สมัยนิยม 2015 หุ้นไทย

      ในสมัยราชวงศ์ถังการรัดเท้าให้เล็กเป็นที่นิยมในหมู่สาวชาววัง ในยุโรปสมัยบารอค Baroque)สาวหุ้นอวบๆท้วมๆเป็นที่นิยมเพราะเชื่อว่าร่างกายที่สมบูรณ์จะสามารถคลอดลูกได้ง่าย และมี น้ำนมเพียงพอที่จะเลี้ยงดูลูกๆของเธอ ในประวัติศาสตร์การลงทุนนั้น สิ่งที่ได้รับความนิยม ในแต่ละยุคสมัยก็ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะสังคม, การเมือง เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อมต่างๆ  ในบทความนี้เราจะมาดูความนิยมในการลงทุนหุ้นในอดีต และ มองออกไปในปี 2015 ที่กำลัง จะมาถึงนี้ว่ากระแสนิยมกันหันเหไปในทิศทางใด

  ในปี 2000 หลังจากที่ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 5,132 จุดในเดือนมีนาคม ซึ่งในขณะนั้น PE เฉลี่ยประมาณ 175 เท่า ก็ได้กลับเป็นขาลงทำให้ฟองสบู่ที่เริ่มฟอร์มตัว มาร่วม สิบปีได้แตกสลาย การถล่มลงของหุ้นเทคโนโลยีในช่วงปี 2000-2002 ทำให้ความมั่งคั่ง ของนักลงทุนหายไปกับสายลมราวๆ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงที่นักลงทุนเข็ดขยาดกับการ “ซื้ออนาคต” หากเราดูข้อมูลทางสถิติของ Fidelity Investment จะเห็นว่าในช่วงปี 2000-2002 หุ้นที่เรียกว่า “โตช้า ไม่หวือหวา ปันผลดี PE ต่ำ” กลับมาได้รับความนิยมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หุ้นประเภท “กำไรน้อยแต่เติบโตดี ปันผลน้อยหรือไม่มี และ  PE สูง” (หุ้นเติบโต)

  แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึงปี 2007 ซึ่งเป็นปีก่อน Hamburger Crisis ความกลัวของนักลงทุนที่ บาดเจ็บจากวิกฤต dot-comได้เริ่มเลือนลางไป หุ้นที่นิยมเรียกกันว่า “หุ้นเติบโต” ก็กลับมาเป็น ที่นิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมอีกทีหลังวิกฤตเกิดขึ้นในปี 2008

  ในปี 2014 ในตลาดหุ้นไทย หุ้นในตลาด MAI ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดเล็กได้รับความนิยมอย่างสูง ตอนที่ผมเขียนบทความนี้ MAI มี PE 71 เท่า PBV 5.70 และ ปันผลเฉลี่ย 0.86% ในขณะที่ หุ้นในSET มี PE 17.58 PBV 2.1 และ ปันผลเฉลี่ย 2.98% แต่หลังจากเกิด การเทกระจาด ในตลาดหุ้นไทยลบร้อยกว่าจุด, วิกฤตทางเศรษฐกิจของรัสเซีย และ การถดถอย ของราคาของ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ผมเริ่มเห็นแนวโน้มการหันมาลงทุนในหุ้นที่เรียกว่า “โตช้า ไม่หวือหวา ปันผลดี PE ต่ำ” ในตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง หุ้นที่เชื่อว่าเป็น “หุ้นเติบโต” ของไทยหลายตัว เหมือนว่าจะถูกตลาดลด PE ลงหลังจากความเสี่ยงของสภาวะแวดล้อมเริ่มเพิ่มขึ้น

  แล้วอะไรละจะเป็นที่นิยมในปี 2015? เมื่อเร็วๆนี้ธนาคารกลางของสวิสเซอร์แลนด์ได้ประกาศให้ ดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือนอยู่ที่ -0.75% ลดลงจากเดิมที่อยู่ที่ -0.5% เพื่อไล่เงินออก แต่รัสเซีย กลับต้องประกาศ เพิ่มดอกเบี้ยจาก 10% เป็น 17% เพื่อให้คนนำเงินมาฝาก ตอนนี้ดอกเบี้ย พันธบัตร 10 ปีของเยอรมันอยู่แค่ 0.58% ของญี่ปุ่นอยู่แค่ 0.35% แต่ทำไมยังมีคนซื้อ? ทั้งนี้ผมเชื่อว่าคนที่มีความมั่งคั่งสูงในโลก เน้นที่จะรักษามูลค่าของสินทรัพย์ มากกว่าที่จะเน้น สร้างกำไร ในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงในเศรษฐกิจโลกเช่นทุกวันนี้

  สำหรับหุ้นไทยในปี 2015 โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า หุ้นที่มีความมั่นคงสูง มีสภาพคล่องซื้อขาย พอสมควร และให้เงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ น่าจะเป็นที่นิยมในช่วงครึ่งปีแรกของปี ทั้งนี้เพราะดอกเบี้ยของไทยยังคงน่าจะอยู่ในระดับต่ำ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจยังไม่เห็น ชัดเจนนัก และเงินจากการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เข้ามาในระบบจริงจัง ส่วนในครึ่งปีหลัง หากทุกอย่างมีความชัดเจนมากขึ้น หุ้นพวก “กำไรน้อยแต่เติบโตดี ปันผลน้อย หรือไม่มี และ  PE สูง” อาจกลับมาได้รับความนิยมกันอีกรอบก็เป็นได้

  แต่ไม่ว่าสมัยไหนจะนิยมอะไร นักลงทุนที่เป็นนักลงทุนระยาวควรเลือกเฉพาะกิจการที่มี “ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน” Durable Competitive Advantage) เท่านั้น ทั้งนี้เพราะ สิ่งที่จะสามารถทำให้บริษัทมีชีวืตรอดผ่านวิกฤตทั้งหลายได้ คือ DCA เวลาบริษัท จะล้มละลาย PE เท่าไหร่ก็ล้มได้PBV เท่าไหร่ก็ล้มได้ ดูอย่างสถาบันการเงิน ยักษ์ใหญ่บางแห่งในอเมริกา ที่ต้องเข้าแผนฟื้นฟูในปี2008 ตอนปลายปี 2007 มี PE แค่ 8 เท่าเอง ก็ขอฝากไว้ให้นักลงทุน ทุกท่านได้พิจารณาไม่ว่าจะลงทุนในสมัยใด

สมัยนิยม 2015 หุ้นไทย

      ในสมัยราชวงศ์ถังการรัดเท้าให้เล็กเป็นที่นิยมในหมู่สาวชาววัง ในยุโรปสมัยบารอค Baroque)สาวหุ้นอวบๆท้วมๆเป็นที่นิยมเพราะเชื่อว่าร่างกายที่สมบูรณ์จะสามารถคลอดลูกได้ง่าย และมี น้ำนมเพียงพอที่จะเลี้ยงดูลูกๆของเธอ ในประวัติศาสตร์การลงทุนนั้น สิ่งที่ได้รับความนิยม ในแต่ละยุคสมัยก็ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะสังคม, การเมือง เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อมต่างๆ  ในบทความนี้เราจะมาดูความนิยมในการลงทุนหุ้นในอดีต และ มองออกไปในปี 2015 ที่กำลัง จะมาถึงนี้ว่ากระแสนิยมกันหันเหไปในทิศทางใด

  ในปี 2000 หลังจากที่ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 5,132 จุดในเดือนมีนาคม ซึ่งในขณะนั้น PE เฉลี่ยประมาณ 175 เท่า ก็ได้กลับเป็นขาลงทำให้ฟองสบู่ที่เริ่มฟอร์มตัว มาร่วม สิบปีได้แตกสลาย การถล่มลงของหุ้นเทคโนโลยีในช่วงปี 2000-2002 ทำให้ความมั่งคั่ง ของนักลงทุนหายไปกับสายลมราวๆ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงที่นักลงทุนเข็ดขยาดกับการ “ซื้ออนาคต” หากเราดูข้อมูลทางสถิติของ Fidelity Investment จะเห็นว่าในช่วงปี 2000-2002 หุ้นที่เรียกว่า “โตช้า ไม่หวือหวา ปันผลดี PE ต่ำ” กลับมาได้รับความนิยมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หุ้นประเภท “กำไรน้อยแต่เติบโตดี ปันผลน้อยหรือไม่มี และ  PE สูง” (หุ้นเติบโต)

  แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึงปี 2007 ซึ่งเป็นปีก่อน Hamburger Crisis ความกลัวของนักลงทุนที่ บาดเจ็บจากวิกฤต dot-comได้เริ่มเลือนลางไป หุ้นที่นิยมเรียกกันว่า “หุ้นเติบโต” ก็กลับมาเป็น ที่นิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมอีกทีหลังวิกฤตเกิดขึ้นในปี 2008

  ในปี 2014 ในตลาดหุ้นไทย หุ้นในตลาด MAI ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดเล็กได้รับความนิยมอย่างสูง ตอนที่ผมเขียนบทความนี้ MAI มี PE 71 เท่า PBV 5.70 และ ปันผลเฉลี่ย 0.86% ในขณะที่ หุ้นในSET มี PE 17.58 PBV 2.1 และ ปันผลเฉลี่ย 2.98% แต่หลังจากเกิด การเทกระจาด ในตลาดหุ้นไทยลบร้อยกว่าจุด, วิกฤตทางเศรษฐกิจของรัสเซีย และ การถดถอย ของราคาของ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ผมเริ่มเห็นแนวโน้มการหันมาลงทุนในหุ้นที่เรียกว่า “โตช้า ไม่หวือหวา ปันผลดี PE ต่ำ” ในตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง หุ้นที่เชื่อว่าเป็น “หุ้นเติบโต” ของไทยหลายตัว เหมือนว่าจะถูกตลาดลด PE ลงหลังจากความเสี่ยงของสภาวะแวดล้อมเริ่มเพิ่มขึ้น

  แล้วอะไรละจะเป็นที่นิยมในปี 2015? เมื่อเร็วๆนี้ธนาคารกลางของสวิสเซอร์แลนด์ได้ประกาศให้ ดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือนอยู่ที่ -0.75% ลดลงจากเดิมที่อยู่ที่ -0.5% เพื่อไล่เงินออก แต่รัสเซีย กลับต้องประกาศ เพิ่มดอกเบี้ยจาก 10% เป็น 17% เพื่อให้คนนำเงินมาฝาก ตอนนี้ดอกเบี้ย พันธบัตร 10 ปีของเยอรมันอยู่แค่ 0.58% ของญี่ปุ่นอยู่แค่ 0.35% แต่ทำไมยังมีคนซื้อ? ทั้งนี้ผมเชื่อว่าคนที่มีความมั่งคั่งสูงในโลก เน้นที่จะรักษามูลค่าของสินทรัพย์ มากกว่าที่จะเน้น สร้างกำไร ในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงในเศรษฐกิจโลกเช่นทุกวันนี้

  สำหรับหุ้นไทยในปี 2015 โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า หุ้นที่มีความมั่นคงสูง มีสภาพคล่องซื้อขาย พอสมควร และให้เงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ น่าจะเป็นที่นิยมในช่วงครึ่งปีแรกของปี ทั้งนี้เพราะดอกเบี้ยของไทยยังคงน่าจะอยู่ในระดับต่ำ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจยังไม่เห็น ชัดเจนนัก และเงินจากการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เข้ามาในระบบจริงจัง ส่วนในครึ่งปีหลัง หากทุกอย่างมีความชัดเจนมากขึ้น หุ้นพวก “กำไรน้อยแต่เติบโตดี ปันผลน้อย หรือไม่มี และ  PE สูง” อาจกลับมาได้รับความนิยมกันอีกรอบก็เป็นได้

  แต่ไม่ว่าสมัยไหนจะนิยมอะไร นักลงทุนที่เป็นนักลงทุนระยาวควรเลือกเฉพาะกิจการที่มี “ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน” Durable Competitive Advantage) เท่านั้น ทั้งนี้เพราะ สิ่งที่จะสามารถทำให้บริษัทมีชีวืตรอดผ่านวิกฤตทั้งหลายได้ คือ DCA เวลาบริษัท จะล้มละลาย PE เท่าไหร่ก็ล้มได้PBV เท่าไหร่ก็ล้มได้ ดูอย่างสถาบันการเงิน ยักษ์ใหญ่บางแห่งในอเมริกา ที่ต้องเข้าแผนฟื้นฟูในปี2008 ตอนปลายปี 2007 มี PE แค่ 8 เท่าเอง ก็ขอฝากไว้ให้นักลงทุน ทุกท่านได้พิจารณาไม่ว่าจะลงทุนในสมัยใด

ชู 12 หุ้นเด่น ต้อนรับปี 2558


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้านี้ ณ เวลา 9.24 น. ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.86/88 บาทต่อเหรียญ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้

นักวิเคราะห์มองดัชนีหุ้นไทยผันผวนในวันนี้ โดยแกว่งตัวจากแรงขายของบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการปรับพอร์ตของกองทุนไทย อีกทั้งนักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนในช่วงปลายปี ซึ่งจะเข้าช่วงวันหยุดยาวของทั้งนักลงทุนต่างชาติและในประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเบาบางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้มองว่าตลาดมีโอกาสปรับลดลงไปปิด Gap ที่ 1,487 จุด แนวรับ 1506-1552 จุด
หุ้นเด่นเลือก BMCL-IFEC-ECF-ADVANC-IFEC-STPI-RS-BEAUTY-LPN-PTT-VGI-BJCHI


บล.เคจีไอ ประเทศไทย ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค.) ว่ามอง SET วันศุกร์เปิดรีบาวด์ได้บ้าง ก่อนแกว่งตัว
ขณะที่วานนี้ผิดคาด ซึ่งหุ้นลงแรงตามแรงขายจากฝั่งพอร์ต บล. ผสมกับการปรับพอร์ตของกองทุนไทยในช่วงวอลุ่มตลาดบาง (อาจเกิดจากการเพิ่มระดับการถือเงินสดเตรียมรับการไถ่ถอนกองทุน LTF ต้นปี 58) ทั้งนี้มองแรงขายดังกล่าวจะชะลอในวันนี้และ SET น่าจะเทรดไซด์เวย์
ส่วนฝั่งต่างประเทศเงียบ ตลาดหุ้นหลักๆ ปิดทำการในเทศกาลคริสต์มาส และต่างชาติน่าจะชะลอการซื้อขายจนถึงสิ้นปี 57 ก่อนมาประเมินใหม่ในต้นปี 58 ทั้งนี้ KGI มองว่า SET ในช่วงสามวันทำการที่เหลือของปี 57 ยังมีโอกาสขยับขึ้นได้ จึงแนะนำถือหุ้นหรือซื้อเก็งกำไร
หุ้นเด่นวันนี้ ตามปัจจัยพื้นฐาน เก็งกำไร ECF ,ADVANC*/ซื้อ IFEC
บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค.) มุมมองทางเทคนิค – SET ลดลงเมื่อวานนี้อีกโดยปรับลงถึงระดับเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน แต่ยังไม่ได้พบสัญญาณลบใดๆโดย macd ยังสูงกว่า signal line และ candlestick เป็นลักษณะรูปร่างเหมือนการกลับตัวขึ้นแต่คาดว่าตลาดจะแกว่งตัวเป็นแนวโน้ม sideway ในกรอบระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 10 และ 25 วันในช่วงเวลานี้
แนวโน้มของตลาดจะเคลื่อนไหวที่กรอบแนวรับ 1506-1552
หุ้นที่เลือกวันนี้มีโอกาสปรับขึ้น แนะนำซื้อเก็งกำไรที่กรอบแนวรับ-แนวต้าน BMCL/IFEC
บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค.) กลยุทธ์การลงทุน มูลค่าการซื้อขายเบาบาง ขณะที่แรงขายจากกลุ่มพอร์ตโบรกเกอร์ยังมีอยู่ ส่วนแรงซื้อจาก LTF ยังคงมีอยู่ แต่น่าจะลดลงตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งต้องเตรียมรองรับการขายคืนหน่วยฯ ช่วงต้นปี 2558 แนะนำหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง เน้นกลุ่มที่จ่ายปันผลปีละ 1 ครั้ง และจ่ายต่อเนื่องทุกปี เลือก STPI (FV@B 30.30) เป็น Top Pick
บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค.) ว่า SET มีโอกาสปรับลดลงไปปิด Gap ที่ 1,487 จุด แรงขายทำกำไรหุ้นขนาดใหญ่ทุกกลุ่ม นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับลดลงแรงตามราคาน้ำมันกดดัน SET ปรับลดลง -1.32% ที่ 1,504.89 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.3 หมื่นล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิ 322 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ SET ปรับลดลงต่ำกว่าแนวรับ 1,510 จุด เมื่อวานนี้ แต่ด้วยปริมาณการซื้อขายที่ลดลง ทำให้อาจมีจังหวะปรับลดลงไปปิด Gap ที่ 1,487 จุด ก่อนที่จะปรับขึ้นต่ออีกครั้งในระยะสัปดาห์ ขณะที่ถ้าพิจารณาในทางพื้นฐานยังคงมุมมองเชิงบวกต่อไป จากแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว ผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนเร่งตัวขึ้น +19-20% ในปี 58 และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนข้างหน้า
แนะนำ “ทยอยสะสม” RS ที่บริเวณแนวรับ 15.4-16.0 บาท แนะนำ “ทยอยสะสม” RS โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาหุ้นปรับลดลงมาที่แนวรับ 15.4-16 บาท ทั้งนี้มองการปรับลดลงของราคาหุ้น RS เป็น Profit Taking หลังปรับสูงขึ้นแรงก่อนหน้านี้ ขณะที่พื้นฐานที่เปลี่ยนไปหลังเข้าสู่ระบบ Digital TV ทำให้ RS สามารถขึ้นค่าโฆษณาได้มากขึ้น และเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก คาดการณ์กำไร 100% ต่อปีในปี 58-59 ด้วยเป้าหมายพื้นฐาน 25 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (26 ธ.ค.) มุมมองต่อตลาดคงมุมมองต่อการลงทุนเป็น “กลาง” เป็นวันที่ 8 พร้อมกับความเปราะบางของ SET INDEX ที่มากขึ้นเป็นลำดับ เพราะเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของทั้งนักลงทุนต่างชาติและในประเทศทำให้มูลค่าการซื้อขายเบาบางมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามแนวรับสำคัญ 1,490-1,500 จุด ในวันนี้เชื่อว่าจะทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง แรงขายจากสถาบันภายในประเทศ และพอร์ตโบรกเกอร์อาจต่อเนื่อง แต่น่าจะเป็นการทยอยลดน้ำหนักมากกว่าการเร่งขาย เนื่องจากสภาพคล่องไม่เอื้อ พร้อมรักษาระดับปิด เพื่อทำ Window Dressing
ที่น่าสนใจคือ นักลงทุนต่างชาติวานนี้ กลับมาลงทุนทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ไทย แม้ว่าจะซื้อสุทธิไม่หนาแน่น เพราะเป็นวันหยุดของนักลงทุนต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ หากนักลงทุนกลุ่มนี้สะสมหุ้นไทยต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ย่อมสะท้อนมุมมองเป็นกลางถึงบวกต่อภาวะการลงทุนไทยในช่วงต้นปีหน้าได้เช่นกัน
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ “นักลงทุนที่เก็งกำไรรอบสั้น อาจพิจารณาขายทำกำไรบริเวณ 1,510-1,520 จุด และกลับมาถือเงินสด หรือพักเงินไว้กับหุ้นปันผลเด่นสำหรับงวดปี 57 หรือ ครึ่งปีหลังของปี 57 เพราะในช่วงที่เหลือของปีนี้ SET INDEX มีแนวโน้มเปราะบางจากมูลค่าการซื้อขายเบาบาง

10 หุ้นเด่น-การเติบโตสูง ต้อนรับปี 58

อีกเพียง 1 สัปดาห์จะล่วงเข้าสู่ปีใหม่ 2558 แล้ว ภาวะตลาดหุ้นไทยสัปดาห์สุดท้ายของปียังมีให้ลุ้นว่าจะยืนนิ่งปิดตลาดในแดนบวกถึงวันสิ้นปีหรือไม่


หลังจาก 16 วันที่ผ่านมา (1-16 ธ.ค. 2557) ดัชนีตกฮวบไปถึง 132.08 จุด หรือคิดเป็น 8.29% ในภาวะฝุ่นตลบ มีหุ้นหลายตัวราคาหลุดปัจจัยพื้นฐาน เพราะนักลงทุนตื่นกลัว แต่ถ้าใจนิ่งๆ จะมองเห็น “ของดี” ที่แฝงตัวอยู่

10 หุ้นเด่น ราคาถูก-ฟรีโฟลต์สูง


ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า ยังมีหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (PER) ต่ำกว่า 17.55 เท่า ซึ่งเป็น PER ของตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายตัว และเมื่อร่อนตะแกรงคัดหุ้นที่ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ (P/E) ต่ำ อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV RATIO) น้อย อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูง อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS Growth) ดี แถมยังมีการกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่า 30%


ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส พบว่า มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวถึง 30 แห่งโดย 10 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA), บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) (AP), บมจ.ศุภาลัย (SPALI), บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC), ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL), บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP), บมจ.ศรีราชาคอนสตรัคชั่น (SRICHA), บมจ.ปตท. (PTT) และ บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) แล้วในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (19 พ.ย.-19 ธ.ค) มีราคาปรับตัวลดลง -6.37%, -5.30%, -1.78%, -5.38%, -1.28%, -3.00%, -19.59%, -7.52%, -14.51% และ -7.10% ตามลำดับ


วางกลยุทธ์ช้อนหุ้น 3 กลุ่ม


“ประกิต สิริวัฒน์เกตุ” ผู้จัดการกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส แนะนำว่า การลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้าให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นเป็น 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด จากเดิมให้ไว้ที่ 30% โดยแนะเลือกหุ้นตามกลยุทธ์รายตัวใน 3 กลุ่มหลัก ดังนี้


กลุ่มแรก เป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง โดยกลุ่มที่ได้อานิสงส์ชัดเจน ได้แก่ กลุ่มขนส่งทางอากาศ และขนส่งทางเรือ อาทิ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV), บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL) และ บมจ.ทิปโก้ แอสฟัลท์ (TASCO)


กลุ่มสอง หุ้นที่มีสถิติให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงเดือน ม.ค. ซึ่งตามข้อมูลสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่ามีหุ้นหลายตัวที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกด้วยความน่าจะเป็นเกิน 70% อาทิ บมจ.เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI), บมจ.จีเอฟพีที (GFPT), ธนาคารกรุงไทย (KTB), บมจ.ซีฟโก้ (SEAFCO) ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.63%, 5.31%, 3.18% และ 2.81% ตามลำดับ


กลุ่มสาม หุ้นปันผลเด่น โดยเกณฑ์ในการคัดเลือกจะให้น้ำหนักกับหุ้นที่มีDividend Yield สูงกว่า 4% ในงวดปี 2558 และมีราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม (Fair Value)


จุดต่ำสุดปีนี้ผ่านไปแล้ว



(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ด้าน “ยศพณ แสงนิล” รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน(ประเทศไทย) ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยในเวลานี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และดัชนีไม่น่าจะลดลงรุนแรง หรือต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด อีกแล้วจนกว่าจะสิ้นปี หลังจากปัจจัยลบต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง


“ปัจจุบัน P/E ของตลาดหุ้นไทยเทียบกับอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2558 อยู่ที่ 14 เท่า ดังนั้นหุ้นไทยตอนนี้จึงไม่แพงเลย และมีโอกาสช่วงที่เหลือของปีนี้จะเห็นดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับ 1,550 จุด”


ตลท.ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนราว 12.6% โดยกลุ่มหุ้นที่มีผลตอบแทนเด่นที่สุด 5 อันดับในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การแพทย์ ขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ หลักทรัพย์ และธนาคาร มีผลตอบแทนสูงสุดถึง 49.7%, 35.6%, 32.9%, 29.8% และ 27.2% ตามลำดับ


ส่วนกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ได้แก่ ปิโตรเคมีลดลง -26.7% และพลังงาน -8%


แม้ตอนนี้ภาวะตลาดหุ้นจะกลับมาดีขึ้น แต่นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และจัดพอร์ตให้เหมาะสม โดยนักลงทุนระยะยาวจะต้องศึกษาพื้นฐานหุ้นให้ดี ส่วนระยะสั้นต้องระวังแรงเก็งกำไรที่อาจทำให้ “เจ็บตัว” โดยไม่ทันตั้งตัวด้วย


ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค เทคนิคหุ้น VI


10 หุ้นเด่น-การเติบโตสูง ต้อนรับปี 58

อีกเพียง 1 สัปดาห์จะล่วงเข้าสู่ปีใหม่ 2558 แล้ว ภาวะตลาดหุ้นไทยสัปดาห์สุดท้ายของปียังมีให้ลุ้นว่าจะยืนนิ่งปิดตลาดในแดนบวกถึงวันสิ้นปีหรือไม่


หลังจาก 16 วันที่ผ่านมา (1-16 ธ.ค. 2557) ดัชนีตกฮวบไปถึง 132.08 จุด หรือคิดเป็น 8.29% ในภาวะฝุ่นตลบ มีหุ้นหลายตัวราคาหลุดปัจจัยพื้นฐาน เพราะนักลงทุนตื่นกลัว แต่ถ้าใจนิ่งๆ จะมองเห็น “ของดี” ที่แฝงตัวอยู่

10 หุ้นเด่น ราคาถูก-ฟรีโฟลต์สูง


ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า ยังมีหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (PER) ต่ำกว่า 17.55 เท่า ซึ่งเป็น PER ของตลาดหุ้นไทยปีนี้ หลายตัว และเมื่อร่อนตะแกรงคัดหุ้นที่ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ (P/E) ต่ำ อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV RATIO) น้อย อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูง อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS Growth) ดี แถมยังมีการกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่า 30%


ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส พบว่า มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวถึง 30 แห่งโดย 10 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA), บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) (AP), บมจ.ศุภาลัย (SPALI), บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC), ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารกรุงเทพ (BBL), บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP), บมจ.ศรีราชาคอนสตรัคชั่น (SRICHA), บมจ.ปตท. (PTT) และ บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) แล้วในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (19 พ.ย.-19 ธ.ค) มีราคาปรับตัวลดลง -6.37%, -5.30%, -1.78%, -5.38%, -1.28%, -3.00%, -19.59%, -7.52%, -14.51% และ -7.10% ตามลำดับ


วางกลยุทธ์ช้อนหุ้น 3 กลุ่ม


“ประกิต สิริวัฒน์เกตุ” ผู้จัดการกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส แนะนำว่า การลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้าให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นเป็น 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด จากเดิมให้ไว้ที่ 30% โดยแนะเลือกหุ้นตามกลยุทธ์รายตัวใน 3 กลุ่มหลัก ดังนี้


กลุ่มแรก เป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง โดยกลุ่มที่ได้อานิสงส์ชัดเจน ได้แก่ กลุ่มขนส่งทางอากาศ และขนส่งทางเรือ อาทิ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV), บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL) และ บมจ.ทิปโก้ แอสฟัลท์ (TASCO)


กลุ่มสอง หุ้นที่มีสถิติให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงเดือน ม.ค. ซึ่งตามข้อมูลสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่ามีหุ้นหลายตัวที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกด้วยความน่าจะเป็นเกิน 70% อาทิ บมจ.เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI), บมจ.จีเอฟพีที (GFPT), ธนาคารกรุงไทย (KTB), บมจ.ซีฟโก้ (SEAFCO) ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.63%, 5.31%, 3.18% และ 2.81% ตามลำดับ


กลุ่มสาม หุ้นปันผลเด่น โดยเกณฑ์ในการคัดเลือกจะให้น้ำหนักกับหุ้นที่มีDividend Yield สูงกว่า 4% ในงวดปี 2558 และมีราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม (Fair Value)


จุดต่ำสุดปีนี้ผ่านไปแล้ว



ด้าน “ยศพณ แสงนิล” รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน(ประเทศไทย) ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยในเวลานี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และดัชนีไม่น่าจะลดลงรุนแรง หรือต่ำกว่าระดับ 1,500 จุด อีกแล้วจนกว่าจะสิ้นปี หลังจากปัจจัยลบต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง


“ปัจจุบัน P/E ของตลาดหุ้นไทยเทียบกับอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2558 อยู่ที่ 14 เท่า ดังนั้นหุ้นไทยตอนนี้จึงไม่แพงเลย และมีโอกาสช่วงที่เหลือของปีนี้จะเห็นดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับ 1,550 จุด”


ตลท.ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนราว 12.6% โดยกลุ่มหุ้นที่มีผลตอบแทนเด่นที่สุด 5 อันดับในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การแพทย์ ขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ หลักทรัพย์ และธนาคาร มีผลตอบแทนสูงสุดถึง 49.7%, 35.6%, 32.9%, 29.8% และ 27.2% ตามลำดับ


ส่วนกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ได้แก่ ปิโตรเคมีลดลง -26.7% และพลังงาน -8%


แม้ตอนนี้ภาวะตลาดหุ้นจะกลับมาดีขึ้น แต่นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และจัดพอร์ตให้เหมาะสม โดยนักลงทุนระยะยาวจะต้องศึกษาพื้นฐานหุ้นให้ดี ส่วนระยะสั้นต้องระวังแรงเก็งกำไรที่อาจทำให้ “เจ็บตัว” โดยไม่ทันตั้งตัวด้วย


ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค เทคนิคหุ้น VI