“เติบโต &ปันผล” อนาคต VPO

บมจ.วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออย์ คุย “จุดแข็ง” 1 ใน 3 ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบส่งออกด้วยตนเอง“กฤษดา ชวนะนันท์”

อยากให้นักลงทุนมอง หุ้น วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออย์ หรือ VPO เป็นทั้ง “หุ้นเติบโต” หรือ Growth stock และ“หุ้นปันผล” หรือ Dividend Stock เราต้องการเป็นหนึ่งในหุ้นที่สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาวให้กับเหล่านักลงทุน “กฤษดา ชวนะนันท์” กรรมการผู้จัดการ บมจ. วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ เจ้าของวิสัยทัศน์ “พัฒนาไม่หยุดยั้ง สร้างสรรค์ความยั่งยืน” บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”

บมจ. วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ ถือหุ้นใหญ่ 74.89 เปอร์เซ็นต์ ผ่าน “ตระกูลชวนะนันท์” โดยเริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อ 15 ปีก่อน เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดชุมพร “กฤษดา” ถ่ายทอด “จุดเริ่มต้น” ของการทำธุรกิจให้ฟังว่า ในอดีตคุณพ่อมีความฝันว่า “วันหนึ่งต้องเป็นเจ้าของสวนปาล์มให้ได้” ด้วยความที่ท่านทำงานเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้างถนนในภาคใต้ ทำให้ได้พบผู้ใหญ่มากหน้าหลายตา เมื่อมีคนแนะนำสวนปาล์มแห่งหนึ่งให้คุณพ่อรู้จัก เมื่อท่านลองศึกษาเกิดชอบจึงตัดสินใจซื้อสวนปาล์ม

ตอนนั้นเพื่อนของพ่อคัดค้านการทำสวนปาล์ม เพราะช่วงนั้นธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกำลังไปได้ดี ส่วนใหญ่จะบอกว่า “เป็นชาวสวนเหนื่อยนะ จะหาเรื่องใส่ตัวทำไม” แต่ตอนนั้นพ่อกลับมีวิสัยทัศน์ที่ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจะเป็นพื้นฐานในการอุปโภคบริโภค ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือลง แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกปีจะทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบมากขึ้น ซึ่งน้ำมันปาล์มจะเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต

“พ่อมักย้ำกับลูกๆเสมอว่า ธุรกิจปาล์มน้ำมันดิบในวันข้างหน้าจะเป็นรากฐานที่มั่นคงของครอบครัวในอนาคต”

“กฤษดา” บอกว่า ตนเป็นลูกชายคนที่ 9 ในจำนวนพี่น้อง 16 คน ซึ่งพ่อตั้งความหวังไว้ว่าจะให้เรียนจบระดับ “ดอกเตอร์” แต่หลังจากจบปริญญาโท ก็กลับมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัว แต่เมื่อพ่อเสียชีวิตกระทันหันด้วยโรคหัวใจ ทำให้ครอบครัวขาดเสาหลัก ช่วงนั้นพี่ชายรับอาสาดูแลธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ส่วนธุรกิจปาล์มน้ำมันไม่มีใครว่างเข้าไปดู เพราะว่าพี่น้องคนอื่นมีหน้าที่ความรับผิดชอบกันหมด

สุดท้ายเรารับอาสาดูแล ตอนนั้นเข้ามาทำงานแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย เพราะที่ผ่านมายึดอาชีพอาจารย์มาโดยตลอด ช่วงนั้นโรงงานยังไม่เสร็จ ผู้รับเหมานำแบบก่อสร้างมาให้ดู เชื่อหรือไม่ “ดูไปงงไป” แต่บนความไม่รู้เรื่องก็ถือเป็นโอกาส “เราเปรียบเหมือนฟองน้ำ ที่พร้อมจะดูดซับน้ำไว้ทั้งหมด” ผมตั้งใจจะเรียนรู้ทุกอย่าง แรกเริ่มกะว่าจะทำงานในส่วนของสวนปาล์มและโรงงาน แต่ปรากฎว่า พี่สาวและน้องชายเขามาช่วยดูแลในส่วนของสวนปาล์ม เราเลยรับหน้าที่ดูแลโรงงานเป็นหลัก

ช่วงที่กำลังเรียนรู้เรื่องธุรกิจ บริษัทก็มีผลการดำเนินงาน “ขาดทุน” มาตลอด จนบรรดาพี่น้องต้องมานั่งคุยกันว่า เราจะทำอย่างไรดีกับธุรกิจปาล์มน้ำมัน พ่อก็ไม่อยู่แล้ว ช่วงนั้นยอมรับว่า “ท้อ” ถึงขั้นปรึกษากันว่าจะขายกิจการดีหรือไม่ แต่ผลสุดท้ายก็ตัดสินใจไม่ขาย เพราะว่าธุรกิจปาล์มน้ำมันเป็นความฝันของพ่อ ทุกครั้งที่นึกถึงคำพูดของพ่อ ทำให้คิดได้ว่า “พ่อต้องมองเห็นอะไรสักอย่าง”

หลังจากนั้นไม่นาน ธุรกิจก็เติบโตจริงๆ หลังโรงงานเปิดดำเนินการในปี 2535 ด้วยกำลังการผลิตครั้งแรกเพียง 20 ตันต่อชั่วโมง หลังซื้อผลปาล์มได้น้อย เพราะชาวสวนเขาไม่ขายปาล์มให้เราเนื่องจากมองว่า บริษัทอาจ “เจ๊ง” ไม่มีเงินจ่าย แต่เมื่อเราทำความเข้าใจกับชาวสวนและมีการทำสนธิสัญญา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้าน ผ่านมาเพียง 2 ปี บริษัทก็มีผลการดำเนินเป็น “กำไร” ปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 180 ตันต่อชั่วโมง

“ผมอยากเห็นบริษัทขยายตัวแบบยั่งยืน หากถามถึงจุดแข็ง แน่นอนเราถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบัน VPO คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ 1 ใน 3 ของบริษัทที่สามารถส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปต่างประเทศได้ด้วยตนเอง”

กรรมการผู้จัดการ เล่าว่า สำหรับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งการอุปโภคบริโภค และการใช้เป็นไบโอดีเซล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทน ยิ่งเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปี 2558 อุตสาหกรรมนี้ยิ่งขยายตัว

“เราไม่เน้นเติบโตด้านรายได้ แต่เน้นความสามารถในการทำกำไร”

เมื่อถามถึงเป้าหมายรายได้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2558-2562) เขายอมรับว่า มีโอกาสเติบโตแบบ “ก้าวกระโดด” ภายใต้สมมุติฐานที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จากการซื้อกิจการใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วันนี้บริษัทมีระบบที่ดี ขณะที่พนักงานทุกคนก็สามารถต่อยอดธุรกิจได้ ประกอบกับยังมีฐานการตลาดที่มั่นคง ฉะนั้นหากเราสามารถรวมกิจการกับใครได้ ก็จะทำให้บริษัทมีฐานการตลาดที่ใหญ่ขึ้นอีก

“นายใหญ่” บอกว่า หลังจากได้รับเงินจากการระดมทุน บริษัทจะนำไปคืนเงินกู้ในสัดส่วน 70 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีหนี้อยู่ 1,000 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทสามารถลดภาวะดอกเบี้ยต่อปีได้ถึง 20 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีต้นทุนดอกเบี้ยอยู่ที่ 55 ล้านบาทต่อปี ที่เหลือจะนำไปเสริมสภาพคล่อง เพื่อเตรียมความพร้อม เมื่อมีโอกาสการลงทุนใหม่ๆเข้ามา

“หากโอกาสเดินเข้ามา ในขณะที่เรามีความพร้อมเรื่องเงิน เราก็จะไม่เสียโอกาส”

“กฤษดา” พูดถึง “จุดอ่อน” ของบริษัทว่า ด้วยกำลังการผลิตที่ใหญ่ บางครั้งถือเป็นจุดตำหนิเปรียบเหมือนเราเป็นขันใบใหญ่ เวลาน้ำขึ้น เราก็ตักได้เยอะ แต่เวลาน้ำลงต้องหันกลับมาดูว่า ขันเรารั่วหรือไม่ ซึ่งถ้ามีจุดรั่วไหลเราต้องอุด ปัจจุบันบริษัทก็พยายามอุดรอยรั่วที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะผลิตปาล์มที่มีคุณภาพได้

สำหรับผลประกอบการในปี 2556 บริษัทมีรายได้รวม 3,239 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 172 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 154 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายน้ำมันปาล์มดิบ 80 เปอร์เซ็นต์ รายได้จากการขายเมล็ดปาล์ม 16 เปอร์เซ็นต์ รายได้จากการไฟฟ้า 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต

“ปี 2557 เราหวังจะมีกำไรสุทธิมากกว่าปีก่อน” “กรรมการผู้จัดการ” ฟันธง..

VPO-setlnw-บริษัท วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ จำกัด (มหาชน)

เติบโตอย่างยั่งยืน

หุ้น-growth-chart

ในวงการตลาดหุ้นเวลาพูดถึงความสำเร็จของตลาดหุ้นมักจะพูดถึงเรื่อง มูลค่าตลาด
Market Capitalization) ว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน
            ยิ่งมีขนาดใหญ่มาก ก็ยิ่งถือว่าเก่ง ประสบความสำเร็จสูง
            แต่ถ้ามีขนาดเล็กก็ดูจะเดือดร้อนต้องออกแรงทำให้ใหญ่ขึ้น
            มาตรการที่จะทำให้ใหญ่ขึ้น ดูเหมือนจะเน้นอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ คือ
 
          1.หาบริษัทใหม่ๆมาจดทะเบียนให้มากขึ้น
2. หาทางไปชักชวนนักลงทุนต่างด้าว ให้มาลงทุนมากขึ้น

            2 มาตรการ 2 ยุทธศาสตร์นี้ ถือว่าสำคัญและจำเป็น
         เพราะถ้ามีบริษัทเข้ามามากขึ้น ก็หมายถึงปริมาณหุ้นในตลาดมีมากขึ้น

            ขณะเดียวกัน ถ้ามีคนต่างประเทศขนเงินเข้ามาซื้อหุ้น
ย่อมมีส่วนทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปได้

           ทั้งจำนวนก็มีมากขึ้น ทั้งราคาก็ขยับขึ้น 
Market Cap ก็ย่อมจะใหญ่ขึ้น
            เพราะ Market Cap จริงๆ แล้วคือ ผลคูณของปริมาณหุ้นกับ ราคาหุ้นทั้งตลาด
แล้วจะมารวมกัน
            ผมมีข้อเสนอเป็นมาตรการที่ 3 ที่จะทำให้ 
Market Cap ของตลาดหุ้น
เติบโตอย่างมีคุณภาพ นอกจากจะเติบโตแบบปริมาณ ตาม 2 มาตรการแรก
 
            มาตรการที่ 3 คือ ให้มีความสนใจ กับคุณภาพการสร้างมูลค่า
Quality of Value Creation)
ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเรียบร้อยแล้ว
            ตอนนี้ เรามีบริษัทในตลาดหุ้นกว่า 500 บริษัท
 
ถ้า CEO แต่ละบริษัท สามารถทำให้กำไรสุทธิของตน โตขึ้น 10%
Market Cap ก็น่าจะโตขึ้น 10% ด้วยเช่นกัน
            เป็นการโตที่ยังไม่ต้องพึ่งจากพลังภายนอก เช่น การนำบริษัทใหม่ๆมาจดทะเบียน
หรือการดึงเงินจากต่างประเทศเข้ามา
 
เพราะต้องถือว่า การเติบโตแบบนี้ เป็นการเติบโตในเชิงปริมาณ
            ตรงข้ามกับการเติบโตในเชิงคุณภาพ เป็นการเติบโตจากภายใน
คือ จากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดเรียบร้อยแล้ว
            
ถามว่า เป็นไปได้ไหม?
            ขอตอบว่า เป็นไปได้อย่างยิ่ง เห็นได้ชัดๆ จากบริษัทพลังงานใหญ่แห่งหนึ่ง
ซึ่งเข้ามาจดทะเบียนในปี 25….
            
บริษัทมีทุนชำระแล้ว 28,184,770,250 บาท
ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท
เท่ากับมีหุ้นกว่า 2,818 ล้านหุ้น
            
ตอนหุ้น IPO บริษัทนี้เสนอให้คนจอง เพียงราคา 35 บาท
ผลคือมีคนจองจนล้น ภายในเวลาพริบตาเดียว
            
Market Cap ของบริษัทนี้ ในตอน IPO จึงเท่ากับ 2,818 x 35 = 98,630 ล้านบาท
 
            พอวันแรกเข้ามาซื้อขาย ราคาหุ้นก็ขึ้นไปเกินราคาจองนิดหน่อย แล้วก็ลงมาตลอด
เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน
            
ใครที่จองไม่ได้ มีโอกาสซื้อของถูกกว่าราคาจอง ได้อย่างสะดวกโยธิน
อาจจะเป็นเพราะตอนนั้น คนยังมองไม่ออก ถึงศักยภาพการสร้างมูลค่า
ของ CEO และผู้บริหาร ก็เป็นได้
 
            หลังจากนั้น พอผลประกอบการออกมาดี ไตรมาสแล้ว ไตรมาสเล่า นักลงทุนทั้งไทย ทั้งเทศ
ทั้งใหญ่ ทั้งเล็ก ก็หันมาให้ความสนใจ ทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นเรื่อยๆ
แม้บางครั้งจะมีการปรับตัวลงมาบ้าง ก็เป็นช่วงสั้นๆ
แต่แนวโน้มระยะยาว ดูสดใสยิ่งนัก
            หุ้นของบริษัทเคยมีราคาสูงถึง 440 บาทต่อหุ้น
Market Cap  ขึ้นมาเท่ากับ 2,818 ล้านหุ้น x 440
หรือ 1,239,920 ล้านบาท คิดเป็น 12.6 เท่าของตอน 
IPO ทั้งๆที่บริษัทไม่ได้มีการเพิ่มทุน แม้แต่หุ้นเดียว
 
            จริงครับ บริษัทอาจจะโชคดี ที่อยู่ในหมวดพลังงาน
เลยได้อานิสงฆ์ จากการที่ราคาน้ำมันดิบ ขึ้นมาอย่างบ้าเลือด
ถึงบาเรลล์ละกว่า $126 หรือในอนาคตอาจจะสูงกว่านี้ก็ได้
ไม่มีใครรู้
            ผมว่า ราคาน้ำมันขึ้น ก็เป็นเพียงปัจัยสำคัญ
ปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยให้รายได้ของบริษัท เติบโตเพิ่มขึ้น
            แต่ถ้าทีมผู้บริหาร ซึ่งมี CEOคนเก่งเป็นแม่ทัพ
ไม่ได้บริหารงานอย่างมุ่งมั่น เพื่อสร้างมูลค่า ให้แก่ผู้ถือหุ้น
บริษัทอาจจะไม่ได้มาไกล ขนาดนี้ ก็เป็นได้
 
            เห็นไหมครับ บริษัทนี้ช่วยเพิ่ม Market Cap ได้
โดยไม่ต้องมีการเพิ่มจำนวนหุ้น แต่ก็เป็นได้ว่า
มีนักลงทุนต่างชาติ เช้ามาซื้อช่วยดันให้ราคาวิ่งขึ้นด้วย
            อย่างไรก็ดี ผมเชื่อว่า ต่างชาติเป็นนักลงทุนที่มีสมองเหมือนกัน
ไม่ใช่ลงทุนตามกระแส และที่เขาเข้ามาซื้อหุ้นบริษัทนี้
เพราะเชื่อในพลังการสร้างมูลค่า ของทีมผู้บริหารเป็นหลัก
 
            โดยสรุปคือ ถ้าเราทำให้ CEO ทั้ง 500 กว่าบริษัท
มีความตั้งใจมุ่งมั่น ที่จะสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น อย่างมีคุณภาพ
 
            ตลาดหุ้นของไทย จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ผู้ลงทุนจะได้นอนหลับฝันดีครับ