้า  “ตะวันตกดิน”  อย่างที่คนอื่นคิดแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น   ถ้าพบบริษัทที่มีอนาคตแต่ราคาถูกมากก็สามารถลงทุนได้  ประเด็นสำคัญก็คือ   เราไม่ควรมองผลประกอบการระยะสั้นแล้วเข้าไปซื้อหุ้นในกลุ่มตะวันตกดินแม้ว่าหุ้นจะมีราคาถูกมาก

              หุ้นกลุ่มต่อมาที่ยังมีหุ้นราคาถูกอยู่บ้างก็คือหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทสร้างบ้านขายอานิสงค์จากการที่ราคาหุ้นในกลุ่มปรับตัวลงเมื่อเร็ว ๆ  นี้จากผลกระทบเรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนตัวลง    การที่หุ้นขายบ้านจัดสรรหรือทำคอนโดมีราคาถูกนั้นเป็นเพราะธุรกิจนี้อาจจะค่อนข้าง  “อิ่มตัว”  และมีคู่แข่งมาก  อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีความผันผวนสูงตามภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยในประเทศ  ดังนั้น  โดยปกติที่หุ้นอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มีราคาถูกจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผล  การที่จะหวังให้หุ้นมีค่า PE ที่สูงขึ้นจึงอาจจะหวังไม่ได้มากนัก  ดังนั้น  ถ้าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้  นอกจากหุ้นจะต้องถูกมากแล้ว  ผมคิดว่าจะต้องเป็นบริษัทที่จะมีกำไรมากขึ้นอย่างน้อยในช่วงหนึ่งถึงสองปีข้างหน้าอย่างค่อนข้างแน่  เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น  ด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น  ราคาหุ้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นตาม  โดยที่ค่า PE ก็ยังเท่าเดิมหรือไม่น่าจะต่ำลง  แต่ถ้าโชคดี  ค่า  PE  ก็เพิ่มขึ้นด้วยเราก็จะได้  “สองเด้ง”   ส่วนข้อที่ต้องระวังก็คือ  อัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  ถ้ามีการปรับขึ้นแรง  ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวลง  เช่นเดียวกัน  ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำลงไปอีก การซื้อบ้านก็อาจจะลดลงมาก  และนั่นทำให้การลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงพอสมควร

             หุ้นกลุ่มใหญ่มากกลุ่มหนึ่งที่ยังมีหุ้นราคาถูกอยู่พอสมควรก็คือหุ้นธุรกิจการเงินซึ่งรวมถึงหุ้น ธนาคาร  เงินทุน  และหลักทรัพย์  หุ้นในกลุ่มนี้ที่นักลงทุนให้คุณค่าน้อยทำให้มีค่า PE PB ไม่สูง  และปันผลตอบแทนค่อนข้างดีนั้น  เป็นเพราะเรื่องของความเสี่ยงที่ “รุนแรง”  ในกรณีของบริษัทที่อิงอยู่กับการปล่อยกู้อย่างธนาคารพาณิชย์และบริษัทให้สินเชื่อเช่าซื้อทั้งหลาย  โดยที่บริษัทเหล่านี้อาจจะประสบกับปัญหาหนี้เสียที่รุนแรงซึ่งจะทำให้บริษัทขาดทุนหนักหรืออาจจะล้มละลายได้เนื่องจากจำนวนเงินปล่อยกู้นั้นสูงมากเมื่อเทียบกับส่วนทุนของบริษัทเอง  ส่วนในกรณีของธุรกิจหลักทรัพย์เองนั้น  การแข่งขันในธุรกิจรุนแรงและมักเป็นการแข่งขันกันทางด้านของราคาเป็นหลัก  ในอีกด้านหนึ่งนั้น   ปริมาณการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทโบรกเกอร์เองนั้น  ก็มีความไม่แน่นอนสูงขึ้นอยู่กับภาวะของตลาด  ซึ่งทำให้รายได้และกำไรของบริษัทมีความไม่แน่นอนสูงมาก  ดังนั้นราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จึงไม่สามารถจะแพงเหมือนธุรกิจอื่นที่มีความแน่นอนกว่า

              กลยุทธการลงทุนในธุรกิจปล่อยเงินกู้ไม่ว่าจะเป็นแบงค์หรือบริษัทให้กู้เช่าซื้อนั้น  ผมคิดว่าการที่หุ้นมีราคาค่อนข้างถูกในช่วงนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกลัวเรื่องหนี้เสียที่อาจจะเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในด้านของบุคคลธรรมดา  ดังนั้น กลยุทธที่ควรใช้ก็คือ  เราควรเลือกหุ้นที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มที่ราคาก็ถูกอยู่แล้ว  นอกจากนั้น  เราควรต้องดูว่าหนี้เสียของบริษัทนั้นจะสามารถควบคุมได้ไม่สูงเกินไป  นอกจากนั้น  ความสม่ำเสมอของผลงานในอดีตก็ควรจะต้องเป็นปัจจัยประกอบในการวิเคราะห์ด้วย  ส่วนธุรกิจหลักทรัพย์นั้น  ผมคิดว่าถ้าจะลงทุนควรจะเน้นที่ความถูกมาก ๆ  เช่น  เฉพาะเงินสดที่มีในบริษัทก็อาจจะมากกว่าราคาหุ้นแล้ว  ซึ่งนั่นหมายความว่าถ้าเลิกบริษัทเอาเงินมาแบ่งกันก็อาจจะคุ้มแล้ว  ผมเองไม่ทราบว่ายังมีหุ้นหลักทรัพย์ที่ถูกขนาดนั้นหรือไม่  แต่นี่ก็คือกลยุทธหนึ่งที่จะซื้อหุ้นหลักทรัพย์

              หุ้นพลังงาน “ดั้งเดิม” บางตัว  นี่คือหุ้นขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานที่มีมานาน  หุ้นบางตัวนั้นขนาดใหญ่มากและทำธุรกิจหลากหลายเกี่ยวกับพลังงาน   แม้ว่ากิจการจะมีกำไรผันผวนตามราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวไปเรื่อย ๆ  แต่ในระยะยาวแล้ว  กำไร  “ปกติ”  ของบริษัทก็อยู่ในระดับที่ใช้ได้  อย่างไรก็ตาม  หุ้นในกลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ทำให้ขาดแรง  “เก็งกำไร” จากนักลงทุนรายย่อย  นอกจากนั้น  การเติบโตของกิจการเองก็ไม่สูง  ทำให้ตลาดไม่ใคร่ให้คุณค่ามากนัก  ถ้าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ที่ถือว่ายังมีหุ้นราคาถูกอยู่บ้างก็ควรจะต้องเข้าใจว่า  ข้อแรก  ราคานั้นไม่ได้ถูกมาก  ข้อสอง  การจะได้ผลตอบแทนมากและเร็วน่าจะยาก  การลงทุนควรจะหวังว่าจะได้ผลตอบแทนพอสมควรและความเสี่ยงไม่สูง  ส่วนกลยุทธการลงทุนก็เช่นเคย  ต้องเน้นที่หุ้นที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน  ขณะเดียวกัน  ผลประกอบการก็จะต้องมีความสม่ำเสมอมั่นคงพอสมควร  และปันผลที่ได้ก็ต้องค่อนข้างดี  อย่างน้อยควรจะได้ถึง 4%ในปีล่าสุด

              ทั้งหมดนั้นก็คือกลยุทธคร่าว ๆ  ของการลงทุนในหุ้นถูก—ที่ยังเหลืออยู่บ้างในตลาดหลักทรัพย์  การลงทุนนี้  สำหรับผมแล้ว  มันเป็นการเลือกที่เรียกว่า  “Second Best”  คือ  ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้  และจริง ๆ  ก็ไม่ใช่เรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด  แต่มันยังดีกว่าการเก็บเป็นเงินสดไว้ในธนาคาร  การลงทุนในหุ้นถูกแบบนี้  อาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ถือไว้ยาวนานมาก  เราต้องคอยเฝ้าดูอยู่เสมอว่ามันถึงเวลาขายหรือยัง  ไม่ใช่แค่ดูหุ้นตัวที่เราลงทุน  แต่ต้องดูว่ามีโอกาสที่จะพบหุ้นตัวใหม่ที่ดีกว่าและถือลงทุนระยะยาวกว่าได้หรือไม่  ดังนั้น  สำหรับผมแล้ว  นี่คือการลงทุนที่อาจจะไม่  “ถาวร”  แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้  และดังนั้น  มันจะไม่ใช่ส่วนใหญ่ของพอร์ตของเรา

cr.ดร.นิเวศน์  เหมวชิรวรากุล

กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูก by ดร.นิเวศน์

     

   
           ในช่วงที่ผมเริ่มเป็น VI ใหม่ ๆ เกือบ 20 ปีมาแล้วนั้น  ผมเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูก  เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงนั้นตลาดหุ้นตกต่ำมาก  หุ้นในตลาดแทบทุกตัวต่างก็มีราคา  “ถูก”  การซื้อหุ้นที่มีราคาถูกจึงทำได้ง่าย  กลยุทธการลงทุนของผมในตอนนั้นก็คือการซื้อหุ้นที่มีคุณภาพพอใช้ได้แต่มีราคาถูกมาก   หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีราคาถูกพอสมควรทีเดียว  ต่อมาเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นพร้อม ๆ  กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  ราคาหุ้นทั่วไปในตลาดก็ไม่ถูกเหมือนเดิมแต่ก็ยังค่อนข้างถูก   กลยุทธการลงทุนของผมก็เปลี่ยนแปลงไป  ผมหันมาลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดีมากที่มีราคาถูกหรือราคา  “ไม่แพง”  เป็นแนวลงทุนแบบ  Super Stock  จวบจนถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเป็นปกติแล้วและตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นมาเต็มที่ตามพื้นฐานที่ควรจะเป็น  ส่งผลให้หุ้นจำนวนมากโดยเฉพาะหุ้นซุปเปอร์สต็อกมีราคาแพงขึ้นมากจนแทบจะไม่เหลือ Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยในการลงทุน   ปัญหาของผมก็คือ  ถ้าเราได้รับปันผลมาหรือขายหุ้นบางตัวทิ้งเราควรจะเอาเงินไปลงทุนแบบไหน?  และนี่นำมาสู่ประเด็นที่ผมจะพูด  นั่นก็คือ  กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูก—ที่ยังเหลืออยู่บ้างในตลาดหลักทรัพย์

             ในภาวะปัจจุบันของตลาดหุ้นนั้น  เรายังมีกลุ่มธุรกิจหลายกลุ่มที่มีหุ้นราคาถูกอยู่ในความหมายที่ว่า  ค่า PE  ยังต่ำกว่าหรือประมาณ 10 เท่าต้น ๆ    ค่า PB ไม่ถึง 1 หรือหนึ่งเท่าเศษ ๆ  และผลตอบแทนเงินปันผลมากกว่า 3-4% ของปีล่าสุด  การที่หุ้นมีราคาถูกนั้น   ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเพราะว่าหุ้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่ดีหรืออาจจะมีปัญหาการทำกำไรในอนาคตทำให้ตลาดไม่ให้คุณค่ามันเท่ากับธุรกิจกลุ่มอื่น ๆ   อย่างไรก็ตาม  “ตลาดอาจจะผิด”  ในบางอุตสาหกรรมหรือในหุ้นบางตัว   ดังนั้น  กลยุทธการลงทุนในหุ้นถูกของผมนั้น  หลัก ๆ แล้วก็คือ  พยายามหาหุ้นที่  “ถูกมาก”  ที่ตัวธุรกิจหรือกิจการอาจจะไม่  “เลวร้าย”  อย่างที่ตลาดหรือนักลงทุนทั่ว ๆ  ไปคิด  ลองมาดูกันไปทีละกลุ่มที่อาจจะเป็นเป้าหมายในการลงทุนเนื่องจากว่าเป็นหุ้นกลุ่มที่ยังมีราคาถูกหรือไม่แพงในยามนี้

              หุ้นกลุ่มแรกที่ยังถูกอยู่และก็คงถูกไปเรื่อย ๆ  ก็คือหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม  “ตะวันตกดิน”  เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร  ผู้ผลิตสิ่งทอที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแฟชั่น  และอุตสาหกรรมเหล็ก  เป็นต้น  หุ้นในกลุ่มนี้มีปัญหาว่าในระยะยาวแล้วอาจจะไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นซึ่งทำให้ธุรกิจต้องค่อย ๆ  หดตัวลง  ดังนั้น  การลงทุนในหุ้นถูกกลุ่มนี้จึงไม่มีประโยชน์  โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจะยากมาก  กลยุทธก็อาจจะเป็นว่าเราไม่สนใจจะดู  อย่างไรก็ตาม  คนที่เข้าใจกิจการอย่างลึกซึ้งก็อาจจะหาหุ้นที่ไม่ได้ผลิตสินค้า  “ตะวันตกดิน”  อย่างที่คนอื่นคิดแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจเหล่านั้น   ถ้าพบบริษัทที่มีอนาคตแต่ราคาถูกมากก็สามารถลงทุนได้  ประเด็นสำคัญก็คือ   เราไม่ควรมองผลประกอบการระยะสั้นแล้วเข้าไปซื้อหุ้นในกลุ่มตะวันตกดินแม้ว่าหุ้นจะมีราคาถูกมาก

              หุ้นกลุ่มต่อมาที่ยังมีหุ้นราคาถูกอยู่บ้างก็คือหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทสร้างบ้านขายอานิสงค์จากการที่ราคาหุ้นในกลุ่มปรับตัวลงเมื่อเร็ว ๆ  นี้จากผลกระทบเรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนตัวลง    การที่หุ้นขายบ้านจัดสรรหรือทำคอนโดมีราคาถูกนั้นเป็นเพราะธุรกิจนี้อาจจะค่อนข้าง  “อิ่มตัว”  และมีคู่แข่งมาก  อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีความผันผวนสูงตามภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยในประเทศ  ดังนั้น  โดยปกติที่หุ้นอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มีราคาถูกจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผล  การที่จะหวังให้หุ้นมีค่า PE ที่สูงขึ้นจึงอาจจะหวังไม่ได้มากนัก  ดังนั้น  ถ้าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้  นอกจากหุ้นจะต้องถูกมากแล้ว  ผมคิดว่าจะต้องเป็นบริษัทที่จะมีกำไรมากขึ้นอย่างน้อยในช่วงหนึ่งถึงสองปีข้างหน้าอย่างค่อนข้างแน่  เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น  ด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น  ราคาหุ้นก็น่าจะเพิ่มขึ้นตาม  โดยที่ค่า PE ก็ยังเท่าเดิมหรือไม่น่าจะต่ำลง  แต่ถ้าโชคดี  ค่า  PE  ก็เพิ่มขึ้นด้วยเราก็จะได้  “สองเด้ง”   ส่วนข้อที่ต้องระวังก็คือ  อัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  ถ้ามีการปรับขึ้นแรง  ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวลง  เช่นเดียวกัน  ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำลงไปอีก การซื้อบ้านก็อาจจะลดลงมาก  และนั่นทำให้การลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงพอสมควร

             หุ้นกลุ่มใหญ่มากกลุ่มหนึ่งที่ยังมีหุ้นราคาถูกอยู่พอสมควรก็คือหุ้นธุรกิจการเงินซึ่งรวมถึงหุ้น ธนาคาร  เงินทุน  และหลักทรัพย์  หุ้นในกลุ่มนี้ที่นักลงทุนให้คุณค่าน้อยทำให้มีค่า PE PB ไม่สูง  และปันผลตอบแทนค่อนข้างดีนั้น  เป็นเพราะเรื่องของความเสี่ยงที่ “รุนแรง”  ในกรณีของบริษัทที่อิงอยู่กับการปล่อยกู้อย่างธนาคารพาณิชย์และบริษัทให้สินเชื่อเช่าซื้อทั้งหลาย  โดยที่บริษัทเหล่านี้อาจจะประสบกับปัญหาหนี้เสียที่รุนแรงซึ่งจะทำให้บริษัทขาดทุนหนักหรืออาจจะล้มละลายได้เนื่องจากจำนวนเงินปล่อยกู้นั้นสูงมากเมื่อเทียบกับส่วนทุนของบริษัทเอง  ส่วนในกรณีของธุรกิจหลักทรัพย์เองนั้น  การแข่งขันในธุรกิจรุนแรงและมักเป็นการแข่งขันกันทางด้านของราคาเป็นหลัก  ในอีกด้านหนึ่งนั้น   ปริมาณการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทโบรกเกอร์เองนั้น  ก็มีความไม่แน่นอนสูงขึ้นอยู่กับภาวะของตลาด  ซึ่งทำให้รายได้และกำไรของบริษัทมีความไม่แน่นอนสูงมาก  ดังนั้นราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จึงไม่สามารถจะแพงเหมือนธุรกิจอื่นที่มีความแน่นอนกว่า

              กลยุทธการลงทุนในธุรกิจปล่อยเงินกู้ไม่ว่าจะเป็นแบงค์หรือบริษัทให้กู้เช่าซื้อนั้น  ผมคิดว่าการที่หุ้นมีราคาค่อนข้างถูกในช่วงนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกลัวเรื่องหนี้เสียที่อาจจะเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในด้านของบุคคลธรรมดา  ดังนั้น กลยุทธที่ควรใช้ก็คือ  เราควรเลือกหุ้นที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มที่ราคาก็ถูกอยู่แล้ว  นอกจากนั้น  เราควรต้องดูว่าหนี้เสียของบริษัทนั้นจะสามารถควบคุมได้ไม่สูงเกินไป  นอกจากนั้น  ความสม่ำเสมอของผลงานในอดีตก็ควรจะต้องเป็นปัจจัยประกอบในการวิเคราะห์ด้วย  ส่วนธุรกิจหลักทรัพย์นั้น  ผมคิดว่าถ้าจะลงทุนควรจะเน้นที่ความถูกมาก ๆ  เช่น  เฉพาะเงินสดที่มีในบริษัทก็อาจจะมากกว่าราคาหุ้นแล้ว  ซึ่งนั่นหมายความว่าถ้าเลิกบริษัทเอาเงินมาแบ่งกันก็อาจจะคุ้มแล้ว  ผมเองไม่ทราบว่ายังมีหุ้นหลักทรัพย์ที่ถูกขนาดนั้นหรือไม่  แต่นี่ก็คือกลยุทธหนึ่งที่จะซื้อหุ้นหลักทรัพย์

              หุ้นพลังงาน “ดั้งเดิม” บางตัว  นี่คือหุ้นขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานที่มีมานาน  หุ้นบางตัวนั้นขนาดใหญ่มากและทำธุรกิจหลากหลายเกี่ยวกับพลังงาน   แม้ว่ากิจการจะมีกำไรผันผวนตามราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวไปเรื่อย ๆ  แต่ในระยะยาวแล้ว  กำไร  “ปกติ”  ของบริษัทก็อยู่ในระดับที่ใช้ได้  อย่างไรก็ตาม  หุ้นในกลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ทำให้ขาดแรง  “เก็งกำไร” จากนักลงทุนรายย่อย  นอกจากนั้น  การเติบโตของกิจการเองก็ไม่สูง  ทำให้ตลาดไม่ใคร่ให้คุณค่ามากนัก  ถ้าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ที่ถือว่ายังมีหุ้นราคาถูกอยู่บ้างก็ควรจะต้องเข้าใจว่า  ข้อแรก  ราคานั้นไม่ได้ถูกมาก  ข้อสอง  การจะได้ผลตอบแทนมากและเร็วน่าจะยาก  การลงทุนควรจะหวังว่าจะได้ผลตอบแทนพอสมควรและความเสี่ยงไม่สูง  ส่วนกลยุทธการลงทุนก็เช่นเคย  ต้องเน้นที่หุ้นที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน  ขณะเดียวกัน  ผลประกอบการก็จะต้องมีความสม่ำเสมอมั่นคงพอสมควร  และปันผลที่ได้ก็ต้องค่อนข้างดี  อย่างน้อยควรจะได้ถึง 4%ในปีล่าสุด

              ทั้งหมดนั้นก็คือกลยุทธคร่าว ๆ  ของการลงทุนในหุ้นถูก—ที่ยังเหลืออยู่บ้างในตลาดหลักทรัพย์  การลงทุนนี้  สำหรับผมแล้ว  มันเป็นการเลือกที่เรียกว่า  “Second Best”  คือ  ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้  และจริง ๆ  ก็ไม่ใช่เรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด  แต่มันยังดีกว่าการเก็บเป็นเงินสดไว้ในธนาคาร  การลงทุนในหุ้นถูกแบบนี้  อาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ถือไว้ยาวนานมาก  เราต้องคอยเฝ้าดูอยู่เสมอว่ามันถึงเวลาขายหรือยัง  ไม่ใช่แค่ดูหุ้นตัวที่เราลงทุน  แต่ต้องดูว่ามีโอกาสที่จะพบหุ้นตัวใหม่ที่ดีกว่าและถือลงทุนระยะยาวกว่าได้หรือไม่  ดังนั้น  สำหรับผมแล้ว  นี่คือการลงทุนที่อาจจะไม่  “ถาวร”  แต่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้  และดังนั้น  มันจะไม่ใช่ส่วนใหญ่ของพอร์ตของเรา

cr.ดร.นิเวศน์  เหมวชิรวรากุล

IPO ร้อน ๆ

    ตั้งแต่ปี 2552 หรือหลัง “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” เป็นต้นมา  ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องยกเว้นก็อาจจะปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงเล็กน้อย  ผลของมันก็คือ  ทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ที่มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยร่ำรวยไปตาม ๆ  กันจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในเวลาไม่นานเพียง 4-5 ปี  เหตุผลที่นักลงทุนทำกำไรหรือสร้างผลตอบแทนได้มโหฬารนั้น  นอกจากเรื่องของการที่ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวขึ้นสูงและเร็วมากแล้ว  ยังอยู่ที่กลยุทธ์ในการลงทุนที่พวกเขาเน้นในหุ้นตัวเล็กที่มีการเติบโตสูงกว่าดัชนีโดยรวมมากด้วย  นี่เป็นประเด็นแรก   อีกประเด็นหนึ่งก็คือ  VI หรือนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเหล่านั้นยังมีการใช้มาร์จินหรือกู้เงินซื้อหุ้นในอัตราที่สูงมากซึ่งช่วย  “ขยาย”  ผลตอบแทนเป็นทวีคูณ  ผลก็คือ  ผลตอบแทนของนักลงทุนบางกลุ่มนั้นสูงลิ่วปีละหลายสิบหรือบางทีเป็นร้อย ๆ  เปอร์เซ็นต์ และอาจจะทำให้หุ้นตัวเล็กเป็นหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยสนใจมากกว่าหุ้นตัวใหญ่มาก

           อาการที่หุ้นตัวเล็กที่มีผลประกอบการที่ดีหรือมี  Story หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น  “วิ่ง”  ระเบิด  เมื่อมีการ  “โหม” เข้าซื้อของนักลงทุนนั้น  ผมคิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงที่ “บูม”  จัดเป็นกระทิง  ยิ่งบูมนาน  หุ้นดังกล่าวก็จะมีมากและบ่อยขึ้น  แต่เมื่อการปรับตัวของดัชนีขึ้นไปสูงมากและนานพอจนอาจจะเริ่มชะลอตัว  หุ้นตัวเล็กที่มีผลการดำเนินงานดีและมีสตอรี่เด่นก็ถูกค้นพบและมีราคาปรับตัวขึ้นไปจนเกือบหมด  การวิ่งระเบิดของหุ้นตัวเล็กก็จะน้อยลง  นักลงทุนจำนวนหนึ่งก็จะหันมาหาหุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถมาทดแทน   และนี่ก็คือหุ้นที่เข้าตลาดครั้งแรกหรือเข้ามาเทรดใหม่ที่เรียกกันว่าหุ้น  IPO  พวกเขาเข้ามาซื้อขายหุ้นเหล่านี้กันอย่าง  “บ้าคลั่ง”  โดยเฉพาะในวันแรก ๆ  ของการเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้นไปสูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อ  ราคาหุ้นคิดตามค่า PE หรือ PB สูงหรือแพงมากพอ ๆ  หรือมากกว่าหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก”   ในฐานะของ VI  เรามองหุ้น IPO อย่างไร?

            ประการแรก  ผมคิดว่าหุ้น IPO หลายตัวในภาวะตลาดบูมนั้น  อาศัยสภาวะของการเก็งกำไรที่มีอยู่มากในตลาดหุ้นเข้ามาระดมทุนและสร้างมูลค่าของกิจการที่สูงกว่าความเป็นจริง  พูดง่าย ๆ  บริษัทสามารถขายบางส่วนของกิจการในราคาที่สูงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น  เงินที่บริษัทได้รับจากการขายหุ้น IPO นั้นมีมากพอที่จะทำให้บริษัท  “สบาย”  และสามารถที่จะ “เติบโต”  เร็วขึ้นซึ่งสำหรับบริษัทนั้นแทบไม่มีอะไรจะเสียเลย  ในส่วนของเจ้าของนั้น  แม้ว่าสัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงเมื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น   แต่มูลค่ารวมของความมั่งคั่งวัดจากจำนวนและราคาของหุ้นที่ซื้อขายในตลาดก็มักจะสูงขึ้นมากจากเดิมที่ความมั่งคั่งนั้นวัดได้ไม่ชัดเจนเพราะไม่มีราคาซื้อขาย  แต่สำหรับนักลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้น IPO นั้น  พวกเขาได้อะไร?

            ในระยะสั้น  ในภาวะที่ตลาดหุ้นยังอยู่ในโหมดของความสดใส  การซื้อ  “หุ้นจอง”  หรือหุ้น IPO  ก่อนเข้าตลาดนั้นดูเหมือนว่าจะ  “ปิดประตูขาดทุน”  เหตุเพราะว่าวันแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้น  การเก็งกำไรหรือแม้แต่  การ “ดูแลราคาหุ้น”  ของเจ้าของหรือใครก็ตาม  มักจะทำให้ราคาหุ้นสามารถขึ้นไปเหนือราคาจองเสมอ  และถ้าโชคดี  ราคาขึ้นไปสูงกว่าราคาจองหลายสิบเปอร์เซ็นต์หรือบางทีเป็นร้อย  คนได้หุ้นจองก็ทำเงินได้ง่าย ๆ อย่างรวดเร็วจากการลงทุนไปเพียงไม่กี่วัน   แต่ปัญหาก็คือ  หุ้นจองในภาวะที่ตลาดหุ้นร้อนแรงนั้น  “หาได้ยาก”  ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักเล่นหุ้นรายใหญ่หรือมีสายสัมพันธ์พิเศษกับเจ้าของบริษัทหรือผู้รับประกันการจำหน่ายหุ้น   ส่วนการเข้าไปซื้อหุ้นที่เข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ในวันแรก ๆ  ของการซื้อขายนั้น  ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการเก็งกำไรล้วน ๆ  ด้วยเหตุผลที่ว่า  หุ้นจองหรือ IPO ในความเห็นของผมนั้น  มักจะถูกตั้งราคาที่สูงกว่าพื้นฐานอยู่แล้วโดยที่ปรึกษาและรับประกันการจำหน่ายหุ้น  และถ้าเราเข้าไปซื้อหุ้นในวันแรก ๆ  ที่ราคาวิ่งสูงขึ้นไปอีก  นั่นก็แปลว่าเรากำลังซื้อหุ้นที่ยิ่งสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก  ดังนั้น  ถ้าเราถือหุ้นลงทุนระยะยาว  เราก็น่าจะขาดทุนมากกว่าที่จะกำไร  เพราะในระยะยาวแล้ว  ราคาหุ้นก็มักจะวิ่งเข้าสู่พื้นฐานของมัน

            เหตุผลที่ผมเชื่อว่าหุ้น IPO ส่วนใหญ่นั้นถูกกำหนดให้มีราคาสูงกว่าพื้นฐานนั้น  เป็นเพราะว่าราคานั้นมักถูกกำหนดโดยเจ้าของบริษัทที่รู้จัก “พื้นฐาน” ของบริษัทเป็นอย่างดี  และขายให้กับนักลงทุนโดยทั่วไปที่มักจะไม่รู้จักกับบริษัทเลยหรือรู้จักแบบผิวเผินแต่มาซื้อหุ้นเพราะหวัง “เก็งกำไร”  ในระยะสั้น  ดังนั้น  เขาจึงไม่สนใจมากนักว่าราคาจะแพงหรือถูก    อาจจะมีข้อถกเถียงว่าคนที่กำหนดหรือคำนวณราคาหุ้น IPO คือผู้ที่รับประกันการจำหน่ายหุ้นซึ่งก็คือที่ปรึกษาการเงินที่มีความรู้ในการประเมินราคาหุ้นเป็นอย่างดี  ดังนั้น  ราคาหุ้นที่ขาย IPO ก็น่าจะเป็นราคาที่ยุติธรรม  ว่าที่จริงโบรกเกอร์ก็มักจะพูดว่าราคาหุ้นที่ตั้งนั้นมี  “ส่วนลด” จากราคาพื้นฐานด้วยซ้ำ  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ถ้าขายไม่หมดเขาก็ต้องรับซื้อหุ้น IPO  นั้นไว้เอง  ดังนั้น  ราคาหุ้น IPO จึงไม่น่าจะแพงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น  แต่ข้อถกเถียงนี้ผมคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง  ข้อโต้แย้งของผมก็คือ ข้อแรก  ที่ปรึกษาไม่รู้หรือไม่สามารถประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้จริง  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะอิงตัวเลขบางตัวเช่น  ค่า PE ของปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันที่กำลังจะมาถึงโดยที่บ่อยครั้งบริษัทนั้นไม่ได้มีผลประกอบการที่มั่นคงสม่ำเสมอพอที่จะใช้กำไรที่เห็นในช่วงสั้น ๆ  มาประเมินมูลค่าหุ้นได้  เป็นต้น  ข้อสอง โบรกเกอร์ไม่มีปัญหาในการขายหุ้น IPO ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูม  ดังนั้น  เขาก็ไม่กลัวว่าจะขายหุ้น IPO ไม่ได้

            เหตุผลที่ผมไม่ใคร่สนใจซื้อหุ้น IPO หลังจากเข้ามาเทรดในตลาดใหม่ ๆ  อีกข้อหนึ่งก็คือ  หุ้นเหล่านี้มักจะมีประวัติหรือข้อมูลผลประกอบการที่สั้นมากเพียง 2-3 ปีที่เปิดเผยให้เราเห็น  นอกจากนั้น  เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชนมาก่อน  ความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็มักจะไม่เพียงพอ  ที่สำคัญก็คือ  ข้อมูลผลประกอบการปีล่าสุดเองนั้นก็มักจะต้องถูกทำให้ดูดีเพื่อที่ที่ปรึกษาการเงินจะได้สามารถตั้งราคาหุ้นให้สูงขึ้น  ดังนั้น  ผมเองก็ไม่แน่ใจว่ากำไรที่ดูดีนั้นมาจากการ  “แต่งตัว”  หรือทำให้ดูดีด้วยวิธีการทางบัญชีหรือเกิดจากกลยุทธ์ประเภทดึงกำไรให้เกิดก่อนแล้วค่อยไปลดกำไรในภายหลังหรือไม่  ทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าผมอาจจะไม่เข้าใจหรือรู้จักบริษัทจริง ๆ  และเป็นความเสี่ยง  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  หุ้นใหม่ ๆ  เหล่านี้มีอัตราของการเก็งกำไรสูงมากมองจากอัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของหุ้นที่สูงลิ่ว  ดังนั้น  ราคาหุ้นก็มักจะสูงกว่าความเป็นจริง   ผมจึงมักเลือกที่จะไม่เข้าไปยุ่งหรือซื้อขายหุ้น IPO โดยเฉพาะการซื้อขายหลังจากเข้าตลาดไปแล้ว

            แน่นอนว่ามีหุ้น IPO บางตัวที่ “ร้อนแรง”  ตั้งแต่วันเปิดจอง    ร้อนแรงมากในวันที่เข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยและผลประกอบการของบริษัทที่ประกาศออกมาดูน่าประทับใจรวมถึงการคาดการณ์อนาคตที่ดูสดใส  หรือร้อนแรงมากเนื่องจากเหตุผลที่ว่ามันเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีหุ้นจำนวนน้อยและอาจจะมีคนที่เล่นหรือ “ดูแล” หุ้นอย่างมีประสิทธิผล  แต่ในระยะยาวแล้ว  ราคาหุ้นก็จะต้องสะท้อนถึงพื้นฐานที่แท้จริงของมัน  และนั่นก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดหุ้นซบเซาหรือนักลงทุนหมดความสนใจในตัวหุ้นเนื่องจากผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คนคาดหวัง  ราคาหุ้นก็จะตกลงมาอย่างหนักและคนที่ซื้อหุ้นไว้ก็จะเสียหาย  ดังนั้น  โดยทั่วไปแล้ว  ถ้าผมได้หุ้นจองมา  ผมก็มักจะขายหุ้นค่อนข้างเร็วหลังจากที่มันเข้าซื้อขายในตลาด  โอกาสที่ผมจะถือเก็บไว้ยาวนานมีน้อย  โอกาสที่ผมจะซื้อหุ้น IPO ที่เข้าตลาดใหม่ ๆ เพื่อเก็บไว้ยาวเพื่อลงทุนแทบจะไม่มีเลย  เมื่อผมยังเป็นเด็กนั้น  มีเนื้อเพลงเกี้ยวสาวยอดนิยมประโยคหนึ่งบอกว่า  “เก่า ๆ  เป็นสนิม  ใหม่ ๆ  หน้าตาจุ๋มจิ๋ม”  แต่ในตลาดหุ้นนั้น  ผมคิดว่าหุ้น เก่า ๆ  นั้นไม่เป็นสนิมและหุ้นใหม่ ๆ  นั้นหน้าตาก็ไม่จุ๋มจิ๋ม ครับ

CR. ดร.นิเวศน์  เหมวชิรวรากุล

IPO ร้อน ๆ

    ตั้งแต่ปี 2552 หรือหลัง “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” เป็นต้นมา  ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องยกเว้นก็อาจจะปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงเล็กน้อย  ผลของมันก็คือ  ทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ที่มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยร่ำรวยไปตาม ๆ  กันจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในเวลาไม่นานเพียง 4-5 ปี  เหตุผลที่นักลงทุนทำกำไรหรือสร้างผลตอบแทนได้มโหฬารนั้น  นอกจากเรื่องของการที่ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวขึ้นสูงและเร็วมากแล้ว  ยังอยู่ที่กลยุทธ์ในการลงทุนที่พวกเขาเน้นในหุ้นตัวเล็กที่มีการเติบโตสูงกว่าดัชนีโดยรวมมากด้วย  นี่เป็นประเด็นแรก   อีกประเด็นหนึ่งก็คือ  VI หรือนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเหล่านั้นยังมีการใช้มาร์จินหรือกู้เงินซื้อหุ้นในอัตราที่สูงมากซึ่งช่วย  “ขยาย”  ผลตอบแทนเป็นทวีคูณ  ผลก็คือ  ผลตอบแทนของนักลงทุนบางกลุ่มนั้นสูงลิ่วปีละหลายสิบหรือบางทีเป็นร้อย ๆ  เปอร์เซ็นต์ และอาจจะทำให้หุ้นตัวเล็กเป็นหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยสนใจมากกว่าหุ้นตัวใหญ่มาก

           อาการที่หุ้นตัวเล็กที่มีผลประกอบการที่ดีหรือมี  Story หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น  “วิ่ง”  ระเบิด  เมื่อมีการ  “โหม” เข้าซื้อของนักลงทุนนั้น  ผมคิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงที่ “บูม”  จัดเป็นกระทิง  ยิ่งบูมนาน  หุ้นดังกล่าวก็จะมีมากและบ่อยขึ้น  แต่เมื่อการปรับตัวของดัชนีขึ้นไปสูงมากและนานพอจนอาจจะเริ่มชะลอตัว  หุ้นตัวเล็กที่มีผลการดำเนินงานดีและมีสตอรี่เด่นก็ถูกค้นพบและมีราคาปรับตัวขึ้นไปจนเกือบหมด  การวิ่งระเบิดของหุ้นตัวเล็กก็จะน้อยลง  นักลงทุนจำนวนหนึ่งก็จะหันมาหาหุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถมาทดแทน   และนี่ก็คือหุ้นที่เข้าตลาดครั้งแรกหรือเข้ามาเทรดใหม่ที่เรียกกันว่าหุ้น  IPO  พวกเขาเข้ามาซื้อขายหุ้นเหล่านี้กันอย่าง  “บ้าคลั่ง”  โดยเฉพาะในวันแรก ๆ  ของการเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้นไปสูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อ  ราคาหุ้นคิดตามค่า PE หรือ PB สูงหรือแพงมากพอ ๆ  หรือมากกว่าหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก”   ในฐานะของ VI  เรามองหุ้น IPO อย่างไร?

            ประการแรก  ผมคิดว่าหุ้น IPO หลายตัวในภาวะตลาดบูมนั้น  อาศัยสภาวะของการเก็งกำไรที่มีอยู่มากในตลาดหุ้นเข้ามาระดมทุนและสร้างมูลค่าของกิจการที่สูงกว่าความเป็นจริง  พูดง่าย ๆ  บริษัทสามารถขายบางส่วนของกิจการในราคาที่สูงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น  เงินที่บริษัทได้รับจากการขายหุ้น IPO นั้นมีมากพอที่จะทำให้บริษัท  “สบาย”  และสามารถที่จะ “เติบโต”  เร็วขึ้นซึ่งสำหรับบริษัทนั้นแทบไม่มีอะไรจะเสียเลย  ในส่วนของเจ้าของนั้น  แม้ว่าสัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงเมื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น   แต่มูลค่ารวมของความมั่งคั่งวัดจากจำนวนและราคาของหุ้นที่ซื้อขายในตลาดก็มักจะสูงขึ้นมากจากเดิมที่ความมั่งคั่งนั้นวัดได้ไม่ชัดเจนเพราะไม่มีราคาซื้อขาย  แต่สำหรับนักลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้น IPO นั้น  พวกเขาได้อะไร?

            ในระยะสั้น  ในภาวะที่ตลาดหุ้นยังอยู่ในโหมดของความสดใส  การซื้อ  “หุ้นจอง”  หรือหุ้น IPO  ก่อนเข้าตลาดนั้นดูเหมือนว่าจะ  “ปิดประตูขาดทุน”  เหตุเพราะว่าวันแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้น  การเก็งกำไรหรือแม้แต่  การ “ดูแลราคาหุ้น”  ของเจ้าของหรือใครก็ตาม  มักจะทำให้ราคาหุ้นสามารถขึ้นไปเหนือราคาจองเสมอ  และถ้าโชคดี  ราคาขึ้นไปสูงกว่าราคาจองหลายสิบเปอร์เซ็นต์หรือบางทีเป็นร้อย  คนได้หุ้นจองก็ทำเงินได้ง่าย ๆ อย่างรวดเร็วจากการลงทุนไปเพียงไม่กี่วัน   แต่ปัญหาก็คือ  หุ้นจองในภาวะที่ตลาดหุ้นร้อนแรงนั้น  “หาได้ยาก”  ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักเล่นหุ้นรายใหญ่หรือมีสายสัมพันธ์พิเศษกับเจ้าของบริษัทหรือผู้รับประกันการจำหน่ายหุ้น   ส่วนการเข้าไปซื้อหุ้นที่เข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ในวันแรก ๆ  ของการซื้อขายนั้น  ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการเก็งกำไรล้วน ๆ  ด้วยเหตุผลที่ว่า  หุ้นจองหรือ IPO ในความเห็นของผมนั้น  มักจะถูกตั้งราคาที่สูงกว่าพื้นฐานอยู่แล้วโดยที่ปรึกษาและรับประกันการจำหน่ายหุ้น  และถ้าเราเข้าไปซื้อหุ้นในวันแรก ๆ  ที่ราคาวิ่งสูงขึ้นไปอีก  นั่นก็แปลว่าเรากำลังซื้อหุ้นที่ยิ่งสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก  ดังนั้น  ถ้าเราถือหุ้นลงทุนระยะยาว  เราก็น่าจะขาดทุนมากกว่าที่จะกำไร  เพราะในระยะยาวแล้ว  ราคาหุ้นก็มักจะวิ่งเข้าสู่พื้นฐานของมัน

            เหตุผลที่ผมเชื่อว่าหุ้น IPO ส่วนใหญ่นั้นถูกกำหนดให้มีราคาสูงกว่าพื้นฐานนั้น  เป็นเพราะว่าราคานั้นมักถูกกำหนดโดยเจ้าของบริษัทที่รู้จัก “พื้นฐาน” ของบริษัทเป็นอย่างดี  และขายให้กับนักลงทุนโดยทั่วไปที่มักจะไม่รู้จักกับบริษัทเลยหรือรู้จักแบบผิวเผินแต่มาซื้อหุ้นเพราะหวัง “เก็งกำไร”  ในระยะสั้น  ดังนั้น  เขาจึงไม่สนใจมากนักว่าราคาจะแพงหรือถูก    อาจจะมีข้อถกเถียงว่าคนที่กำหนดหรือคำนวณราคาหุ้น IPO คือผู้ที่รับประกันการจำหน่ายหุ้นซึ่งก็คือที่ปรึกษาการเงินที่มีความรู้ในการประเมินราคาหุ้นเป็นอย่างดี  ดังนั้น  ราคาหุ้นที่ขาย IPO ก็น่าจะเป็นราคาที่ยุติธรรม  ว่าที่จริงโบรกเกอร์ก็มักจะพูดว่าราคาหุ้นที่ตั้งนั้นมี  “ส่วนลด” จากราคาพื้นฐานด้วยซ้ำ  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ถ้าขายไม่หมดเขาก็ต้องรับซื้อหุ้น IPO  นั้นไว้เอง  ดังนั้น  ราคาหุ้น IPO จึงไม่น่าจะแพงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น  แต่ข้อถกเถียงนี้ผมคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง  ข้อโต้แย้งของผมก็คือ ข้อแรก  ที่ปรึกษาไม่รู้หรือไม่สามารถประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้จริง  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะอิงตัวเลขบางตัวเช่น  ค่า PE ของปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันที่กำลังจะมาถึงโดยที่บ่อยครั้งบริษัทนั้นไม่ได้มีผลประกอบการที่มั่นคงสม่ำเสมอพอที่จะใช้กำไรที่เห็นในช่วงสั้น ๆ  มาประเมินมูลค่าหุ้นได้  เป็นต้น  ข้อสอง โบรกเกอร์ไม่มีปัญหาในการขายหุ้น IPO ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูม  ดังนั้น  เขาก็ไม่กลัวว่าจะขายหุ้น IPO ไม่ได้

            เหตุผลที่ผมไม่ใคร่สนใจซื้อหุ้น IPO หลังจากเข้ามาเทรดในตลาดใหม่ ๆ  อีกข้อหนึ่งก็คือ  หุ้นเหล่านี้มักจะมีประวัติหรือข้อมูลผลประกอบการที่สั้นมากเพียง 2-3 ปีที่เปิดเผยให้เราเห็น  นอกจากนั้น  เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชนมาก่อน  ความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็มักจะไม่เพียงพอ  ที่สำคัญก็คือ  ข้อมูลผลประกอบการปีล่าสุดเองนั้นก็มักจะต้องถูกทำให้ดูดีเพื่อที่ที่ปรึกษาการเงินจะได้สามารถตั้งราคาหุ้นให้สูงขึ้น  ดังนั้น  ผมเองก็ไม่แน่ใจว่ากำไรที่ดูดีนั้นมาจากการ  “แต่งตัว”  หรือทำให้ดูดีด้วยวิธีการทางบัญชีหรือเกิดจากกลยุทธ์ประเภทดึงกำไรให้เกิดก่อนแล้วค่อยไปลดกำไรในภายหลังหรือไม่  ทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าผมอาจจะไม่เข้าใจหรือรู้จักบริษัทจริง ๆ  และเป็นความเสี่ยง  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  หุ้นใหม่ ๆ  เหล่านี้มีอัตราของการเก็งกำไรสูงมากมองจากอัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของหุ้นที่สูงลิ่ว  ดังนั้น  ราคาหุ้นก็มักจะสูงกว่าความเป็นจริง   ผมจึงมักเลือกที่จะไม่เข้าไปยุ่งหรือซื้อขายหุ้น IPO โดยเฉพาะการซื้อขายหลังจากเข้าตลาดไปแล้ว

            แน่นอนว่ามีหุ้น IPO บางตัวที่ “ร้อนแรง”  ตั้งแต่วันเปิดจอง    ร้อนแรงมากในวันที่เข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยและผลประกอบการของบริษัทที่ประกาศออกมาดูน่าประทับใจรวมถึงการคาดการณ์อนาคตที่ดูสดใส  หรือร้อนแรงมากเนื่องจากเหตุผลที่ว่ามันเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีหุ้นจำนวนน้อยและอาจจะมีคนที่เล่นหรือ “ดูแล” หุ้นอย่างมีประสิทธิผล  แต่ในระยะยาวแล้ว  ราคาหุ้นก็จะต้องสะท้อนถึงพื้นฐานที่แท้จริงของมัน  และนั่นก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดหุ้นซบเซาหรือนักลงทุนหมดความสนใจในตัวหุ้นเนื่องจากผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คนคาดหวัง  ราคาหุ้นก็จะตกลงมาอย่างหนักและคนที่ซื้อหุ้นไว้ก็จะเสียหาย  ดังนั้น  โดยทั่วไปแล้ว  ถ้าผมได้หุ้นจองมา  ผมก็มักจะขายหุ้นค่อนข้างเร็วหลังจากที่มันเข้าซื้อขายในตลาด  โอกาสที่ผมจะถือเก็บไว้ยาวนานมีน้อย  โอกาสที่ผมจะซื้อหุ้น IPO ที่เข้าตลาดใหม่ ๆ เพื่อเก็บไว้ยาวเพื่อลงทุนแทบจะไม่มีเลย  เมื่อผมยังเป็นเด็กนั้น  มีเนื้อเพลงเกี้ยวสาวยอดนิยมประโยคหนึ่งบอกว่า  “เก่า ๆ  เป็นสนิม  ใหม่ ๆ  หน้าตาจุ๋มจิ๋ม”  แต่ในตลาดหุ้นนั้น  ผมคิดว่าหุ้น เก่า ๆ  นั้นไม่เป็นสนิมและหุ้นใหม่ ๆ  นั้นหน้าตาก็ไม่จุ๋มจิ๋ม ครับ

CR. ดร.นิเวศน์  เหมวชิรวรากุล

ลงทุนในสุขภาพ

  ผมพูดเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนมานานมากน่าจะประมาณ 20 ปีมาแล้ว  เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของเงินทอง  หลักการสำคัญของการลงทุนก็คือการ  “อดหรือเลื่อนการบริโภคหรือการใช้เงินในวันนี้เพื่อที่จะสามารถบริโภคหรือใช้เงินได้มากขึ้นในวันข้างหน้า”    แต่การ “ลงทุน” นั้น  ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องของเงินทองแต่เพียงอย่างเดียว  เรื่องอื่น ๆ  ที่เราสามารถอดหรือเลื่อนออกไปในตอนนี้เพื่อที่จะได้สามารถใช้ได้มากขึ้นหรือดีขึ้นในวันข้างหน้าก็เป็นการลงทุนเหมือนกัน  ว่าที่จริงมีเรื่องอื่น ๆ  อีกไม่น้อยที่การลงทุนมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องของเงินทอง  หนึ่งในนั้นก็คือการลงทุนกับ “สุขภาพ”  นี่คือการลงทุนในเรื่องของการ “ใช้” ร่างกายและจิตใจในวันนี้อย่าง “ถนอมรักษา”  เพื่อที่จะได้สามารถใช้มันได้มากขึ้นและ/หรือดีขึ้นในวันข้างหน้า—เมื่อร่างกายของเราเข้าสู่โหมดเสื่อมโทรมตามอายุของเรา

          การลงทุนในสุขภาพนั้นก็อาจจะคล้าย ๆ  กับการลงทุนในเงินทองในแง่ที่ว่าในยามที่เรายังเป็นหนุ่มสาวเรามักจะไม่ใคร่สนใจที่จะทำนักเนื่องจากความจำเป็นยังมีน้อยนั่นก็คือ  ในยามที่เป็นหนุ่มสาว  เรามักจะยังมีสุขภาพที่ดีหรือมีเงินใช้เพียงพอจากการทำงาน   เราไม่เห็นความจำเป็นมากนักที่จะต้องดูแลสุขภาพหรือต้องเก็บเงินเพื่อลงทุน   เราอยากจะใช้มันให้  “เต็มที่กับชีวิต”  สำหรับวันนี้มากกว่าที่จะเลื่อนออกไปในวันข้างหน้า  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  เราไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น  เราอาจจะตายเสียก่อนหรือถึงวันนั้นการมีเงินใช้มากก็ไม่มีประโยชน์ถ้าเราไม่มี  “แรง”  ที่จะใช้มัน   ทั้งหมดนั้นก็มักจะเป็นความคิดของคนที่ยังไม่เคยแก่  ยังไม่รู้สึกถึงคุณประโยชน์ของการมีเงินหรือมีสุขภาพที่ดีในวันที่ตนเองแก่ตัวลง  แต่สำหรับผมซึ่งผ่านชีวิตทั้งสองแบบมาแล้วผมคิดว่าคนเราต้อง “ลงทุน”  ในทั้งสองเรื่องอย่างจริงจังตั้งแต่อายุยังน้อย  การลงทุนจะช่วยเพิ่ม  “ผลประโยชน์รวม”  หรือ “ความสุขโดยรวม” ในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ  พูดง่าย ๆ   ถ้าเราลงทุนอย่างพอเหมาะทั้งในเรื่องของการเงินและสุขภาพตั้งแต่ยังเด็ก  โอกาสที่เราจะมีความสุขในชีวิตตลอดชั่วอายุขัยจะสูงขึ้นมาก  ถ้าเราไม่ลงทุนหรือลงทุนน้อย  ชีวิตเราอาจจะมีความสุขสูงขึ้นในช่วงอายุไม่มากยังแข็งแรง  แต่เมื่อแก่ตัวลง  ความสุขแทบจะไม่เหลือ  เราจะลำบากตอนแก่  ถ้านำมาเฉลี่ยกัน  ความสุขโดยรวมของเราก็จะน้อยลงไปมาก

           การลงทุนในสุขภาพนั้นไม่เหมือนเงินทองในแง่ที่ว่า  ถ้าเรา “ไม่ใช้” ร่างกายหรือใช้น้อย  แบบนี้ไม่ใช่การลงทุน   ในทางตรงกันข้าม  การ  “ใช้” ร่างกายมากเกินไป  ก็ไม่ใช่การลงทุนเหมือนกัน   การลงทุนในสุขภาพนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เราต้องทำให้พอเหมาะในแต่ละเรื่องและเราจะต้องรู้จริงและเข้าใจร่างกายและการทำงานของมัน  โดยหลักการก็คือ  เราจะต้องดูแลรักษาให้ทุกส่วนของร่างกายทำงานได้เต็มหรือเกือบเต็มประสิทธิภาพแต่ไม่เกินกำลังในแต่ละช่วงเวลา  และคำว่าทุกส่วนนั้นรวมถึงที่อยู่ภายในที่เรามองไม่เห็นเช่นตับไตไส้พุงและสมองของเราด้วย  และนี่ก็ทำให้การลงทุนในร่างกายหรือสุขภาพเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรและต้องการการศึกษาทำความเข้าใจกับมันคล้าย ๆ  กับการลงทุนเหมือนกัน

           หัวใจของการรักษาและดูแลสุขภาพซึ่งจะเป็นการ “ลงทุน”  ที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ  การออกกำลังที่พอเหมาะตลอดช่วงอายุของเรา  การออกกำลังกายนั้นช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง  ทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยเรารักษาโครงของร่างกายเราในยามที่เราแก่ตัวลง  ซึ่งบางคนจะมีอาการกระดูกเปราะหรือบางซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการแตกหักหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงเสี่ยงต่อการที่ข้อต่อกระดูกจะมีปัญหาต่าง ๆ  เช่นหมอนรองกระดูกเคลื่อน   เป็นต้น  อาการเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นแล้วคุณภาพชีวิตคงเสียไปไม่น้อย  นอกจากนั้น  การออกกำลังสม่ำเสมอยังช่วยในเรื่องของหัวใจและระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้มัน “แก่” ช้าลง  รวมไปถึงสมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดด้วย   ประเด็นสำคัญที่ผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่ก็คือการออกกำลังมาก “เกินปกติ”  เช่น  นักกีฬาหรือคนที่เล่นกล้ามเพาะกายนั้น  เป็นการ “ลงทุน” หรือการ “ใช้” ร่างกายกันแน่  หรือพูดง่าย ๆ  มันคุ้มไหมที่จะทำอย่างนั้น?  ผมเองเคยพบเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบวิ่งจ็อกกิ้งมากจนน่าจะเรียกได้ว่า “ติด”  เขาวิ่งแทบทุกวันวันละเป็นสิบ ๆ ก.ม. ดูจากภายนอกเขาจะผอมเกร็งไม่มีไขมันเลย  ร่างกายดูแข็งแรงยิ่งกว่าหนุ่มวัยรุ่นทั้ง ๆ  ที่อายุน่าจะ 40 ปีแล้ว  ต่อมาเมื่อพบเขาอีกครั้งหนึ่งเขาบอกว่าเขาเป็นมะเร็ง  เหตุผลเขาบอกว่าอาจจะเกิดจากการที่เขาใช้พลังมากเกินไปและกินเนื้อสัตว์มากเพื่อชดเชยเสริมสร้างกล้ามเนื้อซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง  นั่นเป็นการบอกเป็นนัยว่า  เขาใช้ร่างกายเกินไป

           อาหารน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพไม่น้อย  การ “ลงทุน” ในเรื่องนี้  ไม่ใช่การกินแต่อาหารคุณภาพสูงราคาแพงอย่างเนื้อสัตว์หรืออาหารที่อร่อยที่มักมีไขมันหรือความหวานสูง  ตรงกันข้าม  การลงทุนในเรื่องนี้หมายความว่าเราจะต้อง “อด” หรือหักห้ามจิตใจที่อยากจะกินอาหารดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  ประเด็นหลักก็คือ  การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่อ้วน  เพราะน้ำหนักตัวที่เกินกว่าปกตินั้นมักจะเป็นสาเหตุของโรคและความไม่สบายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในตอนที่เราแก่ตัวลง  เช่น  โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ  โรคเบาหวาน  ความดันและอื่น ๆ   ซึ่งโรคเหล่านี้มักจะ  “เรื้อรัง”  และทำให้คุณภาพชีวิตของเราลดลงไปมาก  นอกจากอาหารตามปกติแล้ว  การลงทุนในสุขภาพอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องการการควบคุมจิตใจตัวเองสำหรับบางคนก็คือ  การบริโภค “สารพิษ”  หรือสิ่งที่จะทำลายอวัยวะบางอย่างของร่างกายเช่น  การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้บ่อย ๆ  การสูบบุหรี่หรือยาเสพติดอื่น ๆ   สิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาหนึ่งเราอาจจะไม่เห็นว่ามีผลอะไรต่อร่างกายเรา  อย่างไรก็ตาม  ในระยะยาวแล้วผมคิดว่าร่างกายมันจะ “ฟ้อง”  การทำงานของตับหรือปอดอาจจะแย่ลงมากหรือบางคนอาจจะร้ายแรงถึงขนาดตับแข็งหรือเป็นมะเร็งในปอดหรือตับได้

           เมื่อเร็ว ๆ  นี้  ความคิดเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งนั่นก็คือ  การเกิดขึ้นของ  “Anti Ageing”  หรือการ “ชะลอวัย” ในวงการแพทย์  นี่คือการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์และสุขภาพหลาย ๆ  ด้านมาแนะนำหรือมาดูแลรักษาผู้สูงวัยไม่ให้ “แก่”  ตัวเร็วหรือมีปัญหาทางสุขภาพเนื่องจากความเสื่อมโทรมของร่างกายมากเกินไป  หมอบางคนก็คิดถึงขนาด  “ลดวัย”  ให้กับคนไข้ที่มารับการรักษา   กระบวนการหรือวิธีของหมอที่ทำเรื่องชะลอวัยนั้น   นอกจากเรื่องของการออกกำลังและการกินอาหารซึ่งรวมถึงวิตามินแล้ว  ยังรวมถึงการ  “ปรับ” ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายของเราด้วย  เพราะปริมาณฮอร์โมนในร่างกายนั้น  มีส่วนสำคัญมากต่อระบบการทำงานต่าง ๆ  ของร่างกาย  ว่ากันถึงขนาดว่า  ฮอร์โมนนั้นเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นหนุ่มสาวหรือเราจะแก่กันเลยทีเดียว  แต่การทำเรื่องต่าง ๆ  เหล่านี้ก็มีต้นทุนที่สูงทั้งเรื่องของการตรวจวิเคราะห์  ยาหรืออาหารเสริม  และที่สำคัญค่าที่ปรึกษาแนะนำของแพทย์และบุคลากรด้านต่าง ๆ     และนี่ก็คือ  “การลงทุน” ในสุขภาพที่เป็นเม็ดเงินจริงสำหรับคนที่เชื่อหรือสนใจที่จะลอง  เรื่อง Anti Ageing นี้  ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มไหมสำหรับคนทั่วไป  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนที่อายุมากและมีเงินมากแล้ว  ดูเหมือนว่ามันจะคุ้มที่จะลงทุนจ่ายเงิน  และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำต่างก็เสนอบริการนี้

           สุดท้าย  การลงทุนในเรื่องของสุขภาพนั้นก็ไม่ได้ต่างจากการลงทุนในเรื่องการเงินในแง่ที่ว่า  ผลลัพธ์ปลายทางนั่นคือ  ความมั่งคั่งหรือสุขภาพที่ดีโดยรวมของแต่ละคนนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 3 ประการนั่นก็คือ  หนึ่ง  ต้นทุนเดิมของแต่ละคนที่มีอยู่  คนที่มี “ยีนส์” ดี ย่อมได้เปรียบคนที่มีกรรมพันธุ์ที่ไม่แข็งแรงซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ “ดวง” ของแต่ละคน  สอง การดูแลรักษาสุขภาพที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่สูงต่อสุขภาพ  และสุดท้ายก็คือ  ระยะเวลาของการปฏิบัติตามแนวทางนั้นอย่างมีวินัยสูง  ถ้าทำได้เช่นนี้  เราก็จะมีสุขภาพที่ดีโดยรวมตลอดอายุขัย  และนี่ก็คือการลงทุนในชีวิตที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งไม่แพ้การลงทุนในเรื่องของเงินทอง

cr.ดร.นิเวศน์   เหมวชิรวรากุล