บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น

บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น 4 กุมภาพันธ์ 2558

มุมมองตลาด

ตลาดหุ้นไทยปิดทะลุ 1600 จุด ปัจจัยบวกยังคงเป็นเรื่องของกระแสเงินลงทุนที่ไหนเข้าสู่ตลาดทุน หนุนจากนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตามจากมาตรการ QE ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆพบว่าแผนมูลค่า 1.1 ล้านล้านยูโรของธนาคารกลางยุโรปอาจไม่ได้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในแถบเอเชียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่จะช่วยให้ตลาดทรงตัวอยู่ในระดับซื้อขายที่ค่อนข้างสูงได้ ในส่วนของภาวะการซื้อขายของตลาดโดยรวมพบว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเนื่องจากเหตุผล

1.จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐลดจากเดือนต.ค 57 ราว 24%
2.กองทุนเฮดฟันด์ทำ short covering ช่วงเปลี่ยนซีรีส์
3.การวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบเร็วทำให้กลุ่มผลิตน้ำมันดิบลดจำนวนแท่นผลิต
4.ปริมาณอุปสงค์น้ำมันดิบทั่วโลกยังเพิ่มช้ากว่าคาด

สรุป : มุมมองราคาน้ำมันดิบอาจฟื้นตัวระยะสั้น อย่างไรก็ตามระยะยาวคาดว่าราคาน้ำมันจะยังไม่ปรับตัวขึ้นได้ไกล ฝ่ายวิเคราะห์เราคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 4/57 กำไรของบริษัทในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะอ่อนตัวลง

สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ถึงความเสี่ยงภายหลังจากการสร้างรูปแบบ Triple top ของการเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิค RSI ปรับตัวขึ้นเข้าสู่กรอบบน Overbought ( กรณีหักล้างดัชนีต้องทะลุ 1610 จุดขึ้นไปและยืนเหนือได้) นอกจากนี้เรามองว่าตลาดจะมีความเสี่ยงจากเครื่องมือ RSI ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้กรอบบนซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างแพง
มุมมองราคาน้ำมันดิบและหุ้นกลุ่มพลังงาน

ราคาน้ำมันดิบ Wti เทรดในตลาด New York กับ Brent ที่ซื้อขายในตลาด London เมื่อวานยังคงทะยานขึ้นต่อจากภาวะ oversold โดยมีปัจจัยเรื่องการลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในประเทศสหรัฐเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อ cover ฟิวเจอร์กลับจากบรรดากองทุนเฮดฟันด์ที่ทำการซื้อขายและเปิดสัญญาด้าน Short มาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานน้ำมันเองนั้นยังไม่เห็นสัญญานที่ชี้ชัดว่า ราคาน้ำมันที่ระดับ $53 ต่อบาร์เรลจะสามารถทรงตัวได้ในขณะนี้ท่ามกลางปริมาณน้ำมันดิบผลิตที่เพิ่มขึ้นจากทั้งกลุ่มโอเปค และ นอกกลุ่มโอเปค

PTT ราคาปิดเมื่อวานนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนเทียบเท่ากับตลาดโดยรวม โดยปัจจัยที่ไม่แน่นอนของตลาดน้ำมัน แต่ปัจจัยบวกระยะสั้น คือ การขายหุ้นที่ถือใน BCP ออกไปให้กองทุนวายุภักษ์ 15% และกำลังเจรจาขายหุ้นที่เหลืออีก 12% ให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นรายอื่นต่อไป โดยได้เงินราว 1 หมื่นล้านบาท และมีกำไรราว 5 พันล้านบาท เราประเมินว่าโอกาสที่ราคาหุ้นจะขึ้นได้ดีกว่าดัชนีตลาดฯนั้นยาก เราแนะนำขายระดับ 380 +/-

PTTEP ราคาปิดสะท้อนการดีดตัวระยะสั้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่ราคาน้ำมันดิบเราประเมินระยะสั้นได้เพียง $55 ต่อบาร์เรล ดังนั้น ราคาหุ้นน่าจะทดสอบแนวต้าน 125 บาท และน่าจะทะลุไปได้ไม่เกิน 130 บาท มุมมองสั้น รอขายที่บริเวณราคาแนวต้าน

รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น 2 กุมภาพันธ์ 2558

“Up and Down” วันนี้คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวรับ 1,571 แนวต้าน 1,590 จุด

ปัจจัยลบ Liquidity drain (กันเงินจองซื้อ IPO JASIF 28 ม.ค.-3 ก.พ.), US-GDP 4Q14 เมื่อวันศุกร์ +2.6% แย่กว่าคาดที่ +3.2% (จาก 5%) และตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์นี้คาดชะลอลง (เมื่อวันอาทิตย์ จีน PMI ลงเหลือ 49.8 จาก 50.1 แย่กว่าคาด) ส่งผลวิตก Earning downward revision, การชุมนุมในสเปนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลวิตกพรรคฯต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ชนะเลือกตั้ง พย.นี้ (EU-QE ขาดเอกภาพ) ส่วนปัจจัยหนุนดัชนีฯ คาดจะมาจากการรีบาวด์ (ไม่ไกล) ของหุ้นน้ำมัน ตามราคาน้ำมันดิบ (เด้งมาเป็นโอกาสในการขาย Short)

ระยะสัปดาห์ คาดดัชนีฯมีแนวโน้มลงทดสอบ แนวรับ 1,560 จุด แนวต้าน 1,600/1,610 จุด จากผิดหวังกำไร บจ.ไม่ดีอย่างที่คาด
ระยะเดือน (กพ.) คาดความผันผวนของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดการเงินโลก และ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกแย่กว่าคาด จะกดดันหุ้นโลก และหุ้นไทย กลยุทธ์ แนะนำ รีบาวด์เป็นโอกาสในการกระชับพอร์ต หุ้นใหญ่ (น้ำมัน ปิโตรเคมี สินค้าโภคภัณฑ์ แบงก์ บ้าน ฯลฯ) แนวรับรายเดือนคาด 1,550 ถ้าหลุดคาดแนวรับถัดไป 1,515 จุด แนวต้าน 1,600 (+/-10) จุด

หุ้นแนะนำ เก็งกำไรหุ้น Local play: TSR JMART, BCP เก็งข่าววายุภักดิ์รับซื้อจาก (ปลดล็อกประเด็น PTT ขายในตลาดกดดันราคาหุ้น)

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด

(-) รัสเซียลดดอกเบี้ย 2% เหลือ 15% สร้างความประหลาดใจต่อตลาด คาดค่าเงินรัสเซียจะผันผวนหนัก ส่งผลให้ เงินทุนมีโอกาสไหลออก กดดันตลาดหุ้นรัสเซีย (ผลขาดทุนจากตลาดหุ้น BRIC (รัสเซียรวมอยู่ในตะกร้า BRIC ด้วย) คาดมีผลต่อแรงขายล็อกกำไรตลาดหุ้น EM)

(-) วันจันทร์ US ISM (ม.ค.) คาด 55 ลดลงจาก 55.5, US Core PCE คาด 0%, Personal spending (ธ.ค.)คาด -0.2% จาก +0.6% m-m, EU PMI (ม.ค.) คาด 51 (ไม่เปลี่ยนแปลง), ไทย รายงานเงินเฟ้อ (ม.ค.) คาด +0.4% จาก 0.6% / ภาวะเศรษฐกิจโลก และเงินเฟ้อไทย ส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว กระทบ Earning downward revision

(-) อังคาร คาด ธนาคารกลางออสเตรเลียลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.25%, อินเดีย คาดคงดอกเบี้ย 7.75% (แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายสะท้อนความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอกว่าคาด)

(+) พุธ US ISM ภาคบริการ (ม.ค.) คาด +56.5 จาก 56.2, EU PMI composite (ม.ค.) 52.2 (ไม่เปลี่ยนแปลง)
(-) พฤหัส BOE meeting, อินโดนีเซีย คาด GDP 4Q14 ลงเหลือ 4.9% จาก 5%y-y, ฟิลิปปินส์ คาด เงินเฟ้อ (ม.ค.) CPI ลงเหลือ 2.3% จาก 2.7%

(-) ศุกร์ US การจ้างงานนอกภาคเกษตร +2.31 แสนราย (ลดลงจาก 2.52 แสนราย) และอัตราว่างงาน 5.6% (คงที่)