วัฏจักรของสินทรัพย์หมุนเวียน : วิธีการทำเงิน การลงทุนหุ้น VI

วัฏจักรของสินทรัพย์หมุนเวียน : วิธีการทำเงิน

งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)
Ò เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
Ò สินค้าคงคลัง
Ò ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
     ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
$4,208
2,220
3,317
2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                         0
      รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005
  




      สินทรัพย์หมุนเวียน มีชื่อเรียกอีกอย่างไรภาษาอังกฤษว่า ‘working assets’ หรือ สินทรัพย์เพื่อการดำเนินกิจการ เนื่องจากอยู่ในวัฏจักรของเงินสดที่จะนำไปซื้อสินค้าคงคลัง ซึ่งจะนำไปขายให้ผู้ค้าอีกต่อหนึ่งที่จะกลายมาเป็นลูกหนี้การค้า หลังจากที่เก็บหนี้จากผู้ค้าแล้วบัญชีลูกหนี้เหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้ง โดยวัฏจักรจะหมุนเวียนไปเช่นนี้ คือ เงินสด Ò สินค้าคงคลัง Ò ลูกหนี้การค้า Ò เงินสด  นี่คือวิธีทำเงินของธุรกิจ

                สิ่งที่เกิดขึ้นในวัฏจักรขอสินทรัพย์หมุนเวียนสามารถบอก วอร์เรนถึงอะไรต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐกิจของธุรกิจ และการที่ธุรกิจนั้นๆมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืนในตลาดหรือไม่

วัฏจักรของสินทรัพย์หมุนเวียน : วิธีการทำเงิน การลงทุนหุ้น VI

วัฏจักรของสินทรัพย์หมุนเวียน : วิธีการทำเงิน

งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)
Ò เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
Ò สินค้าคงคลัง
Ò ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
     ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
$4,208
2,220
3,317
2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                         0
      รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005
  




      สินทรัพย์หมุนเวียน มีชื่อเรียกอีกอย่างไรภาษาอังกฤษว่า ‘working assets’ หรือ สินทรัพย์เพื่อการดำเนินกิจการ เนื่องจากอยู่ในวัฏจักรของเงินสดที่จะนำไปซื้อสินค้าคงคลัง ซึ่งจะนำไปขายให้ผู้ค้าอีกต่อหนึ่งที่จะกลายมาเป็นลูกหนี้การค้า หลังจากที่เก็บหนี้จากผู้ค้าแล้วบัญชีลูกหนี้เหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้ง โดยวัฏจักรจะหมุนเวียนไปเช่นนี้ คือ เงินสด Ò สินค้าคงคลัง Ò ลูกหนี้การค้า Ò เงินสด  นี่คือวิธีทำเงินของธุรกิจ

                สิ่งที่เกิดขึ้นในวัฏจักรขอสินทรัพย์หมุนเวียนสามารถบอก วอร์เรนถึงอะไรต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐกิจของธุรกิจ และการที่ธุรกิจนั้นๆมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืนในตลาดหรือไม่

สัญลักษณ์ฟองสบู่ ( ของหุ้นตัวเล็ก )



    ผมติดตามภาวะของตลาดหุ้นไทยมานานนับถึงวันนี้ก็คงประมาณ 20 ปีแล้ว  ตลอดเวลาที่ผ่านมา  ดัชนีตลาดหุ้นและราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างแรง  ปีหนึ่งน่าจะผันผวนขึ้นลงอาจจะเฉลี่ยถึง 25%  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงที่หุ้นขึ้นไปสูงนั้น  ผมก็ไม่ได้คิดว่าราคาหุ้นเป็น  “ฟองสบู่” อะไรมากมายนัก  ดังนั้น  ผมจึงไม่เคยคิดที่จะขายหุ้นเพราะคิดว่าราคามันแพงเกินไป  แต่ในช่วงหลังสองสามปีที่ผ่านมานี้  ผมกลับรู้สึกว่าราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นไปมากจนหาหุ้นที่มีราคาถูกยากขึ้นเรื่อย ๆ  แม้แต่หุ้นที่ผมถืออยู่ซึ่งเน้นหุ้นที่เป็นแนว  “ซุปเปอร์สต็อก” ก็มีราคาแพงขึ้นมาก  อย่างไรก็ตาม  หุ้นที่ผมรู้สึกว่ามีราคาแพงสุด ๆ  ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติโดดเด่นอะไรก็คือหุ้นตัวเล็ก ๆ  จำนวนมากโดยเฉพาะที่มีข่าวหวือหวาที่สามารถกระตุ้นราคาหุ้นได้  การปรับขึ้นของราคาหุ้นที่ผมเห็นอยู่นี้  ผมคิดว่ามันเป็น  “ฟองสบู่”  อย่างชัดเจนโดยที่ผมเห็น  “สัญญาณ”  ต่าง ๆ  มากมายดังต่อไปนี้

         สัญญาณตัวแรกซึ่งเป็นสัญญาณที่เชื่อถือได้มากในทุกครั้งที่เกิดฟองสบู่หุ้นก็คือ  หุ้นเข้าตลาดครั้งแรกหรือหุ้น IPO โดยเฉพาะในหุ้นตัวเล็กที่มีความต้องการล้นหลามและเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดเป็นวันแรกนั้นราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปแรงมาก  หลาย ๆ  ตัวหุ้นขึ้นไปชนเพดานที่ 200%  หุ้นที่ขึ้นไปเพียง 40%-50% บางทีกลายเป็นที่  “น่าผิดหวัง”  สัญญาณที่แรงขนาดนี้ของหุ้น IPO  ก็อาจจะพอบอกได้ถึงการเก็งกำไรที่ร้อนแรงและเป็นสัญญาณว่ามี  “ฟองสบู่” ได้แล้วในหุ้นตัวเล็ก  แต่เรายังมีสัญญาณอื่น ๆ  อีกมาก

          สัญญาณที่สองก็คือ  ความแพงของหุ้นตัวเล็กที่วัดจากค่า PE PB และ Dividend Yieldหรืออัตราปันผลของหุ้นในตลาดหุ้น MAI ซึ่งเป็นตลาดของหุ้นขนาดเล็ก  โดยค่า PE ของตลาด MAI เท่ากับประมาณ 80 เท่า ค่า PB ประมาณ 5 เท่า  และปันผลประมาณ 1%  นี่เป็นการบอกอย่างชัดเจนว่าหุ้นขนาดเล็กโดยเฉลี่ยมีราคาที่แพงมาก  ถ้าจะให้เดา  มันคงเป็นความแพงที่เหนือกว่าความแพงของตลาดหุ้น Nasdaq ของอเมริกาที่เป็นหุ้นไฮเท็คในช่วงปี 1999 ที่เกิดฟองสบู่และตลาดถล่มลงในปี 2000 ที่ทำให้ดัชนีหุ้นลดลงถึง 50% ในเวลาอันสั้น  ผมก็ได้แต่หวังว่าถ้าของเราเป็นฟองสบู่จริงและ “แตก”  มันจะไม่เลวร้ายขนาดนั้น

          สัญญาณที่สามที่ผมไม่ได้ทำสถิติแต่ใช้การสังเกตไปเรื่อย ๆ  ซึ่งพบว่ามีการเล่นหรือซื้อขายหุ้นตัวเล็กในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับ Market Cap. ของบริษัท  มองคร่าว ๆ ผมคิดว่าการซื้อขายต่อวันของหุ้นในตลาด MAI ในช่วงหลัง ๆ  นี้คิดแล้วน่าจะเฉลี่ยประมาณ 2%-3% ต่อวัน  ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์มีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.3%  หรือพูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือ  หุ้นตัวเล็กนั้น  มีการ “หมุนหุ้น” เป็นเกือบ 10 เท่าของหุ้นตัวใหญ่  สำหรับผมแล้ว  หุ้นที่มีการซื้อขายถึง 1% ของ Market Cap. ต่อวันก็ต้องถือว่ามีการเก็งกำไรสูงมากแล้ว  ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  ถ้าดูหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด 10 หรือ 20 อันดับในแต่ละวันก็จะพบว่าบ่อยครั้งประกอบไปด้วยหุ้นตัวเล็กกว่าครึ่งหรืออย่างน้อยก็ต้องมีหุ้นตัวเล็กแทรกมาหลาย ๆ ตัว  ซึ่งผมคิดว่าในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วมันไม่น่าจะเป็นไปได้เลยที่หุ้นที่มี Market Cap. เพียงพันหรือสองพันล้านบาทจะมีมูลค่าการซื้อขายมากกว่าหุ้นที่มีขนาดหลายแสนล้านบาทได้

           สัญญาณที่สี่เป็นเรื่องของ “Story” หรือข่าวต่าง ๆ  รวมถึงเรื่องของ “Concept” หรือหุ้นที่มีแนวคิดหรือโมเดลทางธุรกิจที่ “น่าตื่นเต้น”  หรือพูดง่าย ๆ  ก็คือเป็นหุ้นที่สามารถ  “สร้างจินตนาการ” ที่บรรเจิด  ในประเด็นนี้ก็คงคล้าย ๆ  กับหุ้นไฮเท็คในตลาด Nasdaq ในช่วงฟองสบู่ที่หุ้นจำนวนมากมีราคาที่ “สูงสุดฟ้า”  เพราะนักลงทุน “ฝัน” ว่ามันจะ  “ปฏิวัติโลก” ของสิ่งต่าง ๆ  ด้วยผลิตภัณฑ์ของบริษัท  อย่างไรก็ตาม  สำหรับหุ้นตัวเล็กของไทยในช่วงนี้คงไม่ถึงขนาดนั้น  แต่มันก็มีพลังพอที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นไปได้มหาศาล  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ราคาหุ้นของไทยในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมและคนเข้ามาเล่นหุ้นกันมากนั้น   แม้แต่เรื่องราวเล็ก ๆ  แต่ขอให้มันมีประเด็นและอิงไปได้ว่ามันจะทำให้บริษัท  “โต”  แบบก้าวกระโดดเท่านั้น  หุ้นก็จะวิ่งไปได้มาก

           สัญญาณที่ห้าก็คือ  นักวิเคราะห์หุ้นที่เป็นมืออาชีพบางคนจะมีการใช้เทคนิคในการประเมินมูลค่าบริษัทที่มี  “ความคิดสร้างสรรค์” สูงขึ้นเรื่อย ๆ  การให้ค่า PE ของบริษัทอาจจะอิงจากค่า PE ในอดีตที่ผ่านมาที่สูงลิ่วและอาจจะบวกค่าการ “เติบโต” ในอนาคตที่จะ  “ก้าวกระโดด”  นอกจากนั้น  มีการใช้ค่า PEG หรือค่า PE ต่อค่า G หรือการเจริญเติบโตที่สูงลิ่วมาแทนค่า PE ซึ่งอาจจะทำให้หุ้นสามารถมีค่า PE สูง 50-60 เท่าได้โดยที่หุ้นยัง  “ไม่แพง” ได้  หุ้นบางตัวนั้นเนื่องจากยังไม่มีกำไรหรือมีกำไรน้อยมาก  การใช้ PE ก็เป็นไปไม่ได้  ดังนั้น  วิธีการใช้ Discounted Cashflows หรือการใช้กระแสเงินสดในอนาคตที่ยาวไกลที่บริษัทจะได้รับมาเป็นฐานในการคำนวณจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากขึ้น  และด้วยวิธีการนี้  การ  “เล่นตัวเลข”  ก็ง่ายขึ้นมาก  พูดอย่างหยาบ ๆ  ก็คือ  คุณแทบจะทำ “มูลค่าที่เหมาะสม”  ของบริษัทให้เป็นเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับ  “สมมุติฐาน” ที่ใช้

           สัญญาณสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ  หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นที่ติดอันดับหนังสือขายดีบนแผงหนังสือนั้น  มีมากมายกว่าหนังสือแนวอื่น  นี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานหลายปีมาแล้ว  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงหลัง ๆ  นี้  หนังสือแนวการลงทุนที่เน้นการ  “เทรด”  หรือซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ จะขายดีกว่าหนังสือที่เน้นแนว VI  แท้ ๆ  ที่เน้นการลงทุนระยะยาวซึ่งเป็นการแสดงว่าคนสนใจการ “เก็งกำไร”  มากขึ้นโดยเปรียบเทียบ

           สัญญาณทั้งหมดที่พูดถึงนั้นดูเหมือนว่าผมจะเน้นเฉพาะหุ้นตัวเล็ก  แต่จริง ๆ  แล้ว  หุ้นทั้งตลาดไทยเองนั้นก็มีสัญญาณของ  “ฟองสบู่” ที่กล่าวถึงเช่นกันแม้ว่าดีกรีหรืออัตราความรุนแรงจะไม่เท่ากัน  ตัวอย่างเช่น  หุ้น IPO ตัวใหญ่ก็มีราคาปรับขึ้นมากกว่าในภาวะปกติมาก  ค่า PE และ PB ของตลาดหลักทรัพย์เองก็สูงลิ่วเมื่อเทียบกับอดีตและกับประเทศอื่นอีกหลายประเทศ  ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดโดยรวมก็สูงลิ่วและสูงที่สุดในอาเซียนทั้ง ๆ  ที่ขนาดของตลาดเล็กกว่าสิงคโปร์หรือมาเลเซีย  หุ้นตัวใหญ่ของไทยเองก็มีการเล่นกันด้วย Story ต่าง ๆ  ไม่น้อย  Growth หรือการเจริญเติบโตของบริษัทกลายเป็นเรื่องที่นักลงทุนใช้ในการ “ขับดัน”  ราคาหุ้นที่ผมคิดว่า  “มากเกินไป”  เหตุผลก็คือ  มันอาจจะเป็นการโตได้แค่ช่วงสั้น ๆ  ปีหรือสองปีเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า  ส่วนในประเด็นของนักวิเคราะห์เองนั้น  พวกเขาไม่ได้ใช้ “เทคนิคที่สร้างสรรค์” เฉพาะบริษัทเล็กเท่านั้น  และสุดท้ายก็คือเรื่องของหนังสือเกี่ยวกับหุ้นนั้น  มันเป็นสัญญาณที่บอกว่าหุ้นโดยรวมของไทยเองนั้น  ได้รับความสนใจอย่างมากซึ่งก็หมายถึงว่าราคาของมันน่าจะสูงจากความต้องการซื้อของคน


          ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ  หุ้นตัวเล็กนั้นมี  “ฟอง” อย่างแน่นอนเพราะสัญญาณนั้นชัดเจนมาก  และไม่ว่าใครจะพูดอย่างไรผมคิดว่ามันก็หนีไม่พ้นที่จะต้องมีการ “แตก” ในระดับหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว  ประวัติศาสตร์ของหลาย ๆ  เหตุการณ์ในตลาดหุ้นหลาย ๆ  ประเทศมันบอกอย่างนั้น  แต่สำหรับตัวตลาดหลักทรัพย์เองนั้น  ผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็น  “ฟอง” ไหม  ความเชื่อส่วนตัวก็คือ  มันคงมีบ้าง  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันเป็นเรื่องยากที่ฟองจะเกิดเฉพาะในหุ้นเล็กโดยที่ภาวะของหุ้นใหญ่หรือหุ้นโดยรวมไม่เอื้ออำนวย

สัญลักษณ์ฟองสบู่ ( ของหุ้นตัวเล็ก )



    ผมติดตามภาวะของตลาดหุ้นไทยมานานนับถึงวันนี้ก็คงประมาณ 20 ปีแล้ว  ตลอดเวลาที่ผ่านมา  ดัชนีตลาดหุ้นและราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นลงค่อนข้างแรง  ปีหนึ่งน่าจะผันผวนขึ้นลงอาจจะเฉลี่ยถึง 25%  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงที่หุ้นขึ้นไปสูงนั้น  ผมก็ไม่ได้คิดว่าราคาหุ้นเป็น  “ฟองสบู่” อะไรมากมายนัก  ดังนั้น  ผมจึงไม่เคยคิดที่จะขายหุ้นเพราะคิดว่าราคามันแพงเกินไป  แต่ในช่วงหลังสองสามปีที่ผ่านมานี้  ผมกลับรู้สึกว่าราคาหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นไปมากจนหาหุ้นที่มีราคาถูกยากขึ้นเรื่อย ๆ  แม้แต่หุ้นที่ผมถืออยู่ซึ่งเน้นหุ้นที่เป็นแนว  “ซุปเปอร์สต็อก” ก็มีราคาแพงขึ้นมาก  อย่างไรก็ตาม  หุ้นที่ผมรู้สึกว่ามีราคาแพงสุด ๆ  ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติโดดเด่นอะไรก็คือหุ้นตัวเล็ก ๆ  จำนวนมากโดยเฉพาะที่มีข่าวหวือหวาที่สามารถกระตุ้นราคาหุ้นได้  การปรับขึ้นของราคาหุ้นที่ผมเห็นอยู่นี้  ผมคิดว่ามันเป็น  “ฟองสบู่”  อย่างชัดเจนโดยที่ผมเห็น  “สัญญาณ”  ต่าง ๆ  มากมายดังต่อไปนี้

         สัญญาณตัวแรกซึ่งเป็นสัญญาณที่เชื่อถือได้มากในทุกครั้งที่เกิดฟองสบู่หุ้นก็คือ  หุ้นเข้าตลาดครั้งแรกหรือหุ้น IPO โดยเฉพาะในหุ้นตัวเล็กที่มีความต้องการล้นหลามและเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดเป็นวันแรกนั้นราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปแรงมาก  หลาย ๆ  ตัวหุ้นขึ้นไปชนเพดานที่ 200%  หุ้นที่ขึ้นไปเพียง 40%-50% บางทีกลายเป็นที่  “น่าผิดหวัง”  สัญญาณที่แรงขนาดนี้ของหุ้น IPO  ก็อาจจะพอบอกได้ถึงการเก็งกำไรที่ร้อนแรงและเป็นสัญญาณว่ามี  “ฟองสบู่” ได้แล้วในหุ้นตัวเล็ก  แต่เรายังมีสัญญาณอื่น ๆ  อีกมาก

          สัญญาณที่สองก็คือ  ความแพงของหุ้นตัวเล็กที่วัดจากค่า PE PB และ Dividend Yieldหรืออัตราปันผลของหุ้นในตลาดหุ้น MAI ซึ่งเป็นตลาดของหุ้นขนาดเล็ก  โดยค่า PE ของตลาด MAI เท่ากับประมาณ 80 เท่า ค่า PB ประมาณ 5 เท่า  และปันผลประมาณ 1%  นี่เป็นการบอกอย่างชัดเจนว่าหุ้นขนาดเล็กโดยเฉลี่ยมีราคาที่แพงมาก  ถ้าจะให้เดา  มันคงเป็นความแพงที่เหนือกว่าความแพงของตลาดหุ้น Nasdaq ของอเมริกาที่เป็นหุ้นไฮเท็คในช่วงปี 1999 ที่เกิดฟองสบู่และตลาดถล่มลงในปี 2000 ที่ทำให้ดัชนีหุ้นลดลงถึง 50% ในเวลาอันสั้น  ผมก็ได้แต่หวังว่าถ้าของเราเป็นฟองสบู่จริงและ “แตก”  มันจะไม่เลวร้ายขนาดนั้น

          สัญญาณที่สามที่ผมไม่ได้ทำสถิติแต่ใช้การสังเกตไปเรื่อย ๆ  ซึ่งพบว่ามีการเล่นหรือซื้อขายหุ้นตัวเล็กในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับ Market Cap. ของบริษัท  มองคร่าว ๆ ผมคิดว่าการซื้อขายต่อวันของหุ้นในตลาด MAI ในช่วงหลัง ๆ  นี้คิดแล้วน่าจะเฉลี่ยประมาณ 2%-3% ต่อวัน  ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์มีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.3%  หรือพูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือ  หุ้นตัวเล็กนั้น  มีการ “หมุนหุ้น” เป็นเกือบ 10 เท่าของหุ้นตัวใหญ่  สำหรับผมแล้ว  หุ้นที่มีการซื้อขายถึง 1% ของ Market Cap. ต่อวันก็ต้องถือว่ามีการเก็งกำไรสูงมากแล้ว  ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  ถ้าดูหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด 10 หรือ 20 อันดับในแต่ละวันก็จะพบว่าบ่อยครั้งประกอบไปด้วยหุ้นตัวเล็กกว่าครึ่งหรืออย่างน้อยก็ต้องมีหุ้นตัวเล็กแทรกมาหลาย ๆ ตัว  ซึ่งผมคิดว่าในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วมันไม่น่าจะเป็นไปได้เลยที่หุ้นที่มี Market Cap. เพียงพันหรือสองพันล้านบาทจะมีมูลค่าการซื้อขายมากกว่าหุ้นที่มีขนาดหลายแสนล้านบาทได้

           สัญญาณที่สี่เป็นเรื่องของ “Story” หรือข่าวต่าง ๆ  รวมถึงเรื่องของ “Concept” หรือหุ้นที่มีแนวคิดหรือโมเดลทางธุรกิจที่ “น่าตื่นเต้น”  หรือพูดง่าย ๆ  ก็คือเป็นหุ้นที่สามารถ  “สร้างจินตนาการ” ที่บรรเจิด  ในประเด็นนี้ก็คงคล้าย ๆ  กับหุ้นไฮเท็คในตลาด Nasdaq ในช่วงฟองสบู่ที่หุ้นจำนวนมากมีราคาที่ “สูงสุดฟ้า”  เพราะนักลงทุน “ฝัน” ว่ามันจะ  “ปฏิวัติโลก” ของสิ่งต่าง ๆ  ด้วยผลิตภัณฑ์ของบริษัท  อย่างไรก็ตาม  สำหรับหุ้นตัวเล็กของไทยในช่วงนี้คงไม่ถึงขนาดนั้น  แต่มันก็มีพลังพอที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นไปได้มหาศาล  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ราคาหุ้นของไทยในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมและคนเข้ามาเล่นหุ้นกันมากนั้น   แม้แต่เรื่องราวเล็ก ๆ  แต่ขอให้มันมีประเด็นและอิงไปได้ว่ามันจะทำให้บริษัท  “โต”  แบบก้าวกระโดดเท่านั้น  หุ้นก็จะวิ่งไปได้มาก

           สัญญาณที่ห้าก็คือ  นักวิเคราะห์หุ้นที่เป็นมืออาชีพบางคนจะมีการใช้เทคนิคในการประเมินมูลค่าบริษัทที่มี  “ความคิดสร้างสรรค์” สูงขึ้นเรื่อย ๆ  การให้ค่า PE ของบริษัทอาจจะอิงจากค่า PE ในอดีตที่ผ่านมาที่สูงลิ่วและอาจจะบวกค่าการ “เติบโต” ในอนาคตที่จะ  “ก้าวกระโดด”  นอกจากนั้น  มีการใช้ค่า PEG หรือค่า PE ต่อค่า G หรือการเจริญเติบโตที่สูงลิ่วมาแทนค่า PE ซึ่งอาจจะทำให้หุ้นสามารถมีค่า PE สูง 50-60 เท่าได้โดยที่หุ้นยัง  “ไม่แพง” ได้  หุ้นบางตัวนั้นเนื่องจากยังไม่มีกำไรหรือมีกำไรน้อยมาก  การใช้ PE ก็เป็นไปไม่ได้  ดังนั้น  วิธีการใช้ Discounted Cashflows หรือการใช้กระแสเงินสดในอนาคตที่ยาวไกลที่บริษัทจะได้รับมาเป็นฐานในการคำนวณจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากขึ้น  และด้วยวิธีการนี้  การ  “เล่นตัวเลข”  ก็ง่ายขึ้นมาก  พูดอย่างหยาบ ๆ  ก็คือ  คุณแทบจะทำ “มูลค่าที่เหมาะสม”  ของบริษัทให้เป็นเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับ  “สมมุติฐาน” ที่ใช้

           สัญญาณสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ  หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นที่ติดอันดับหนังสือขายดีบนแผงหนังสือนั้น  มีมากมายกว่าหนังสือแนวอื่น  นี่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานหลายปีมาแล้ว  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงหลัง ๆ  นี้  หนังสือแนวการลงทุนที่เน้นการ  “เทรด”  หรือซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ จะขายดีกว่าหนังสือที่เน้นแนว VI  แท้ ๆ  ที่เน้นการลงทุนระยะยาวซึ่งเป็นการแสดงว่าคนสนใจการ “เก็งกำไร”  มากขึ้นโดยเปรียบเทียบ

           สัญญาณทั้งหมดที่พูดถึงนั้นดูเหมือนว่าผมจะเน้นเฉพาะหุ้นตัวเล็ก  แต่จริง ๆ  แล้ว  หุ้นทั้งตลาดไทยเองนั้นก็มีสัญญาณของ  “ฟองสบู่” ที่กล่าวถึงเช่นกันแม้ว่าดีกรีหรืออัตราความรุนแรงจะไม่เท่ากัน  ตัวอย่างเช่น  หุ้น IPO ตัวใหญ่ก็มีราคาปรับขึ้นมากกว่าในภาวะปกติมาก  ค่า PE และ PB ของตลาดหลักทรัพย์เองก็สูงลิ่วเมื่อเทียบกับอดีตและกับประเทศอื่นอีกหลายประเทศ  ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดโดยรวมก็สูงลิ่วและสูงที่สุดในอาเซียนทั้ง ๆ  ที่ขนาดของตลาดเล็กกว่าสิงคโปร์หรือมาเลเซีย  หุ้นตัวใหญ่ของไทยเองก็มีการเล่นกันด้วย Story ต่าง ๆ  ไม่น้อย  Growth หรือการเจริญเติบโตของบริษัทกลายเป็นเรื่องที่นักลงทุนใช้ในการ “ขับดัน”  ราคาหุ้นที่ผมคิดว่า  “มากเกินไป”  เหตุผลก็คือ  มันอาจจะเป็นการโตได้แค่ช่วงสั้น ๆ  ปีหรือสองปีเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า  ส่วนในประเด็นของนักวิเคราะห์เองนั้น  พวกเขาไม่ได้ใช้ “เทคนิคที่สร้างสรรค์” เฉพาะบริษัทเล็กเท่านั้น  และสุดท้ายก็คือเรื่องของหนังสือเกี่ยวกับหุ้นนั้น  มันเป็นสัญญาณที่บอกว่าหุ้นโดยรวมของไทยเองนั้น  ได้รับความสนใจอย่างมากซึ่งก็หมายถึงว่าราคาของมันน่าจะสูงจากความต้องการซื้อของคน


          ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ  หุ้นตัวเล็กนั้นมี  “ฟอง” อย่างแน่นอนเพราะสัญญาณนั้นชัดเจนมาก  และไม่ว่าใครจะพูดอย่างไรผมคิดว่ามันก็หนีไม่พ้นที่จะต้องมีการ “แตก” ในระดับหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว  ประวัติศาสตร์ของหลาย ๆ  เหตุการณ์ในตลาดหุ้นหลาย ๆ  ประเทศมันบอกอย่างนั้น  แต่สำหรับตัวตลาดหลักทรัพย์เองนั้น  ผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็น  “ฟอง” ไหม  ความเชื่อส่วนตัวก็คือ  มันคงมีบ้าง  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันเป็นเรื่องยากที่ฟองจะเกิดเฉพาะในหุ้นเล็กโดยที่ภาวะของหุ้นใหญ่หรือหุ้นโดยรวมไม่เอื้ออำนวย

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย thai stock vi

     

     Value Investor จำนวนมากนั้นถูกสอนให้คิดแบบ  “Bottom Up” หรือวิเคราะห์จากตัวบริษัทหรือหุ้นที่จะลงทุนมากกว่าที่จะคิดถึง “ภาพใหญ่” ของอุตสาหกรรม  ภาวะเศรษฐกิจสังคมหรือประเทศชาติเมื่อคิดจะลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง  แต่ความเป็นจริงก็คือ  มันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามากที่เราจะหาหุ้นที่ดีจากภาวะหรือภาพใหญ่ที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจและการเติบโตของบริษัท  จริงอยู่  ในประเทศหรือในสังคมที่มีระดับการพัฒนาต่ำและ/หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจช้า  เราก็อาจจะยังพบบริษัทที่ดีได้   แต่เทียบกันแล้วมันก็คงจะหาได้ยากและ/หรือดีไม่เท่ากับบริษัทที่อยู่ในสังคมที่ก้าวหน้าและมีการเติบโตสูง  และนี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจว่าประเทศไหนจะดีหรือเติบโตได้มากน้อยแค่ไหนถ้าเราต้องการที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ

           วิธีที่จะดูว่าประเทศไหนจะ “รุ่ง” หรือจะ “ร่วง” ในระยะยาวนั้น  ผมคิดว่าเราต้องดูถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างที่มีการจัดอันดับกันมาตลอด  เพราะนี่จะเป็นการบอกว่าประเทศไหนจะ “ชนะ” หรือ “แพ้” ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลก  อย่างไรก็ตาม  การจัดอันดับที่มีอยู่นั้นผมคิดว่ายังเป็นการมองแบบระยะสั้นหรือกลางมากกว่าระยะยาวเห็นได้จากข้อมูลหรือตัวเลขที่ใช้นั้นมักจะอิงจากข้อมูลมหภาคที่วัดกันเป็นปี ๆ  มากกว่าข้อมูลเชิง  “โครงสร้าง”  ที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก  ดังนั้น  ในฐานะของ VI ผมจึงอยากที่จะเสนอแนวทางการวัดความสามารถการแข่งขันของประเทศอีกแนวหนึ่งที่เน้นการมองระยะยาวและอิงอยู่กับเรื่องของ  “วิวัฒนาการ” ของมนุษย์ที่มีการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ  และมีตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์พอสมควรดังต่อไปนี้

            ประเด็นแรกก่อนที่จะพูดว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสามารถในการแข่งขันของรัฐหรือประเทศ  ผมคิดว่าเราควรจะทำความเข้าใจก่อนว่าไม่มีปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่กำหนดความสามารถได้หมด  ความสามารถของการแข่งขันนั้นถูกกำหนดโดยปัจจัยหลาย ๆ  อย่าง  และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ปัจจัยที่ “บวก” อย่างหนึ่งนั้นบางทีมันไม่สามารถทำงานได้ถ้าปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมันเป็น “ลบ”ที่รุนแรง  นอกจากนั้น  ปัจจัยต่าง ๆ  จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมันมีการเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน  อย่างไรก็ตาม  เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดความสัมพันธ์ต่าง ๆ  เหล่านี้อย่างแม่นยำ  ดังนั้น  มันจึงเป็นเรื่องของศิลปะในการมองว่าความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไรโดยดูจากปัจจัยต่าง ๆ  ที่ประเทศนั้นมีอยู่

           ปัจจัยแรกที่น่าจะสำคัญมากที่จะกำหนดว่าประเทศไหนจะรุ่งหรือร่วงในระยะยาวก็คือ  ระดับ IQ ของคนในชาติ  เพราะระดับ IQ นั้น  ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อ “ผลสำฤทธิ์ทางการศึกษา”  และอื่น ๆ  อีกหลายเรื่องซึ่งน่าจะรวมถึงระดับของเงินเดือนและความก้าวหน้าอื่น ๆ   ดังนั้น  ประเทศที่คนมีระดับ IQ เฉลี่ยสูงก็น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ  ถ้ามองแบบนี้  ประเทศในแบบเอเซียตะวันออกซึ่งรวมถึง ญี่ปุ่น  เกาหลี และจีนก็น่าจะได้เปรียบเพราะคนมี IQ เฉลี่ยค่อนข้างสูงประมาณ 105 ขึ้นไป  ในขณะที่คนในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วมี IQ เฉลี่ยเท่ากับ 100 โดยนิยามก็อยู่ในระดับกลาง ๆ  และคนในอาฟริการวมถึงคนไทยและรอบบ้านเราที่อาจจะเสียเปรียบเนื่องจากระดับ IQ เฉลี่ยดูเหมือนว่าจะต่ำกว่า  อาจจะอยู่ที่ประมาณ 95  อย่างไรก็ตาม  IQ  ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่กำหนดความสามารถในการแข่งขัน  มิฉะนั้น  ประเทศในยุโรปก็คงไม่ได้มีการพัฒนาที่เหนือกว่าประเทศในเอเซียตะวันออกอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

           ปัจจัยสำคัญเรื่องที่สองนั้นอาจจะเป็นเรื่องของระบอบการปกครองและระบบเศรษฐกิจของประเทศ  ค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดว่าระบบเศรษฐกิจแบบ “เปิด”  หรือเศรษฐกิจที่อิงกับตลาดเสรีและเปิดทำมาค้าขายอย่างเสรีกับประเทศอื่น ๆ  นั้น  เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น  ประเทศที่ “ปิด” ไม่ค้าขายกับต่างประเทศเท่าไรนักและระบบการค้าขายไม่เสรีแต่มักอยู่ใน  “กำกับ”  ของรัฐ จะเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำซึ่งทำให้ประเทศมีพัฒนาการที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็น  ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่น  เกาหลีเหนือที่คนมี IQ สูงแต่เนื่องจากระบอบการปกครองที่เป็นเผด็จการและระบบเศรษฐกิจปิด  ทำให้กลายเป็นประเทศที่ล้าหลังมากทางเศรษฐกิจเทียบกับเกาหลีใต้ที่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว  เช่นเดียวกัน  ประเทศพม่าและเวียตนามที่เคยมีระดับการพัฒนาสูงเท่า ๆ  กับไทยเมื่อหลายสิบปีก่อนก็ด้อยกว่ามากในปัจจุบันเนื่องจากประเทศถูกปิดกลายเป็นสังคมนิยมที่ไม่เอื้อต่อความสามารถในการแข่งขัน   อย่างไรก็ตาม  เมื่อเร็ว ๆ  นี้  ทั้งสองก็เริ่ม “เปิดประเทศ” ซึ่งทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเร็วขึ้นมากเทียบกับไทย  และถ้ายังอยู่ในระดับนี้ต่อไป  ก็อาจจะตามทันประเทศไทยในที่สุด

             ความมั่นคงและสงบสุขของประเทศหรือการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองที่มีกฎเกณฑ์ราบรื่น  เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ประเทศที่มีสงครามสู้รบกัน  ไม่ว่าจะระหว่างประเทศหรือการสู้รบของคนในชาติเดียวกันก็เป็นปัจจัยที่ทำลายความสามารถในการแข่งขันที่ร้ายแรง  สงครามในจีนตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับเจียงไคเช็ค  สงครามเกาหลี  สงครามเวียตนาม  และอื่น ๆ  ทำให้ประเทศเหล่านั้นถดถอยไปมาก  อย่างไรก็ตาม  เมื่อสงครามสงบ  ความสามารถในการแข่งขันก็กลับมา  ในบางประเทศอย่างในตะวันออกกลางหรือในอาฟริกานั้น  สงครามระหว่าง “ชนเผ่า”  ยังมีอยู่ตลอดเวลาและเรื้อรังมากทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลงมากจนทำให้ประเทศแทบไม่มีอนาคต

             ประเด็นที่อาจจะยังมีการถกเถียงกันก็คือ  ระหว่างประเทศที่  “ไม่เป็นประชาธิปไตย”  แบบที่มีคนบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจเหนือกว่าคนอื่น  และสามารถ  “สั่งซ้ายหันขวาหันได้” อย่างจีนหรือเกาหลีใต้ในช่วงหนึ่ง  กับประเทศ  “ประชาธิปไตยแบบตะวันตก” ที่ทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีใครสั่งใครได้และทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย  แบบไหนจะเอื้ออำนวยกับความสามารถในการแข่งขันมากกว่ากัน?  ผมเองก็ไม่มีคำตอบ  ผมเพียงแต่คิดว่าแบบแรกนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่าแบบหลัง  เหตุผลก็คือ  ถ้าคนที่มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่นนั้นทำสิ่งที่ไม่ดีแล้ว  การเปลี่ยนแปลงจะทำได้ยากมาก  และถ้าเป็นแบบนั้น  ประเทศอาจจะ  “ลงสู่เหว”   ตัวอย่างน่าจะเป็นแบบฟิลิปปินส์ในสมัยมาร์กอสที่ทำให้ฟิลิปปินส์ซึ่งครั้งหนึ่งรุ่งเรืองมากและเด็กไทยจำนวนหนึ่งต้องไปเรียนหนังสือแต่ปัจจุบันห่างชั้นกับไทยมาก  และในประเทศอีกมากมายในละตินอเมริกา เป็นต้น

            สุดท้ายก็คือเรื่องของ Culture หรือขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของคน  นี่เป็นเรื่องที่ยากที่จะรู้จริงพอสมควร  วัฒนธรรมของ  “ฝรั่ง”  นั้น  อาจจะแตกต่างกับคนเอเชีย  พวกเขามีความเป็นปัจเจกชนสูงกว่า  มีความคิดที่เป็นอิสระกว่า  ดังนั้น  พวกเขาจึงอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเห็นได้จากนักคิดและนักประดิษฐ์ของโลกจำนวนมากมักมาจากคนตะวันตก  ในขณะที่คนเอเชียนั้น  มักจะมี  “วัฒนธรรมพึ่งพิงกัน”    เราเคารพผู้มีอาวุโสและผู้มี “ศักดิ์” ที่สูงกว่า  เราไม่อยากทำตัว “แปลกแยก” จากสังคม  ดังนั้นเราจึงไม่อยากคิดหรือทำอะไรใหม่ ๆ ที่  “เสี่ยง” ต่อสถานะของตน  ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์ของเราจึงน้อยกว่าและนี่อาจจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราด้อยลง

          และทั้งหมดนั้นก็คือปัจจัยที่สำคัญบางส่วนที่กำหนดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  หลาย ๆ  ประเทศสามารถเพิ่มความสามารถนี้และกลายเป็นประเทศที่เติบโตเร็วหรือกลายเป็นประเทศพัฒนาไปแล้ว  หลาย ๆ  ประเทศที่เคยมีความสามารถสูงแต่ด้วยนโยบายที่ผิดพลาดหรือโชคไม่ดีก็ตกต่ำลง  สำหรับนักลงทุนแล้ว  สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดก็คือประเทศที่กำลังเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมากและราคาหุ้นยังไม่ตอบสนอง  และนี่ก็คือประเทศที่เราควรเข้าไปก่อนคนอื่น