สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง

สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง แต่กลุ่มทุนข้ามชาติได้เต็มๆจากละเมิดสิทธิฯในอาเซียน

เอเจนซีส์ – AEC หรือการรวมตัว 10 ชาติในย่านเอเชียแปซิฟิกที่มีประชากรอาศัยรวมกันร่วม 620 ล้านคนเพื่อเป็นตลาดเดียวที่มีมูลค่าสูงถึง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่จะเปิดพรมแดนติดต่อร่วมกันเป็นทางการในปลายปีนี้ แต่ทว่าเดอการ์เดียน สื่ออังกฤษชี้ว่า การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่เลียนแบบกลุ่มสหภาพยุโรปนี้ อาจไม่ช่วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจทั้งหมดอาจตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน นอกจากนี้ สื่ออังกฤษยังชี้ ไทยอาจไม่ได้รับความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการรวมตัวของ AEC เพราะโดนพิษการเมืองเล่นงาน ทำให้เสียความได้เปรียบไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า

เดอะการ์เดียน รายงานวันที่ 3 ก.พ. 2014 ถึงโอกาสและศักยภาพของ AEC การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ 10ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มี (1)พม่า (2)บรูไน (3)กัมพูชา (4) อินโดนีเซีย (5)ลาว (6)มาเลเซีย (7)ฟิลิปปินส์ (8)ไทย (9)สิงคโปร์ และ (10)เวียดนาม เป็นสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่มีรูปแบบคล้ายสหภาพยุโรป เพื่อหาประโยชน์จากการรวมตัวการค้าตลาดเดียวมูลค่าสูงถึง2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีประชากรร่วม 620 ล้านคนอาศัย และช่องทางการค้าเสรีที่ทำให้มีศักยภาพในการต่อรองสูงขึ้น ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่า ถึงแม้จะยังไม่มีการเปิดตัวของ AEC อย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นความหอมหวลของ AEC สามารถดึงดูดนักลงทุนที่สนใจเข้ามาในภูมิภาคนี้แล้ว

แต่กระนั้นบรรดานักสังเกตการณ์เตือนว่า ในบางส่วนของพื้นที่ หรือแม้กระทั่งทั้งประเทศอาจอยู่ในสภาพที่แย่กว่าเดิม เนื่องมาจากความเสี่ยงพลเมืองในพื้นที่ที่จะถูกริดรอนสิทธิมนุษยชน รีดเอาหยาดเหงื่อแรงงานและสิทธิที่ควรได้ในฐานะความเป็นมนุษย์ไปให้กับการเติบโตทางตัวเลขเศรษฐกิจของกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน

ทั้งนี้มีการคาดการตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 5 % ต่อปี ของ AECที่มีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และถึงขั้นต้องการให้แซงหน้ากลุ่มเศรษฐกิจสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงญี่ปุ่น ไปในท้ายที่สุดก่อนปี 2018 แต่ทว่าเมื่อวิเคราะห์ถึงศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิก สื่ออังกฤษชี้ว่า ทั้ง 10ประเทศมีความแตกต่างเป็นอย่างมากทั้งในด้านการปกครอง สภาพเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง และภาษาที่ใช้ ทำให้มีความกังวลว่า ความฝันที่จะทำให้ AEC จะเริ่มเปิดได้จริงตามกำหนดภายในสิ้นปีนี้ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาว่า เช่น พม่า ซึ่งเป็นชาติที่จนที่สุดในบรรดา 10ประเทศ ซึ่ง 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในขณะที่สิงคโปร์ ที่ถือเป็นชาติร่ำรวยที่สุดในกลุ่ม มีพลเมืองถูกจัดอันดับว่าร่ำรวยที่สุดในโลก

มุสตาปา โมฮาเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาเลเซียกล่าวว่า “ประชาคมโลกธุรกิจต้องการอาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัญหาอีกมาก เช่น ปัญหาเขตแดน ปัญหาศุลกากร ปัญหาการเดินทางข้ามถิ่น และระบบควบคุมที่ใช้มาตรฐานต่างกัน”

ทั้งนี้มาเลเซีย ที่ถือเป็นประเทศที่ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลกทรอนิก นั่งเป็นประธานกลุ่ม AEC ที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ได้ออกมาเตือนว่า จะไม่มีโอกาสได้เห็นการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าและบริการข้ามพรมแดนภายใน AEC ก่อนปี 2020 อย่างแน่นอน ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้นทางประเทศสมาชิกเพียงแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับการเปิดใช้จริง”

อย่างไรก็ตาม เดอะการ์เดียนชี้ว่า ถึงแม้จะมีความต่างเป็นอย่างมากในะหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่นี้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนขยาด แต่ทว่าสื่ออังกฤษไม่คิดว่า AEC จะประสบปัญหาหนี้เน่าเหมือนเช่น EU กำลังเผชิญหน้าอยู่ เป็นเพราะในแต่เริ่มแรก AEC ไม่มีเป้าหมายรวมตัวเพื่อใช้สกุลเงินเดียว และมีรัฐสภายุโรป เช่น สหภาพยุโรป

แต่ทว่าความต่างที่หลากหลายทางสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก ทำให้บางประเทศได้รับผลประโยชน์ไปแล้วจากแนวคิดการรวมตัว AEC แซงหน้าประเทศอื่น ซึ่งจากรายงานล่าสุดของบริษัทกฎหมาย เบเกอร์และแมคเคนซีชี้ว่า สิงคโปร์ยังคงได้รับความไว่วางใจจากธุรกิจข้ามชาติให้เป็นฐานถึง 80 % จากการที่สิงคโปร์เป็นฮับทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ รวมถึงการเป็นตลาดเปิด

นอกจากนี้ยังพบว่า อินโดนีเซีย และพม่าจะเป็นอีก 2 ชาติที่ได้รับประโยชน์ในการเปิด AEC จากการที่ทั้งสองชาติถูกโหวตให้เป็นฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติในอีก 5 ปีข้างหน้า

ซึ่งต่างจากไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ แต่ไทยได้เสียศักยภาพการแข่งขันไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า ราจีฟ บิสวาซ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แผนกเอเชียแปซิฟิกประจำIHS ให้ความเห็น “ความยุ่งเหยิงทางการเมืองล่าสุดในไทยทำให้ประเทศดูมีความเสี่ยงมากขึ้นในสายตานักลงทุนข้ามชาติ และทำให้คนเหล่านี้ลังเลที่จะนำเม็ดเงินกลับเข้ามาลงทุนในไทยอีกครั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม เวียดนามจะเห็นการลงทุนต่างชาติมากขึ้น ในการทำสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศมีความแข็งแกร่งมากขึ้น รวมไปถึงทำให้ค่าแรงของเวียดนามต่ำลงเพื่อที่จะสามารถสู้กับค่าแรงของจีนได้”

เดอะการเดียนวิเคราะห์ว่า การเติบโตของชุมชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหมายถึงศักภาพตลาดภายในภูมิภาคที่มีกำลังซื้อสูงตามไปด้วย และหากค่าแรงของจีนถูกปรับเพิ่มขึ้น จะกลายเป็นโอกาสสำหรับอาเซียน ซึ่งจะทำให้มีการเติบโตของแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมือตามมาเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากร 620 ล้านคนในกลุ่ม AEC เหล่านักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “น่าเป็นห่วง” จากปัญหาการค้าแรงงานทาสที่เป็นปัฯหาสำคัญในภูมิภาคนี้ รวมไปถึงปัญหาแนวคิดก่อการร้าย

ในแถลงการณ์ล่าสุดของกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดAsean People’s Forum หรือ APF ได้แจกแจงปัญหาที่เกิดในภูมิภาคนี้ เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน คอรัปชันและการไร้ประสิทะภาพในการบริหารประเทศ การเข้ายึดครองที่ดินของรัฐ รัฐบาลทหารและเผด็จการ ปัญหาแรงงานทาส ปัญหาการรใช้อำนาจป่าเถื่อนของตำรวจในเครื่องแบบ การขาดธรรมาธิบาลและความรับผิดชอบสังคมของกลุ่มธุรกิจ และที่กลุ่ม APF เป็นกังวลมากขึ้น คือการที่กลุ่มทุนใช้ต้นทุนมนุษย์ของประชาชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น ในบางประเทศสมาชิก AEC อนุญาตให้บริษัทสามารถฟ้องรัฐบาลหากเกิดข้อขัดแย้งกับกฎหมายท้องถิ่นที่ขวางการทำธุรกิจ ซึ่งการรวมตัวจะทำให้สิทธิของชุมชนในพื้นที่ การขยายขอบเขตการปกป้องแรงงาน หรือการป้องกันมลพิษนั้นอาจต้องหมดไปหากมี AEC เกิดขึ้น และจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ประชากรรากหญ้าที่อาศัยในชุมชน และบริษัทข้ามชาติ ระบาดไปทั่วAEC ฟิล โรเบิร์ตสัน ( Phil Robertson ) นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนกล่าว

แต่ทว่าในท้ายที่สุด สื่ออังกฤษสรุปท้ายจากความเห็นของนักธุรกิจชั้นนำของพม่า Thaung Su Nyein ว่า การเกิดของ AEC สมควรที่จะต้องให้ความสนใจมากกว่าหวาดระแวง เนื่องจากจะนำการเติบโตทางเศรษฐกิจและการคมนาคมอย่างยั่งยืนมาสู่ภูมิภาค “ คิดว่าเราต่างควรต้อนรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ฝึกคน

aec-setlnw-thai2

ทั่วโลกเดินเกม “สงครามค่าเงิน”

ทั่วโลกเดินเกม “สงครามค่าเงิน” โจทย์หิน ธปท.ถอดสมการอัตราแลกเปลี่ยน

เปิดศักราชปี 2558 ก็เห็นว่าประเทศเศรษฐกิจหลักทั่วโลก ต่างพาเหรดดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในรูปแบบต่าง ๆ นำโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดนมาร์ก แคนาดา อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ เปรู และล่าสุดสิงคโปร์

และถ้ามองย้อนไปถึงปลายปีที่แล้ว พบว่ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียอย่าง “ญี่ปุ่น” และ “จีน” เป็นชาติแรก ๆ ที่ใช้มาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกดค่าเงินของประเทศตัวเองให้อ่อนลง

บรรดาธนาคารกลางให้เหตุผลการใช้เครื่องมือดังกล่าวว่า เพื่อรับมือปัญหาเงินเฟ้อลดต่ำ จากการร่วงหนักของราคาน้ำมัน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที และอาจมีประสิทธิภาพที่สุดของการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย คือ “อัตราแลกเปลี่ยนลดลง”

“เรากำลังอยู่ในสงครามค่าเงิน ความเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันขณะนี้ คือ วิธีที่ง่ายที่สุดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การปรับลดอัตราแลกเปลี่ยน” นายแกรี่ โคห์น ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของโกลด์แมน แซกส์ กล่าวระหว่างการประชุมเศรษฐกิจโลก ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์

14229377151422937746l

สกุลเงินทั่วโลกแข่งลด “ค่าเงิน”

การลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในหลายประเทศทั่วโลก และแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับจากปี 2549 ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว

นับจากกรกฎาคมปีกลายจนถึงขณะนี้ ค่าเงินสกุลหลักของโลกอ่อนค่าลงแล้วราว 15% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และนักวิเคราะห์ยังคาดว่าค่าเงินดอลลาร์จะเป็นขาขึ้นต่อไปอีกหลายปี โดย “เงินหยวน” ได้อ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีในเดือนพฤศจิกายน 2557 ส่วนค่าเงินริงกิตของมาเลเซียร่วงลง 14% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางการดิ่งลงของราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ

ด้าน “เงินเยน” ของญี่ปุ่นก็อ่อนค่าต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นขยายวงเงินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เป็น 7 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เช่นเดียวกับเงินยูโรที่อ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 11 ปีเทียบกับดอลลาร์ หลังอีซีบีประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร

การแข่งลดค่าเงินกลายเป็นเทรนด์หลักของธนาคารกลางทั่วโลก หวังกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและการจ้างงาน ทั้งยังเพิ่มความสามารถการแข่งขันภาคส่งออกในตลาดโลก

นอกจากนี้ บางประเทศยังเผชิญปัญหาหนี้สาธารณะก้อนโตมาตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2551 จนต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัด ทำให้ขาดแคลนงบประมาณสำหรับกระตุ้นดีมานด์ภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลดค่าเงินจึงกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่

ฤๅจะเป็น “วิกฤตเศรษฐกิจ” รอบใหม่

นายไซมอน เดอร์ริก จากแบงก์ออฟ นิวยอร์ก เมลลอนวิเคราะห์ว่า รายต่อไปที่จะเคลื่อนไหวกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนต่ำลง คือ ตุรกี บราซิล อาจได้เห็นอินเดียหั่นดอกเบี้ยอีกครั้งเร็ว ๆ นี้ หลังเพิ่งลดอัตราดอกเบี้ยเซอร์ไพรส์ตลาดเมื่อ 15 มกราคมที่ผ่านมา

และประเมินว่า ไทยและเกาหลีใต้อาจทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องตัดสินใจลดดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ เพราะกรณีเงินบาทไทยอ่อนตัวในอัตราที่ช้ากว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทำให้เสียเปรียบด้านการส่งออก ประกอบกับดีมานด์ในประเทศซบเซา ขณะที่เกาหลีใต้ ได้รับผลกระทบหนักจากการอ่อนตัวของเงินเยนญี่ปุ่น คู่แข่งสำคัญด้านการส่งออกเพราะขายสินค้ากลุ่มเดียวกัน

มาตรการคิวอีและการลดอัตราดอกเบี้ย ยังทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนมายังประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า โดยสหรัฐเป็นเป้าหมายสำคัญทำให้เริ่มมีความกังวลถึงฟองสบู่ตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ในสหรัฐ

อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ดูจะตอบรับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในแง่บวก เพราะช่วยเพิ่มความคึกคักให้กับตลาดเงินตลาดทุน แต่สงครามค่าเงินรอบนี้จะจบลงยังไงเพราะแต่ละประเทศคงไม่สามารถกดค่าเงินให้ต่ำกว่าคู่แข่งได้ตลอดไป และอาจปะทุเป็นวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ได้

เกม 2 ยักษ์ ศก.เขย่าตลาดเงินโลก

ด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันต่างจาก 5 ปีก่อนอย่างมาก โดยมีเหตุใหญ่มาจากสหรัฐกำลังจะขึ้นดอกเบี้ย ดูดสภาพคล่องกลับ ขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังปล่อยสภาพคล่องออกมา อัดเงินเข้ามาเพิ่มและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ จนเกิดเป็นแรงกดดันที่ต่างกัน ทำให้ประเทศอื่น ๆ ในโลกโดยเฉพาะในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ต้องปรับตัวรับ

“ตอนนี้น้ำที่เคยขึ้นพร้อม ๆ กัน กลับสวนทางกันแล้ว โลกกำลังเตรียมรับมือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 17-18% นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่มาก ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (29 ม.ค.) ค่าเงินยูโรอ่อนลงมาก”

เวลานี้จึงเห็นถึงการปรับตัวของหลาย ๆ ประเทศรับมือแรงกดดันที่ไม่เท่ากันนี้ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ประกาศลอยตัวค่าเงินฟรังก์สวิสเทียบยูโรที่ทำให้เงินฟรังก์แข็งค่าขึ้น 20% สิงคโปร์ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์เทียบดอลลาร์สหรัฐไม่แข็งค่าเร็วเกินไป

“ผมคิดว่าตอนนี้ไม่ใช่การทำสงครามค่าเงิน แต่ที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากสกุลเงินหลักเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คนที่เหลือจึงต้องเอาตัวรอด ไทยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับสถานการณ์นี้ แม้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐจะนิ่ง แต่ถ้าดูที่ค่าบาทเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ที่เป็นคู่ค้าคู่แข่งจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น”

ไทยคงดอกเบี้ย 2% ท่ามกลางความผันผวน

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า การประชุม กนง.เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% เนื่องจากส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินปัจจุบันผ่อนปรนเพียงพอต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการคงอัตรานี้จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน ท่ามกลางภาวะตลาดการเงินที่ผันผวนมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังหารือถึงกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย หลังจากอีซีบีประกาศใช้คิวอีซึ่ง ธปท.ประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้เงินไหลเข้าเอเชียมากนัก แตกต่างจากครั้งที่เฟดประกาศใช้คิวอีและทำให้มีเงินเข้ามาในเอเชียค่อนข้างมาก

“ธปท.จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่ายังไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการดอกเบี้ยในการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายในขณะนี้ เนื่องจากยังมีมาตรการอื่นในการดูแลอีกหลายเครื่องมือ อีกทั้งเมื่อดูการไหลเข้าไหลออกของเงินทุนในปัจจุบัน ก็พบว่าเป็นการเคลื่อนไหวปกติ” นายเมธีกล่าวและว่า

ด้าน นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษก ธปท.กล่าวว่า ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC) เมื่อ 27-28 ม.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ย ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.00-0.25% เป็นไปตามที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น การจ้างงานเข้มแข็งขึ้น และผลของราคาพลังงานที่ปรับลดลงอาจส่งผลให้เงินเฟ้อโน้มต่ำลงต่อไปในระยะสั้น ทำให้ตลาดมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครึ่งหลังของปี ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและเงินภูมิภาค

และนี่คือโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยว่าจะอยู่ในเกม “สงครามค่าเงิน” นี้อย่างไร

พลเอกประยุทธ์ เยือนญี่ปุ่น หารือชวนลงทุนโครงการทวายเฟส2

“ประยุทธ์”เยือนญี่ปุ่น8-10ก.พ. ลงนามเอ็มโอยูศึกษารถไฟทางคู่3เส้นทาง พร้อมหารือชวนลงทุนโครงการทวายเฟส2

news_setlnw-japan

และพบเอกชนญี่ปุ่น ชวนลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้าน”อาคม”ชี้เป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ ยังไม่ปิดโอกาสรายอื่น คาดเสร็จเอื้อการค้าการลงทุน เชื่อมฝั่งตะวันออก-ตก

รัฐบาลไทยเตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู)กับรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาเส้นทางรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง ในการเยือนอย่างเป็นทางการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.นี้ พร้อมกับความมั่นใจในนโยบายด้านการลงทุนกับนักลงทุนญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ลงนามกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาเส้นทางหนองคาย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้

การลงนามกับรัฐบาลจีน สร้างความไม่พอใจให้กับหลายชาติ รวมทั้งญี่ปุ่น ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของไทย แต่การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นของพล.อ.ประยุทธ์ในครั้งนี้ แม้จะระบุว่าเป็นเพียงการลงนามศึกษาความเป็นไปได้ โดยยังเปิดทางให้กับชาติอื่นที่สนใจลงทุน แต่ก็มีความเป็นไปได้มากว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นผู้ได้รับสิทธิก่อน เช่นเดียวกับในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์เยือนจีน ซึ่งมีการลงนามเอ็มโอยู ก่อนจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมศึกษาโครงการในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นถือเป็นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในไทย โดยมีมูลค่าลงทุนโดยตรง(เอฟดีไอ)สะสมมากที่สุด 34.8% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติทั้งหมด และล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นได้ยื่นขอส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)มากที่สุด รวม 709 โครงการ เงินทุนจดทะเบียน 2.45 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่าการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 8 – 10 ก.พ.นี้เป็นไปตามคำเชิญของนายชินโชะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น

ตามกำหนดการ ในวันที่ 9 ก.พ.นายกรัฐมนตรีจะเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิของญี่ปุ่น หลังจากนั้นจะได้มีการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นและคณะ

ประเด็นหารือที่สำคัญ คือ ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในการศึกษาและพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตร ในเส้นทาง ที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจ ได้แก่ 1.เส้นทางจากพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา – อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา-อ.มาบตาพุด จ.ระยอง 2.เส้นทางจาก อ.แม่สอด จ.ตาก – จ.มุกดาหาร และ 3.เส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

“ไทยและญี่ปุ่นจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการศึกษาโครงความเหมาะสม และความคุ้มค่าของการลงทุน โดยเส้นทางที่ไทยจะขอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษาก่อนก็คือมีเส้นทางรถไฟจากฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเป็นการเพิ่มเส้นทางคมนาคมระหว่างท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือน้ำลึกทวายในอนาคต”

แต่มีความเป็นได้ที่ญี่ปุ่นจะสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากได้แสดงความสนใจมาก่อนหน้านั้น

แหล่งข่าวระบุด้วยว่าในการหารือกันระหว่างนายฮิโระโตะ อิซุมิ ปรึกษาพิเศษด้านเศรษฐกิจ ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับ พล.อ.ประยุทธ์ และม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทกวกุล รองนายกรัฐมนตรีได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าไทยกับญี่ปุ่นจะร่วมกันศึกษาและพัฒนาความร่วมมือก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)ในเส้นทางจาก อ.พุน้ำร้อน -กาญจนบุรี – กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา- อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจจากพม่า -ไทย-กัมพูชา

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์และคณะมีกำหนดการที่จะเยี่ยมชมศูนย์บังคับการ (Control Center) รถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น (Shinkansen) ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะจะทดลองนั่งรถไฟชินคันเซ็นจากโตเกียวไปยังนครโอซากาเพื่อศึกษาระบบ เทคโนโลยีและการให้บริการรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นอีกด้วย

ถกรัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนทวายระยะ2

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะขอให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่าซึ่งไทยต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการระยะที่ 2 ซึ่งจะต้องเริ่มมีการวางแผนรองรับการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมระยะกลางและระยะยาวในอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ หลังจากที่ในการประชุมกลุ่มมิตรประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างสมัยพิเศษระดับรัฐมนตรีหรือเทียบเท่าเมื่อปลายปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้แสดงท่าทีในการสนับสนุนโครงการฯทวายให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ โครงการ”ทวาย” ในระยะแรก รัฐบาลไทย-พม่า ได้ตกลงร่วมกัน โดยคาดว่าภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานในระยะแรก จะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้ ในพื้นที่ 27 ตร.กม. กำหนดแล้วเสร็จใน 5 ปี

แหล่งข่าวกล่าวว่านายกรัฐมนตรีจะหารือถึงบทบาทของญี่ปุ่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอนาคต หลังจากที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเพิ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและมีโครงการจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้กว่า 51.5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท

ดึงเอกชนญี่ปุ่นลงพื้นที่ศก.พิเศษ

นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะมีกำหนดพบปะกับภาคเอกชนญี่ปุ่นหลายคณะ คือ การเข้าพบกับผู้แทนระดับสูงของ Japan – Thailand Business Forum ,Thailand Association ,สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) และสมาพันธ์เศรษฐกิจเขตคันไซ (Kankeiren) ซึ่งมีบทบาทในการผลักดันการลงทุนของเอกชนญี่ปุ่นในอาเซียน

นายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ในการหารือกับภาคเอกชนญี่ปุ่นในการลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่รัฐบาลต้องการที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

“อาคม”เผยยังเปิดทางชาติอื่นลงทุน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าการหารือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นเพียงการลงนามความร่วมมือในการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ระบบรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร 3 เส้นทาง โดยจะเป็นเส้นทางที่จะพัฒนาให้มีการเชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 2 เส้น คือ จากพุน้ำร้อน กาญจนบุรี- กรุงเทพฯ- ฉะเชิงเทรา แยกไป อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอีกทางแยกจากฉะเชิงเทราไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง อีกเส้นทางเป็น อ.แม่สอด จ.ตาก-จ.มุกดาหาร รวมถึงเส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

เบื้องต้นการลงนามในครั้งจะเป็นการลงนามเพื่อเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นทำการศึกษาโครงข่ายรายละเอียดทั้งหมดในการดำเนินโครงการรถไฟ 3 เส้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ ความคุ้มค่าของการลงทุน ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาตามมาตรฐานจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

“ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นศึกษาโครงข่ายรถไฟ 3 เส้นทางนั้น หากประเทศใดสนใจจะศึกษาก็ให้เสนอความสนใจเข้ามา แต่ปัจจุบันยังไม่ประเทศใดเสนอความสนใจเข้ามา”

คาดญี่ปุ่นใช้เวลาศึกษา1ปี

สำหรับเงื่อนไขการลงทุนนั้น นายอาคม กล่าวว่ายังไม่มีข้อสรุปการลงทุน เพราะเป็นเพียงแค่การลงนามความร่วมมือศึกษาโครงข่าย แต่ก็คงนำเอาแนวทางการลงทุนที่ได้ร่วมลงนามกับจีนมาเป็นตัวอย่างในการพิจารณาสรุปเงื่อนไขต่างๆ ส่วนงบการศึกษาโครงข่ายต้องรอสรุปภายหลังกลับมาจากญี่ปุ่น

“ทั้งนี้ใน 3 เส้นทางดังกล่าวยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าญี่ปุ่นจะได้สิทธิเข้ามาดำเนินการเพราะเป็นเพียงการลงนามศึกษาโครงข่ายเท่านั้น ต้องรอให้ญี่ปุ่นศึกษาก่อนประมาณ 1 ปี ในระหว่างนี้หากรายใดสนใจจะศึกษาก็ได้แต่เราลงนามกับญี่ปุ่นแล้ว” นายอาคม กล่าว

เผยไทยหวังสร้างเชื่อมั่นนโยบายศก.

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ ยังจะมีการหารือเรื่องการค้าอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นการสร้างความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจของไทย โดยเริ่มจากการขอบคุณที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และขอให้ญี่ปุ่นเชื่อมั่นในนโยบายของรัฐบาลไทยในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ที่ยังคงส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนที่เสรีและเป็นธรรม

ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านการค้าการลงทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น พบว่ามีปัญหาที่เกิดจากเงินบาทแข็งค่าเงินเยนอ่อนค่า โดยเงินเยนอ่อนค่ารวดเร็วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จาก 100 เยนเท่ากับ 36.2 บาท ณ วันที่ 7 ม.ค. 2554 มาเป็น 27.1 บาท ณ วันที่ 5 ม.ค. 2558 หรือเทียบเงินเยนแล้วเงินบาทแพงขั้น 33.42% ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้การส่งออกสินค้าหลายรายการของไทยลดลงมาก

การส่งออกรวมไปญี่ปุ่น ทั้งปี 2557 ลดลง 1.9% มูลค่า 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ในปี 2558 ตั้งเป้าการส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัว 2% มูลค่า 2.29 หมื่นล้านดอลลาร์

“ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนสำคัญของไทยมาโดยตลาด อย่างไรก็ดีภาวะเงินเยนอ่อนตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และการแข็งค่าของเงินบาท ได้ส่งผลให้การส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งไทยหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเร่งใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นในภาพรวม และส่งเสริมการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นมากขึ้น” รายงานข่าวระบุ

ทั้งนี้ สองประเทศได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2550 ส่งผลให้การค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยขาดดุลการค้าญี่ปุ่นมาโดยตลาดจึงขอให้ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ไก่ ยางพารา สินค้าเกษตรแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ด้านการลงทุน ได้ขอบคุณที่ญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นและไม่ย้ายฐานการลงทุน ในการนี้ ขอเชิญชวนให้ญี่ปุ่นมาลงทุนร่วมในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย (ไทย พม่า ญี่ปุ่น) ตลอดจนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยพัฒนาท้องที่ในภูมิภาคต่างๆ ให้มีการกระจายรายได้ทัดเทียมกัน และเป็นการสร้างความได้เปรียบทั้งในด้านต้นทุนการผลิตและการสร้างโอกาสทางการค้าให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลก

ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และความมั่งคั่งในเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลง

เดือนที่แล้วในการประชุม World Economic Forum ที่สวิตเซอร์แลนด์ องค์กรต่อต้านความยากจนของอังกฤษหรือ อ็อกซแฟม (Oxfam) ได้เปิดเผยประมาณการความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลก โดยประเมินว่า ปีหน้า 2016 ประชากรที่ร่ำรวยสุดหนึ่งเปอร์เซ็นต์แรกของโลกจะมีความมั่งคั่งรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของความมั่งคั่งทั้งหมด โดยช่วงห้าปีที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจโลกจะประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรง ความมั่งคั่งของกลุ่มประชากรที่ร่ำรวยที่สุด หนึ่งเปอร์เซ็นต์แรกของโลกก็ไม่ได้ลดลง แต่เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 44 ของความมั่งคั่งของโลกปี 2009 เป็นร้อยละ 48 ปี 2014 ขณะที่อีกแปดสิบเปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกนับจากกลุ่มคนที่จนที่สุดขึ้นมามีสัดส่วนความมั่งคั่งรวมกันเพียงแค่ร้อยละ 5.5 ของความมั่งคั่งของโลก นี่คือปัญหา

ในทางเศรษฐศาสตร์ปัญหาด้านการกระจาย (Distribution) เป็นอีกมิติหนึ่งของปัญหาเศรษฐกิจนอกเหนือจากปัญหาการเจริญเติบโต (Growth) ดังนั้น ข้อมูลที่ออกมาก็ตอกย้ำความสำคัญของปัญหาด้านการกระจายที่มีอยู่ในเศรษฐกิจโลกขณะนี้ คือ หนึ่ง ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และความมั่งคั่งในเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลง สอง ช่วงห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเกิดปัญหารุนแรง ความเหลื่อมล้ำยิ่งมีมากขึ้น โดยวิกฤติเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบมากสุดต่อกลุ่มคนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย สาม ความสนใจที่จะแก้ปัญหาการกระจาย ไม่ค่อยมีการพูดถึง เทียบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ และถ้าปัญหายิ่งรุนแรงมากขึ้น ก็อาจเป็นจุดอ่อนที่จะนำไปสู่การเกิดปัญหาสังคม และปัญหาการเมืองที่รุนแรงตามมาได้ วันนี้จึงอยากแสดงความเห็นเรื่องนี้ เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเองก็ไม่ต่างกับปัญหาในเศรษฐกิจโลก

“นักธุรกิจและนักการเมืองสายอนุรักษนิยม” มักจะไม่ชอบพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เพราะมองความเหลื่อมล้ำว่าเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ที่ต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้ ซึ่งฝ่ายผู้ชนะชนะเพราะเป็นเจ้าของทุนหรือปัจจัยการผลิตที่สามารถสร้างการเติบโตของรายได้ ในอัตราที่สูงกว่าฝ่ายผู้แพ้ ที่มักไม่ใช่เจ้าของทุน แต่ทำงานเป็นลูกจ้างมีรายได้หลัก จากเงินเดือนที่มักเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่ามาก ความแตกต่างในอัตราการเติบโตของรายได้ของสองกลุ่มนี้ ทำให้ความเหลื่อมล้ำมีมากขึ้น

ปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โธมาส ปิเก็ตตี้ (Thomas Piketty) ได้วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ความเหลื่อมที่มีมากขึ้นเป็นผลจากที่ผลตอบแทนจากสินทรัพย์หรือความมั่งคั่งที่ได้จากการลงทุน เติบโตในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งความหมายคือ อัตราเพิ่มของรายได้ของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมาจากค่าจ้างแรงงานแต่ละปี จะเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มคนซึ่งเป็นเจ้าของทุน รายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการลงทุน และผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งก็คือรายได้ จะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าค่าจ้างแรงงานมาก ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่อัตราการเพิ่มของรายได้ของคนสองกลุ่มที่แตกต่างกัน และถ้าความแตกต่างสะสมมากขึ้นๆ ความเหลื่อมล้ำก็ยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเศรษฐกิจไม่มีกลไกด้านนโยบายที่จะลดทอนความแตกต่างดังกล่าว ข้อมูลจากการศึกษาของ Piketty ชี้ว่าความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลกได้เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่หลังช่วงปี 1980’s เป็นต้นมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อะไรเป็นปัจจัยที่ได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้นหลังปี 1980’s ผมคิดว่าคงมีหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญจริงๆ ก็คือ

หนึ่ง ระบบโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ที่ทำให้การค้าขายและการลงทุนไม่มีพรมแดน เงินออมจากประเทศหนึ่งสามารถนำไปลงทุนในอีกประเทศหนึ่งได้อย่างเสรี ขับเคลื่อนโดยนโยบายเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน พัฒนาการนี้นำไปสู่การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศในจำนวนมหาศาล และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น ทั้งในมิติเศรษฐกิจโลก และในมิติของประเทศที่เงินทุนไหลเข้า กล่าวคือ

ในมิติเศรษฐกิจโลก การเปิดเสรีได้นำไปสู่การเติบโตของการลงทุนข้ามพรมแดน ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศสามารถเสาะหาผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศของตนเอง นำไปสู่ความแตกต่างในการเติบโตของรายได้ระหว่างคนที่นำเงินไปลงทุนต่างประเทศ กับคนในประเทศที่ทำงานและรายได้เติบโตใกล้เคียงกับการขยายตัวเศรษฐกิจ รวมถึงเทียบกับคนในประเทศอื่นที่ไม่ได้ประโยชน์จากการลงทุนข้ามพรมแดน นี่คือ กลไกที่อธิบายว่าทำไมโลกาภิวัตน์มีผลให้ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น เพราะให้ประโยชน์กับคนกลุ่มต่างๆ ไม่เท่ากัน

อีกมิติก็คือ ประเทศที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า เช่น ประเทศไทยที่คนท้องถิ่นที่ได้ประโยชน์จากการไหลเข้าของเงินทุน ก็จะจำกัดอยู่เฉพาะกับผู้ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนที่เงินต่างประเทศเข้ามาลงทุน เช่น หุ้นหรือผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการที่ได้ประโยชน์จากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้า ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นรายได้ของคนกลุ่มนี้ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่ารายได้ประชาชาติหรือรายได้ของคนส่วนใหญ่ คนกลุ่มนี้มักเป็นผู้ที่มีฐานะดีอยู่แล้ว ทำให้คนที่มีฐานะยิ่งมั่งคั่งมากขึ้นจากรายได้ที่เติบโตสูงกว่ารายได้ของคนส่วนใหญ่ นำมาสู่ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น กรณีของประเทศไทยก็คล้ายกัน เช่น ปีที่แล้ว เศรษฐกิจโตไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น หุ้นเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15

ปัจจัยที่สอง ที่หนุนให้ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้นก็คือ นโยบายที่อาจเอื้อสร้างการเติบโตให้กับรายได้จากการลงทุนมากกว่ารายได้จากการทำงานโดยไม่ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น มาตรการคิวอี ที่อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินเพื่อฟื้นเศรษฐกิจในจำนวนมหาศาล สภาพคล่องเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของการขยายสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจ แต่ถูกนำไปลงทุนในตลาดการเงินเพื่อหาผลตอบแทน ผลักดันราคาสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น ให้ปรับสูงขึ้น สร้างผลตอบแทนให้กับการลงทุนในอัตราที่สูงมากขึ้นไปอีก เทียบกับเศรษฐกิจ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ มาตรการภาษีก็มักจะเก็บภาษีจากรายได้ที่มาจากการลงทุนในรูปแบบที่ผ่อนปรนกว่าภาษีที่เก็บจากการทำงาน หรือค่าจ้างเงินเดือน ทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของทุน มักจะมีภาระภาษีน้อยกว่าคนทำงานที่มีรายได้จากเงินเดือน ที่ต้องเสียภาษีเต็ม และถ้าระบบภาษีไม่มีกลไกลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ภาษีมรดก ความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ยิ่งมากขึ้น

ปัจจัยที่สาม ที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำมีมากขึ้น ก็คือ คนที่ร่ำรวยที่เป็นเจ้าของทุนสามารถที่ใช้อำนาจเงินที่มีอยู่สร้างการเข้าถึงโอกาสทั้งในการทำธุรกิจ การลงทุน และอำนาจทางการเมือง เพื่อปกป้องหรือขยายโอกาสความมั่งคั่งของตนได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีฐานะ รวมถึงคนที่มั่งคั่งจากการทำผิดกฎหมาย ที่สามารถใช้อำนาจเงินสร้างการเข้าถึงอำนาจการเมือง เพื่อคุ้มครองตนเอง เช่น เสียภาษีไม่ถูกต้องมาตลอด หากินกับการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างการผูกขาดทางธุรกิจโดยอาศัยนโยบายรัฐ วิ่งเต้นสัมปทานต่างๆ โดยไม่มีการแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ความมั่งคั่งยืนอยู่ได้ หรือต่อยอดไปสู่ความมั่งคั่งที่มากขึ้นสำหรับคนบางกลุ่ม ทำให้ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจยิ่งมากขึ้น

พลวัตของสามปัจจัยนี้ คือ กลไกส่วนหนึ่งที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้น และถ้าแนวโน้มมีต่อไป ไม่มีการแก้ไข ประวัติศาสตร์ก็ชี้ชัดเจนว่า ในที่สุดความรุนแรงของปัญหาก็จะเป็นปัจจัยที่จะสะดุดการเติบโตของระบบทุนนิยม อย่างที่เคยเกิดขึ้น ผ่านการเกิดสงคราม เช่น กรณีสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หรือเกิดปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศรุนแรง เช่น กรณีของเหตุการณ์อาหรับสปริงในตะวันออกกลาง แต่ที่น่าห่วงก็คือกลุ่มคนที่มีฐานะตระหนักในความเสี่ยงเหล่านี้เป็นอย่างดี ไม่อยากให้เกิดการสะดุดขึ้น อยากร่วมแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะการแก้ไขต้องแก้ที่ระบบ ต้องแก้ทั้งสามปัจจัยที่ได้พูดถึง ซึ่งคนรวยคนเดียวหรือสองคนทำไม่ได้ ต้องร่วมกันเป็นกลุ่มแบบ Collective Action ที่ต้องแก้การทำงานของระบบทุนนิยมให้เป็นระบบที่แชร์ประโยชน์กับคนหมู่มากมากขึ้น (Inclusive) ซึ่งดูเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น

สิงคโปร์-จีนรับมือ เสี่ยงสงครามค่าเงิน

เป็นที่รู้กันว่า ภายใต้สถานการณ์ที่สงครามค่าเงิน ที่กำลังเข้มข้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำนโยบาย QE

(Quantitative Easing) ของ 4 ธนาคารกลางหลักของโลก โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB (EuropeanCentral Bank) ประกาศอัดฉีดเงินเดือนละ 60,000 ล้านยูโร หรือ 70,000 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในกลุ่มประเทศยูโรโซน ที่ประสบทั้งปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ และปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เป็นผลมาจากภาวะเงินฝืด รวมถึงการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินภาคธุรกิจที่มีขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี และลูกหนี้ของระบบธนาคาร เป็นเวลาต่อเนื่องกันนานถึง 19 เดือนนับตั้งแต่เดือนมี.ค.-ก.ย. 2559 ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางอังกฤษ แม้ได้หยุดทำ QE ใหม่ๆ แต่ยังพบว่า QE ก่อนหน้านี้ยังคงตกค้างอยู่ในระบบการเงินโลกรวมกันเกือบ 10 ล้านล้านดอลลาร์

กรณีวิกฤติในยุโรปนับเป็นเม็ดเงินก้อนมหึมาที่ ECB ต้องใช้ในการดำเนินการ QE รอบนี้ถึง 1.14 ล้านล้านยูโร หรือราว 1.4ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ต่อปี ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJ (Bank of Japan) ที่กำลังทำ QE ในวงเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนด 2 ปี ตามเป้าหมายในเดือนก.พ.นี้ พร้อมกับการประกาศอัดฉีดเงินเพิ่มในปริมาณเงินอีกเดือนละ 20 ล้านล้านเยน โดยที่ BOJ ได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นทั้ง 100% หวังให้รัฐบาลนำไปใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันหลุดจากภาวะเงินฝืด พร้อมตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% เช่นกัน รวมถึงการแจกจ่ายคูปองแลกเป็นเงินช่วยเหลือให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีญี่ปุ่นไปขยายการค้าและการลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการกอบกู้เศรษฐกิจญี่ปุ่นอีกด้านหนึ่ง

สงครามค่าเงินที่เกิดขึ้นนี้ ด้านหนึ่งเกิดมาจากวิกฤติรูเบิลที่ร่วงลงหนักถึง 60% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เพราะมาตรการแซงก์ชันของสหรัฐและนาโต้ที่มีต่อรัสเซีย ประกอบกับการตกต่ำของราคาน้ำมันที่ดิ่งลงกว่า 50% กับอีกด้านหนึ่งเกิดวิกฤติแข็งค่าของเงินฟรังก์สวิสทันที 30% หลังจากที่ ECB ประกาศทำ QE เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินยูโรดิ่งลงอย่างหนักจากเงินยูโรที่เคยเทียบเท่า 1.38 ดอลลาร์เมื่อเดือนพ.ค.2557 มาอยู่ที่ 1.11-1.13ดอลลาร์ เป็นการปรับตัวลดลง 18% เช่นเดียวกับเงินเยนที่อ่อนค่าลง 15% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 118-120 เยน ดังนั้นสงครามค่าเงินขณะนี้จึงมาจากการที่ ECB และ BOJ ทำการลดค่าเงินของตัวเองจนทำให้เงินสกุลอื่นแข็งค่าโดยปริยาย ซึ่งหากประเทศใดต้องการให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนลงต้องทำ QE ปั๊มเงินออกมาแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนในทำนองเดียวกัน

เช่นเดียวกับที่ธนาคารกลางสวิสกำลังดำเนินการขณะนี้ รวมทั้งล่าสุดธนาคารกลางสิงคโปร์ก็ร่วมโดดลงในสนามสงครามค่าเงินด้วยการทำ QE เพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อลดค่าเงินลงมาที่ 1.35 ต่อดอลลาร์ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. หวั่นเงินฝืดเข้าครอบงำเศรษฐกิจหลังแนวโน้มเงินเฟ้ออยู่ในระดับเพียงแค่ 0.5% ขณะเดียวกันกับธนาคารกลางจีนเลิกผูกเงินหยวนกับดอลลาร์ ที่เรียกว่าการทำ depeg กับเงินสกุลอื่น เพื่อให้หยวนมีความยืดหยุ่นโดยอาจทำ depeg กับตะกร้าเงิน หรือ depeg กับสกุลเงินอ่อนค่าอยู่แล้วเช่นเงินเยน ก็เพื่อให้เงินหยวนอ่อนค่าลงโดยเคลื่อนไหวที่ระดับ 6.25 ต่อดอลลาร์ และสามารถรักษาขีดแข่งขันการส่งออกไว้ได้ สำหรับบ้านเราก็เช่นกัน เงินบาทอาจจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยเทียบดอลลาร์ที่ 32.70 แต่เงินบาทกลับแข็งค่า เมื่อเทียบเงินยูโรที่ 36.60 บาท เทียบเงินเยนที่ 27.50 บาท หรือเทียบเงินปอนด์ที่ 43 บาท อาจส่งผลกระทบต่อส่งออก ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามสงครามค่าเงินที่เสี่ยงจ่อเข้ามาใกล้ตัวเราไม่ได้แล้ว