ช.การช่างคาดรายได้ปีนี้แตะ3.4หมื่นลบ.

“ช.การช่าง” คาดรายได้ปีนี้แตะ 3.4 หมื่นล้านบาท เล็งถือหุ้นบริษัทใหม่หลังควบ BMCL-BECL สัดส่วน 30%

นายประเสริฐ มริตตนะพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มงานบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดรายได้ปี 2558 จะใกล้เคียงกับปี 2557 ที่มีรายได้ประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจะรับรู้รายได้จากงานในมือ ประมาณ 30%จากที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2557ที่ 104,928 ล้านบาท ส่วนงานใหม่บริษัทฯ คาดหวังจะได้งานประมาณ 20-25% ในการเข้าประมูลแต่ละโครงการ

ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ CK กล่าวว่า กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปี 57 อยู่ที่ราว 10% ขณะที่คาดรายได้ปี57เกินกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยสิ้นปี 57 บริษัทมีงานในมือ (Backlog) 1.05 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BMCL และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ BECL ควบรวมเสร็จแล้ว ช.การช่าง จะเข้าไปถือหุ้นบริษัทใหม่ในสัดส่วน 30%จะทำให้บริษัทฯ สามารถบันทึกกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทใหม่ได้มากขึ้น และได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีขึ้นด้วย

โดยการควบรวมระหว่าง BMCL และ BECL จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้ง 2 บริษัท เพราะจะทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจ มีศักยภาพทางการเงิน การดำเนินงานและการแข่งขันแข็งแกร่งขึ้น สามารถลงทุนและแข่งขันได้ทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อว่าบริษัทใหม่นี้จะทำให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนที่ดีมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ทุกหุ้นทุกราย

“ช.การช่าง ยืนยันที่จะสนับสนุนการควบรวมของ 2 บริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทฯ จะซื้อหุ้น BMCL ที่BECL ถืออยู่จำนวน 10% มูลค่า 3,670 ล้านบาท และจะเป็นผู้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านด้วย ภายหลังที่บริษัทใหม่ควบรวมเรียบร้อยแล้ว ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่ 30%” นายปลิว กล่าว

CKคาดถือหุ้นบริษัทใหม่30%

“ปลิว” คาด ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่หลัง “BMCL-BECL” จำนวน 30% – เผยรายได้ปี 57 เกิน 3.3 หมื่นลบ.

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จากัด (มหาชน)หรือ CK เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BMCL และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BECL ควบรวมเสร็จแล้ว ช.การช่าง จะเข้าไปถือหุ้นบริษัทใหม่ในสัดส่วน 30% จะทำให้บริษัทฯสามารถบันทึกกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทใหม่ได้มากขึ้น และได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีขึ้นด้วย โดยการควบรวมระหว่าง BMCL และ BECL จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้ง 2 บริษัท เพราะจะทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจ มีศักยภาพทางการเงิน การดำเนินงานและการแข่งขันแข็งแกร่งขึ้น สามารถลงทุนและแข่งขันได้ทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อว่าบริษัทใหม่นี้จะทำให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนที่ดีมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ทุกหุ้นทุกราย

“ช.การช่าง ยืนยันที่จะสนับสนุนการควบรวมของ 2 บริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทฯจะซื้อหุ้น BMCL ที่ BECL ถืออยู่จำนวน 10% มูลค่า 3,670 ล้านบาท และจะเป็นผู้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านด้วย ภายหลังที่บริษัทใหม่ควบรวมเรียบร้อยแล้ว ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่ 30%” นายปลิว กล่าว

ส่วนการขายหุ้นของบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (XPCL) ให้แก่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จากัด (มหาชน) หรือ CKP มูลค่ารวม 4,344 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย โดย CKP ถือว่าได้ซื้อโครงการที่มีความสำคัญและผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ต้องมีภาระการลงทุนที่สูงเกินไป เพราะหากทิ้งไว้จนงานก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการดังกล่าวจะมีราคาที่สูงมาก ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโครงการที่ CKP จะได้รับต่ำลง ในส่วนของบริษัทฯสามารถรับรู้กำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวและได้รับกระแสเงินสดเข้าสู่บริษัทฯ

สำหรับการปรับโครงสร้างการลงทุนทั้ง 2 ส่วนนี้ ช.การช่าง มีความมั่นใจว่าจะทำให้บริษัทใหม่ที่ควบรวม BMCL กับ BECL และ CKP มีความแข็งแกร่ง มีศักยภาพที่สูงขึ้น สามารถลงทุนดำเนินงานและพัฒนาโครงการต่างๆ รองรับการเติบโตของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกจิของภาครัฐในระบบขนส่งมวลชนทั้งทางรางและถนน รวมถึงธุรกิจพลังงาน ซึ่งปัจจุบัน ช.การช่างร่วมกับบริษัทในกลุ่มทั้งหมด รวมถึง TTW ได้จัดเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้ครบถ้วน ทั้งทรัพยากรบุคคล การเงิน พันธมิตรต่างๆ พร้อมที่จะลงทุนดำเนินโครงการต่างๆในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่าและลาวซึ่งเป็น 2 ประเทศเป้าหมายสำคัญที่มีการเจริญเติบโตของธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นอย่างมาก

นายปลิว กล่าวด้วยว่า กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปี 57 อยู่ที่ราว 10% ขณะที่คาดรายได้ในปีก่อนเกินกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยสิ้นปี 57 บริษัทมีงานในมือ (Backlog) 1.05 แสนล้านบาท

MBKET คาดกำไรต่อหุ้น บจ.เติบโต 15-17%

“MBKET” คาดกำไรต่อหุ้น บจ.เติบโต 15-17% ส่วน GDP ปีนี้โต 4% หากไม่โดนปัจจัยลบเข้าแทรก

“มนตรี” เผยแนวโน้มกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 15-17% เทียบ P/E Ratio SET INDEX จะอยู่ที่ 13-14 เท่า ถือว่าไม่แพงเพราะเริ่มฟื้นตัว ส่วนอุตสาหกรรมไอที และยานยนต์จะกลับมาสดใส หุ้นไทยกลุ่มการบริโภค การส่งออก และการท่องเที่ยว และกลุ่มเกษตรกรรม รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้นตัว

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) MBKET กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ตั้งเปิดตลาดต้นปี 2558 ซึ่งก่อนหน้านี้ที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองมีความรุนแรงสูง ทำให้ดัชนี SET INDEX ปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงท้ายปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตกต่ำเหลือไม่ถึง 1% แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้คาดว่าแน้วโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะพลิกกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยในอีก 2-3 ไตรมาสหน้า เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มการเติบโตในทุกๆ ด้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ยังคงมีความความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทย และการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการฟื้นตัวของการบริโภค การส่งออก และการท่องเที่ยว อีกทั้งภาคเกษตรกรรมที่กลับเข้าสู่ฤดูกาลทำนา โดยไม่ต้องรอใบประทวน และปัญหาจำนำข้าวเหมือนปีที่ผ่านมา

“อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมทั้งด้านไอที และรถยนต์ที่มีความได้เปรียบอยู่สูง ทั้งบุคลากร และทรัพยากร อีกทั้งมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด จะเห็นความชัดเจนของการฟื้นตัวได้ภายในปีนี้ ขณะที่แนวโน้มของบริษัทจดทะเบียนไทย เริ่มที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับตลาดเสรีอาเซียน ทั้งในส่วนของกลุ่มลุ่มน้ำโขง (GMS) หรือ (CLMV) เช่น บมจ.ช.การช่าง (CK) บมจ.ซีเค พาวเวอร์ (CKP) ที่เข้าไปลงทุนด้านพลังงงานไฟฟ้าในประเทศลาว และ บมจ.อมตะ วีเอ็น (AMATAV) ที่เข้าไปลงทุนด้านนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่เตรียมจะเข้าไปลงทุนเพิ่มเติมทั้งด้านลอจิสติกส์ และค้าปลีกในกลุ่มประเทศดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มการเติบโตขึ้นของกลุ่มประเทศ AEC ในอนาคต จะส่งผลดีต่อประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าอีกด้วย”

ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% เทียบกับปีก่อนหน้า หากไม่มีปัญหาอะไรที่เป็นปัจจัยลบเข้ามากระทบ ขณะที่อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นในบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ที่ 15-17% เพราะฉะนั้นอัตรา P/E Ratio ของ SET INDEX ณ ราคาปัจจุบัน เทียบกับกำไรปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 13-14 เท่า ถือว่ายังไม่แพงหากเทียบกับแนวโน้มตลาดที่เริ่มฟื้นตัวกลับขึ้นมา

กลุ่ม ช.การช่าง

 

ปรับโครงสร้างกลุ่ม..แล้วมีอะไรใหม่ ?

CK, BECL, BMCL และ CKP ประกาศแผนปรับโครงสร้างบริษัทเมื่อคืนนี้ โดน BECL และ BMCL จะทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน ในขณะ CK จะหนุนการควบรวมในครั้งนี้โดยเข้าซื้อ BMCL จาก BECL และซื้อหุ้น BMCL และ/หรือ หุ้น BECL จากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมในครั้งนี้ นอกจากนี้ CK จะขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทไซยะบุรีให้แก่ CKP เพื่อเตรียมทุนสำหรับการเข้าซื้อ BMCL และ BECL รายละเอียดมีดังนี้

BECL และ BMCL จะทำการแลกเปลี่ยนหุ้นระหว่างกันในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมใน BECL ต่อ 8.65537841 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมของ BMCL ต่อ 0.42050530 หุ้นในบริษัทใหม่ ซึ่งหมายถึง 20.58 หุ้น BMCL ต่อ 1 หุ้น BECL

CK จะทำการขายหุ้นทั้งหมด (จำนวน 805 ล้านหุ้น) ในบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ ให้แก่ CKP ในราคา 4,344 ล้านบาท และจะหนุนการควบรวมกิจการโดย: 1) ซื้อหุ้น BMCL จำนวน 2,050 ล้านหุ้นจาก BECL ในราคา 1.79 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 3,670 ล้านบาท และ 2) ซื้อหุ้น BMCL และ/หรือ หุ้น BECL จากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมกิจการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม CK จะไม่ซื้อหุ้น BMCL เกิน 8% ของหุ้น BMCL ทั้งหมด และจะไม่ซื้อหุ้น BECL เกิน 10% ของหุ้น BECL ทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน มูลค่าการซื้อหุ้นรวมจะต้องไม่เกินกว่า 10,000 ล้านบาท

CKP จะทำการเพิ่มทุนผ่านการเสนอขายหุ้นสามัญใหม่ต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นในสัดส่วน 2.94 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ในราคา 3 บาท (หลังแตกพาร์จาก 5 บาทเป็น 1 บาท) นอกจากนี้ บริษัทจะทำการออกวอร์แรนต์ในอัตราส่วน 1 หุ้นใหม่ต่อ 1 วอร์แรนต์ ด้วยราคาใช้สิทธิ 6 บาท

ความคิดเห็นของเรา

CK ดูจะได้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการมากที่สุด เนื่องจากบริษัทจะสามารถขายบริษัทไซยะบุรี (ซึ่งจะรายงานขาดทุนจนถึงปี 2562) ได้ในราคาที่ค่อนข้างดี ในขณะที่เงินสดจากการขายจะถูกนำมาใช้เพื่อซื้อหุ้น BECL (ซึ่งทำกำไรและมีเงินสดจำนวนมาก) และ BMCL (ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงและกำลังพลิกฟื้น) กำไรหลังหักภาษีสุทธิจากการขายบริษัทไซยะบุรีจะอยู่ที่ราวๆ 1.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 0.95 บาทต่อหุ้น เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 32.75 บาท และเปลี่ยนคำแนะนำเป็น ซื้อ !

สำหรับ BECL และ BMCL นั้น การควบรวมกิจการในครั้งนี้จะให้ประโยชน์แก่ทั้งสองบริษัท โดย BECL มีงบดุลที่แข็งแกร่งแต่มีโอกาสในการลงทุนที่จำกัด ในขณะที่ BMCL มีความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดความสามารถทางการเงินสำหรับการลงทุนในอนาคต นอกจากนี้การควบรวมยังจะช่วยเพิ่มศักยภาพของบริษัทร่วมให้เติบโตได้ในระยะยาวอีกด้วย สัดส่วนการแลกเปลี่ยนหุ้นและราคาปิดวานนี้ชื้ถึงราคา BECL ที่ 49 บาท และราคา BMCL ที่ 2.06 บาท นอกจากนี้เราประเมินว่า BECL จะมีกำไรพิเศษราว 1.2 พันล้านบาทจากการขายหุ้น BMCL เราแนะนำ ซื้อ BECL !

การที่ CKP เข้าซื้อบริษัทไซยะบุรีจาก CK ไม่ใด้เป็นประเด็นใหม่ แต่เราค่อนข้างประหลาดใจที่การเข้าซื้อเร็วกว่าคาดไว้มาก เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะยังไม่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์จนกว่าปี 2562 การเสนอขายหุ้นใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมน่าจะได้เงินราว 5,610 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการเข้าซื้อบริษัทไซยะบุรีที่ราคา 4,344 ล้านบาท นอกจากนี้ CKP มีเงินสดอีกจำนวน 1,800 ล้านบาท และสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 1.95 เท่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นที่มีต่อสถานะในการเข้าซื้อมากขึ้น การแตก parจะสะท้อนราคาหุ้นใหม่อยู่ที่ 3.90 บาท ส่งผลให้การเสนอขายหุ้นใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในราคา 3.00 บาทเป็นไปใด้มาก อย่างไรก็ดีผลกระทบจาก dilution จะอยู่ประมาน 30% เราปรับลดคำแนะนำเป็น ถือ เนื่องจากเราเชื่อว่าโครงการของ CKP ทั้งหมดในปัจจุบันได้สะท้อนมูลค่าหุ้นในขณะนี้แล้ว นอกจากนี้ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าที่จะสามารถรวมส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทไซยะบุรีลงในประมาณการของเรา

คาดควบบริษัท BECL – BMCL แล้วเสร็จไตรมาส3 ปีนี้

นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 เห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL เป็นผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของ BECL และ BMCL ร่วมกัน โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL เพื่อพิจารณาอนุมัติการควบบริษัทตามวิธีการแห่งพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ต่อไป
bmcl-becl-setlnw
ทั้งนี้การควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL ถือเป็นกลยุทธ์ในการผสานความแข็งแกร่งของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าการควบบริษัทครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและ ต่อยอดธุรกิจ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน ทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้หุ้นของบริษัทจากมุมมองของนักลงทุน นอกจากนี้ การควบบริษัทจะเป็นการผสานจุดแข็งระหว่าง BECL กับ BMCL ซึ่งส่งเสริมประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอและมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม และมีศักยภาพพร้อมสำหรับรับโอกาสในการเข้าลงทุนในโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย

การจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL มีอัตราส่วน คือ 1 หุ้นเดิมใน BECL ต่อ 8.65537841 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน BMCL ต่อ 0.42050530 หุ้นในบริษัทใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินการควบบริษัทจะแล้วเสร็จ และสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทใหม่ได้ภายในช่วงไตรมาส 3 ปี 2558

ด้านนายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ. ช.การช่าง หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสองแห่งและผู้ถือหุ้นหลัก สนับสนุนการควบบริษัทในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และมีความเชื่อมั่นว่าการควบบริษัทนี้จะทำให้บริษัทใหม่มีความแข็งแกร่งในทุกด้าน มีความพร้อมในการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้นทุกคน ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงได้แสดงเจตนารมณ์ในการรับซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ไม่ประสงค์ที่จะถือหุ้นต่อโดยลงมติคัดค้านการควบบริษัทในครั้งนี้