ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: ลงทุนแบบนี้มีแต่สำเร็จ….

ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: ลงทุนแบบนี้มีแต่สำเร็จ….:       ใครอยากมีชีวิต “สบายวันนี้และสบายในวันหน้า”  ต้องลงมือวางแผนการเงินอย่างจริงจัง  เพราะสังคมเปลี่ยนไป  วิกฤติเกิดขึ้นมากม…




ลงทุนแบบนี้มีแต่สำเร็จ….

 

    ใครอยากมีชีวิต “สบายวันนี้และสบายในวันหน้า”  ต้องลงมือวางแผนการเงินอย่างจริงจัง  เพราะสังคมเปลี่ยนไป  วิกฤติเกิดขึ้นมากมาย  คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น  สวัสดิการที่รัฐมอบให้ประชาชนทั่วไปไม่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตตามที่แต่ละคนคาดหวัง  เราจึงต้องพี่งพาตนเองให้ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การวางแผนการเงินที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทางการเงินของเราเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  แต่ท่ามกลางวิกฤติทางการเงินที่เข้ามารุ่มเร้ารอบด้าน  ก็ยังมีโอกาสดีๆ  ที่รอให้เราใช้ประโยชน์ได้เสมอ  เพราะปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่จะตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม  การวางแผนการเงินจะทำให้เราใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่  การสร้างความมั่งคั่งทางการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน

       อาจเพราะคนส่วนใหญ่มองว่า  การลงทุนมีความเสี่ยงจึงละเลยประเดนที่ว่า   การ “ไม่” ลงทุนก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน   ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ  หากเราฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคารเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า  ผลตอบแทนที่เราจะได้รับนั้นมีจำนวนเพียงพอให้เราพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต……  เงินฝากในธนาคารของเราอาจจะเป็น “ขาดทุนแบบทบต้น”  เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น  ดังนั้น  การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้  จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ  และนับเป็นโอกาสดีที่ปัจจุบันเรามีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย  ลองพิจารณาหาทางเลือกใดที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดกันให้พบ  เพราะ…ชีวิตมีทางเลือกเสมอ….เราเลือกได้ว่าจะจัดการความเสี่ยงสำหรับอนาคตทางการเงินของตัวเองอย่างไร … ลองทำดู…. รับรองคุณสามารถทำได้
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

     ลงทุนแบบนี้…มีชัยไปกว่าครึ่ง

 
   ผมเชื่อว่านักลงทุนต่างรู้ดีว่า “ความไม่รู้” คือความเสี่ยง  ดังนั้น  เมื่อเรา “รู้” คือมีความรู้ มีการศึกษาค้นคว้าจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ความไม่รู้ก็จะหมดไป  ความเสี่ยงก็จะลดลง  ใครไม่เชื่ออยากให้ลองเปรียบเทียบพฤติกรมของนักลงทุนที่ขาดทุนและนักลงทุนที่ได้กำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์  โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ได้มอบหมายให้บริษัท  ทริส  คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  สำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยที่เน้นลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 พบว่า  นักลงทุนรายย่อยที่มีผลกำไรจากการลงทุนมากกว่า 15% และนักลงทุนรายย่อยที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนมากกว่า 15% มีพฤติกรรมการลงทุนที่แตกต่างกัน   โดยรายงานชิ้นนี้เปิดเผย 10 พฤติกรรมการลงทุนที่จะเพิ่มโอกาสในการทำกำไร  และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับนักลงทุนรายย่อย  ไว้ดังนี้

       พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จ

  1. ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุนทั้งความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  และความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายใจตลาดหลักทรัพย์  เช่น  วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย  การขึ้นเครื่องหมายในการซื้อขาย  กระบวนการรับเงินปันผล  เป็นต้น
  2. กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น  เช่น พันธบัตร  ตราสารหนี้  กองทุนรวม  ทองคำ  เป็นต้น
  3. วางหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไว้ล่วงหน้า  เช่น  กำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน  เป็นต้น
  4. กำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่  กำหนดอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้อยู่ที่ร้อยละ 1-5 
  5. ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีวินัยในการลงทุน  เพื่อเป้าหมายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้
  6. ใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับที่มาก  โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและการเมือง  ปัจจัยด้านภาวะอุตสาหกรรม  ปัจจัยด้านบริษัทที่ลงทุน  ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวม
  7. ทยอยซื้อหลักทรัพย์  โดยผู้ลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่ทยอยซื้อหลักทรัพย์แต่ละหลักทรัพย์  จำนวน 2-3 ครั้ง  และในช่วงตลาดขาขึ้น  ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยเกินไป
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  อย่างเช่น ซื้อหุ้นเพิ่มเติมเมื่อ SET Index มีแนวโน้วว่าจะขึ้นจากการประเมินด้านเทคนิค  ซื้อหุ้นตามแนวเส้่นค้าเฉลี่ย (Moving Average) ขายหุ้นเมื่อ SET Index มีแนวโน้มว่าจะลง  ขายหุ้นตามแนวต้านหรือเมื่อหลุดแนวรับ  เป็นต้น
  9. บันทึการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
  10. ติดตามข้อมูลของบริษัท  ที่ลงทุนและคาดว่าจะลงทุน  รวมถึงสภาวะตลาดเป็นประจำ

พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด  (ควรหลีกเลี่ยง)

  1. ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน
  2. ไม่กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
  3. ไม่วางแผน  หรือแนวทางในการลงทุน
  4. ไม่มีการกำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้  จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์
  5. ไม่มีวินัยในการลงทุน  ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
  6. ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคค่อนข้างน้อย  แต่มักซื้อหุ้นตามข่าวลือ
  7. ไม่มีการทยอยซื้อหุ้น  มักจะซื้อขายหุ้นบ่อยครั้งในช่วงตลาดขาขึ้น
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  เช่น  ซื้อหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายมาก  หรือซื้อหุ้นตอนหุ้นวิ่งแต่ราคาไม่ปรับตัวขึ้นเลยขาย
  9. ไม่จดบันทึกกาซื้อขาย
  10. ไม่ติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
      สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนทุกเพศทุกวัย  ทั้งนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน  จนถึงนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนมากกว่า 10 ปี  มีทั้งวัยรุ่น  คนหนุ่มสาว  วัยกลางคน  จนถึงวัยเกษียณ  และมีอาชีพที่หลากหลายทั้งนักเรียน  นักศึกษา ข้าราชการ แม้บ้าน  ผู้บริหาร  พนักงาน  บริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ  เจ้าของกิจการ  ผู้ว่างาน  ตลอดจนคุณตาคุณยายวัยเกษียณ ฯลฯ

ลงทุนแบบนี้มีแต่สำเร็จ….

 

    ใครอยากมีชีวิต “สบายวันนี้และสบายในวันหน้า”  ต้องลงมือวางแผนการเงินอย่างจริงจัง  เพราะสังคมเปลี่ยนไป  วิกฤติเกิดขึ้นมากมาย  คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น  สวัสดิการที่รัฐมอบให้ประชาชนทั่วไปไม่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตตามที่แต่ละคนคาดหวัง  เราจึงต้องพี่งพาตนเองให้ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การวางแผนการเงินที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทางการเงินของเราเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  แต่ท่ามกลางวิกฤติทางการเงินที่เข้ามารุ่มเร้ารอบด้าน  ก็ยังมีโอกาสดีๆ  ที่รอให้เราใช้ประโยชน์ได้เสมอ  เพราะปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่จะตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม  การวางแผนการเงินจะทำให้เราใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่  การสร้างความมั่งคั่งทางการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน

       อาจเพราะคนส่วนใหญ่มองว่า  การลงทุนมีความเสี่ยงจึงละเลยประเดนที่ว่า   การ “ไม่” ลงทุนก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน   ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ  หากเราฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคารเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า  ผลตอบแทนที่เราจะได้รับนั้นมีจำนวนเพียงพอให้เราพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต……  เงินฝากในธนาคารของเราอาจจะเป็น “ขาดทุนแบบทบต้น”  เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น  ดังนั้น  การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้  จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ  และนับเป็นโอกาสดีที่ปัจจุบันเรามีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย  ลองพิจารณาหาทางเลือกใดที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดกันให้พบ  เพราะ…ชีวิตมีทางเลือกเสมอ….เราเลือกได้ว่าจะจัดการความเสี่ยงสำหรับอนาคตทางการเงินของตัวเองอย่างไร … ลองทำดู…. รับรองคุณสามารถทำได้

     ลงทุนแบบนี้…มีชัยไปกว่าครึ่ง

 
   ผมเชื่อว่านักลงทุนต่างรู้ดีว่า “ความไม่รู้” คือความเสี่ยง  ดังนั้น  เมื่อเรา “รู้” คือมีความรู้ มีการศึกษาค้นคว้าจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ความไม่รู้ก็จะหมดไป  ความเสี่ยงก็จะลดลง  ใครไม่เชื่ออยากให้ลองเปรียบเทียบพฤติกรมของนักลงทุนที่ขาดทุนและนักลงทุนที่ได้กำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์  โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ได้มอบหมายให้บริษัท  ทริส  คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  สำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยที่เน้นลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 พบว่า  นักลงทุนรายย่อยที่มีผลกำไรจากการลงทุนมากกว่า 15% และนักลงทุนรายย่อยที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนมากกว่า 15% มีพฤติกรรมการลงทุนที่แตกต่างกัน   โดยรายงานชิ้นนี้เปิดเผย 10 พฤติกรรมการลงทุนที่จะเพิ่มโอกาสในการทำกำไร  และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับนักลงทุนรายย่อย  ไว้ดังนี้

       พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จ

  1. ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุนทั้งความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  และความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายใจตลาดหลักทรัพย์  เช่น  วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย  การขึ้นเครื่องหมายในการซื้อขาย  กระบวนการรับเงินปันผล  เป็นต้น
  2. กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น  เช่น พันธบัตร  ตราสารหนี้  กองทุนรวม  ทองคำ  เป็นต้น
  3. วางหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไว้ล่วงหน้า  เช่น  กำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน  เป็นต้น
  4. กำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่  กำหนดอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้อยู่ที่ร้อยละ 1-5 
  5. ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีวินัยในการลงทุน  เพื่อเป้าหมายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้
  6. ใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับที่มาก  โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและการเมือง  ปัจจัยด้านภาวะอุตสาหกรรม  ปัจจัยด้านบริษัทที่ลงทุน  ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวม
  7. ทยอยซื้อหลักทรัพย์  โดยผู้ลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่ทยอยซื้อหลักทรัพย์แต่ละหลักทรัพย์  จำนวน 2-3 ครั้ง  และในช่วงตลาดขาขึ้น  ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยเกินไป
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  อย่างเช่น ซื้อหุ้นเพิ่มเติมเมื่อ SET Index มีแนวโน้วว่าจะขึ้นจากการประเมินด้านเทคนิค  ซื้อหุ้นตามแนวเส้่นค้าเฉลี่ย (Moving Average) ขายหุ้นเมื่อ SET Index มีแนวโน้มว่าจะลง  ขายหุ้นตามแนวต้านหรือเมื่อหลุดแนวรับ  เป็นต้น
  9. บันทึการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
  10. ติดตามข้อมูลของบริษัท  ที่ลงทุนและคาดว่าจะลงทุน  รวมถึงสภาวะตลาดเป็นประจำ

พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด  (ควรหลีกเลี่ยง)

  1. ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน
  2. ไม่กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
  3. ไม่วางแผน  หรือแนวทางในการลงทุน
  4. ไม่มีการกำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้  จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์
  5. ไม่มีวินัยในการลงทุน  ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
  6. ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคค่อนข้างน้อย  แต่มักซื้อหุ้นตามข่าวลือ
  7. ไม่มีการทยอยซื้อหุ้น  มักจะซื้อขายหุ้นบ่อยครั้งในช่วงตลาดขาขึ้น
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  เช่น  ซื้อหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายมาก  หรือซื้อหุ้นตอนหุ้นวิ่งแต่ราคาไม่ปรับตัวขึ้นเลยขาย
  9. ไม่จดบันทึกกาซื้อขาย
  10. ไม่ติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
      สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนทุกเพศทุกวัย  ทั้งนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน  จนถึงนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนมากกว่า 10 ปี  มีทั้งวัยรุ่น  คนหนุ่มสาว  วัยกลางคน  จนถึงวัยเกษียณ  และมีอาชีพที่หลากหลายทั้งนักเรียน  นักศึกษา ข้าราชการ แม้บ้าน  ผู้บริหาร  พนักงาน  บริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ  เจ้าของกิจการ  ผู้ว่างาน  ตลอดจนคุณตาคุณยายวัยเกษียณ ฯลฯ

ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: การลงทุนแบบ VI หุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติ…

ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: การลงทุนแบบ VI หุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติ…:             เชื่อว่า…  นักลงทุนหลายท่ามีผู้ลงทุนที่เป็นต้นแบบ  ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าทั้งในหรือต่างประเทศ  ซึ่งสามารถส…


โดยสรุป หุ้นเติบโตสร้างกำไรงามในภาวะที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง หุ้นคุณค่าเป็นผู้นำเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงกลางและกำลังเคลื่อนเข้าสู่การชะลอตัวหรือตกต่ำ หุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตผลัดกันเป็นผู้นำตลาดในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดีผลตอบแทนในหุ้นคุณค่ามีค่าสูงกว่าเนื่องจากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงบ่อยครั้งจากความเชื่อมโยงกันของตลาดการเงินโลก นวัตกรรมในตราสารการเงินที่ซับซ้อน และการขาดการควบคุมดูแลและระบบจัดการความเสี่ยงที่ดี

ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: การวางแผนจัดสรรเงินทุน และตารางการปรับสมดุล หุ้นแบ…

ลงทุนหุ้น VI THAI STOCK VI: การวางแผนจัดสรรเงินทุน และตารางการปรับสมดุล หุ้นแบ…: การวางแผนจัดสรรการลงทุน  และตารางการปรับสมดุล       การวางแผนการลงทุนควรจะรวมถึงการจัดสรรการลงทุนและตารางการปรับสมดุล  ตารางควรจะรวมทั้งร…