บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น

บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น 4 กุมภาพันธ์ 2558

มุมมองตลาด

ตลาดหุ้นไทยปิดทะลุ 1600 จุด ปัจจัยบวกยังคงเป็นเรื่องของกระแสเงินลงทุนที่ไหนเข้าสู่ตลาดทุน หนุนจากนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตามจากมาตรการ QE ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนๆพบว่าแผนมูลค่า 1.1 ล้านล้านยูโรของธนาคารกลางยุโรปอาจไม่ได้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในแถบเอเชียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่จะช่วยให้ตลาดทรงตัวอยู่ในระดับซื้อขายที่ค่อนข้างสูงได้ ในส่วนของภาวะการซื้อขายของตลาดโดยรวมพบว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเนื่องจากเหตุผล

1.จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐลดจากเดือนต.ค 57 ราว 24%
2.กองทุนเฮดฟันด์ทำ short covering ช่วงเปลี่ยนซีรีส์
3.การวิ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบเร็วทำให้กลุ่มผลิตน้ำมันดิบลดจำนวนแท่นผลิต
4.ปริมาณอุปสงค์น้ำมันดิบทั่วโลกยังเพิ่มช้ากว่าคาด

สรุป : มุมมองราคาน้ำมันดิบอาจฟื้นตัวระยะสั้น อย่างไรก็ตามระยะยาวคาดว่าราคาน้ำมันจะยังไม่ปรับตัวขึ้นได้ไกล ฝ่ายวิเคราะห์เราคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 4/57 กำไรของบริษัทในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะอ่อนตัวลง

สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ถึงความเสี่ยงภายหลังจากการสร้างรูปแบบ Triple top ของการเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิค RSI ปรับตัวขึ้นเข้าสู่กรอบบน Overbought ( กรณีหักล้างดัชนีต้องทะลุ 1610 จุดขึ้นไปและยืนเหนือได้) นอกจากนี้เรามองว่าตลาดจะมีความเสี่ยงจากเครื่องมือ RSI ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้กรอบบนซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดที่ค่อนข้างแพง
มุมมองราคาน้ำมันดิบและหุ้นกลุ่มพลังงาน

ราคาน้ำมันดิบ Wti เทรดในตลาด New York กับ Brent ที่ซื้อขายในตลาด London เมื่อวานยังคงทะยานขึ้นต่อจากภาวะ oversold โดยมีปัจจัยเรื่องการลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในประเทศสหรัฐเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อ cover ฟิวเจอร์กลับจากบรรดากองทุนเฮดฟันด์ที่ทำการซื้อขายและเปิดสัญญาด้าน Short มาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานน้ำมันเองนั้นยังไม่เห็นสัญญานที่ชี้ชัดว่า ราคาน้ำมันที่ระดับ $53 ต่อบาร์เรลจะสามารถทรงตัวได้ในขณะนี้ท่ามกลางปริมาณน้ำมันดิบผลิตที่เพิ่มขึ้นจากทั้งกลุ่มโอเปค และ นอกกลุ่มโอเปค

PTT ราคาปิดเมื่อวานนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนเทียบเท่ากับตลาดโดยรวม โดยปัจจัยที่ไม่แน่นอนของตลาดน้ำมัน แต่ปัจจัยบวกระยะสั้น คือ การขายหุ้นที่ถือใน BCP ออกไปให้กองทุนวายุภักษ์ 15% และกำลังเจรจาขายหุ้นที่เหลืออีก 12% ให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นรายอื่นต่อไป โดยได้เงินราว 1 หมื่นล้านบาท และมีกำไรราว 5 พันล้านบาท เราประเมินว่าโอกาสที่ราคาหุ้นจะขึ้นได้ดีกว่าดัชนีตลาดฯนั้นยาก เราแนะนำขายระดับ 380 +/-

PTTEP ราคาปิดสะท้อนการดีดตัวระยะสั้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่ราคาน้ำมันดิบเราประเมินระยะสั้นได้เพียง $55 ต่อบาร์เรล ดังนั้น ราคาหุ้นน่าจะทดสอบแนวต้าน 125 บาท และน่าจะทะลุไปได้ไม่เกิน 130 บาท มุมมองสั้น รอขายที่บริเวณราคาแนวต้าน

สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง

สื่ออังกฤษชี้ AEC ไม่ช่วย “ไทย” หลังเสียศูนย์จากพิษการเมือง แต่กลุ่มทุนข้ามชาติได้เต็มๆจากละเมิดสิทธิฯในอาเซียน

เอเจนซีส์ – AEC หรือการรวมตัว 10 ชาติในย่านเอเชียแปซิฟิกที่มีประชากรอาศัยรวมกันร่วม 620 ล้านคนเพื่อเป็นตลาดเดียวที่มีมูลค่าสูงถึง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่จะเปิดพรมแดนติดต่อร่วมกันเป็นทางการในปลายปีนี้ แต่ทว่าเดอการ์เดียน สื่ออังกฤษชี้ว่า การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่เลียนแบบกลุ่มสหภาพยุโรปนี้ อาจไม่ช่วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจทั้งหมดอาจตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน นอกจากนี้ สื่ออังกฤษยังชี้ ไทยอาจไม่ได้รับความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการรวมตัวของ AEC เพราะโดนพิษการเมืองเล่นงาน ทำให้เสียความได้เปรียบไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า

เดอะการ์เดียน รายงานวันที่ 3 ก.พ. 2014 ถึงโอกาสและศักยภาพของ AEC การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ 10ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มี (1)พม่า (2)บรูไน (3)กัมพูชา (4) อินโดนีเซีย (5)ลาว (6)มาเลเซีย (7)ฟิลิปปินส์ (8)ไทย (9)สิงคโปร์ และ (10)เวียดนาม เป็นสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่มีรูปแบบคล้ายสหภาพยุโรป เพื่อหาประโยชน์จากการรวมตัวการค้าตลาดเดียวมูลค่าสูงถึง2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีประชากรร่วม 620 ล้านคนอาศัย และช่องทางการค้าเสรีที่ทำให้มีศักยภาพในการต่อรองสูงขึ้น ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่า ถึงแม้จะยังไม่มีการเปิดตัวของ AEC อย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นความหอมหวลของ AEC สามารถดึงดูดนักลงทุนที่สนใจเข้ามาในภูมิภาคนี้แล้ว

แต่กระนั้นบรรดานักสังเกตการณ์เตือนว่า ในบางส่วนของพื้นที่ หรือแม้กระทั่งทั้งประเทศอาจอยู่ในสภาพที่แย่กว่าเดิม เนื่องมาจากความเสี่ยงพลเมืองในพื้นที่ที่จะถูกริดรอนสิทธิมนุษยชน รีดเอาหยาดเหงื่อแรงงานและสิทธิที่ควรได้ในฐานะความเป็นมนุษย์ไปให้กับการเติบโตทางตัวเลขเศรษฐกิจของกลุ่มทุนขนาดยักษ์แทน

ทั้งนี้มีการคาดการตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 5 % ต่อปี ของ AECที่มีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และถึงขั้นต้องการให้แซงหน้ากลุ่มเศรษฐกิจสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงญี่ปุ่น ไปในท้ายที่สุดก่อนปี 2018 แต่ทว่าเมื่อวิเคราะห์ถึงศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิก สื่ออังกฤษชี้ว่า ทั้ง 10ประเทศมีความแตกต่างเป็นอย่างมากทั้งในด้านการปกครอง สภาพเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง และภาษาที่ใช้ ทำให้มีความกังวลว่า ความฝันที่จะทำให้ AEC จะเริ่มเปิดได้จริงตามกำหนดภายในสิ้นปีนี้ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาว่า เช่น พม่า ซึ่งเป็นชาติที่จนที่สุดในบรรดา 10ประเทศ ซึ่ง 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในขณะที่สิงคโปร์ ที่ถือเป็นชาติร่ำรวยที่สุดในกลุ่ม มีพลเมืองถูกจัดอันดับว่าร่ำรวยที่สุดในโลก

มุสตาปา โมฮาเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาเลเซียกล่าวว่า “ประชาคมโลกธุรกิจต้องการอาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัญหาอีกมาก เช่น ปัญหาเขตแดน ปัญหาศุลกากร ปัญหาการเดินทางข้ามถิ่น และระบบควบคุมที่ใช้มาตรฐานต่างกัน”

ทั้งนี้มาเลเซีย ที่ถือเป็นประเทศที่ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเลกทรอนิก นั่งเป็นประธานกลุ่ม AEC ที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ได้ออกมาเตือนว่า จะไม่มีโอกาสได้เห็นการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าและบริการข้ามพรมแดนภายใน AEC ก่อนปี 2020 อย่างแน่นอน ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้นทางประเทศสมาชิกเพียงแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับการเปิดใช้จริง”

อย่างไรก็ตาม เดอะการ์เดียนชี้ว่า ถึงแม้จะมีความต่างเป็นอย่างมากในะหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่นี้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนขยาด แต่ทว่าสื่ออังกฤษไม่คิดว่า AEC จะประสบปัญหาหนี้เน่าเหมือนเช่น EU กำลังเผชิญหน้าอยู่ เป็นเพราะในแต่เริ่มแรก AEC ไม่มีเป้าหมายรวมตัวเพื่อใช้สกุลเงินเดียว และมีรัฐสภายุโรป เช่น สหภาพยุโรป

แต่ทว่าความต่างที่หลากหลายทางสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก ทำให้บางประเทศได้รับผลประโยชน์ไปแล้วจากแนวคิดการรวมตัว AEC แซงหน้าประเทศอื่น ซึ่งจากรายงานล่าสุดของบริษัทกฎหมาย เบเกอร์และแมคเคนซีชี้ว่า สิงคโปร์ยังคงได้รับความไว่วางใจจากธุรกิจข้ามชาติให้เป็นฐานถึง 80 % จากการที่สิงคโปร์เป็นฮับทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ รวมถึงการเป็นตลาดเปิด

นอกจากนี้ยังพบว่า อินโดนีเซีย และพม่าจะเป็นอีก 2 ชาติที่ได้รับประโยชน์ในการเปิด AEC จากการที่ทั้งสองชาติถูกโหวตให้เป็นฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติในอีก 5 ปีข้างหน้า

ซึ่งต่างจากไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ แต่ไทยได้เสียศักยภาพการแข่งขันไปให้กับประเทศที่มีการเมืองมั่นคง และค่าแรงถูก รวมไปถึงระบบควบคุมทางธุรกิจที่เอื้อนักลงทุนมากกว่า ราจีฟ บิสวาซ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แผนกเอเชียแปซิฟิกประจำIHS ให้ความเห็น “ความยุ่งเหยิงทางการเมืองล่าสุดในไทยทำให้ประเทศดูมีความเสี่ยงมากขึ้นในสายตานักลงทุนข้ามชาติ และทำให้คนเหล่านี้ลังเลที่จะนำเม็ดเงินกลับเข้ามาลงทุนในไทยอีกครั้ง แต่ในทางตรงกันข้าม เวียดนามจะเห็นการลงทุนต่างชาติมากขึ้น ในการทำสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคของประเทศมีความแข็งแกร่งมากขึ้น รวมไปถึงทำให้ค่าแรงของเวียดนามต่ำลงเพื่อที่จะสามารถสู้กับค่าแรงของจีนได้”

เดอะการเดียนวิเคราะห์ว่า การเติบโตของชุมชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหมายถึงศักภาพตลาดภายในภูมิภาคที่มีกำลังซื้อสูงตามไปด้วย และหากค่าแรงของจีนถูกปรับเพิ่มขึ้น จะกลายเป็นโอกาสสำหรับอาเซียน ซึ่งจะทำให้มีการเติบโตของแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมือตามมาเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากร 620 ล้านคนในกลุ่ม AEC เหล่านักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “น่าเป็นห่วง” จากปัญหาการค้าแรงงานทาสที่เป็นปัฯหาสำคัญในภูมิภาคนี้ รวมไปถึงปัญหาแนวคิดก่อการร้าย

ในแถลงการณ์ล่าสุดของกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดAsean People’s Forum หรือ APF ได้แจกแจงปัญหาที่เกิดในภูมิภาคนี้ เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน คอรัปชันและการไร้ประสิทะภาพในการบริหารประเทศ การเข้ายึดครองที่ดินของรัฐ รัฐบาลทหารและเผด็จการ ปัญหาแรงงานทาส ปัญหาการรใช้อำนาจป่าเถื่อนของตำรวจในเครื่องแบบ การขาดธรรมาธิบาลและความรับผิดชอบสังคมของกลุ่มธุรกิจ และที่กลุ่ม APF เป็นกังวลมากขึ้น คือการที่กลุ่มทุนใช้ต้นทุนมนุษย์ของประชาชนในการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น ในบางประเทศสมาชิก AEC อนุญาตให้บริษัทสามารถฟ้องรัฐบาลหากเกิดข้อขัดแย้งกับกฎหมายท้องถิ่นที่ขวางการทำธุรกิจ ซึ่งการรวมตัวจะทำให้สิทธิของชุมชนในพื้นที่ การขยายขอบเขตการปกป้องแรงงาน หรือการป้องกันมลพิษนั้นอาจต้องหมดไปหากมี AEC เกิดขึ้น และจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ประชากรรากหญ้าที่อาศัยในชุมชน และบริษัทข้ามชาติ ระบาดไปทั่วAEC ฟิล โรเบิร์ตสัน ( Phil Robertson ) นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนกล่าว

แต่ทว่าในท้ายที่สุด สื่ออังกฤษสรุปท้ายจากความเห็นของนักธุรกิจชั้นนำของพม่า Thaung Su Nyein ว่า การเกิดของ AEC สมควรที่จะต้องให้ความสนใจมากกว่าหวาดระแวง เนื่องจากจะนำการเติบโตทางเศรษฐกิจและการคมนาคมอย่างยั่งยืนมาสู่ภูมิภาค “ คิดว่าเราต่างควรต้อนรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ฝึกคน

aec-setlnw-thai2

กสิกรไทย ผนึกซีพี ออลล์ เปิดตัว “บัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE”

กสิกรไทย ผนึกซีพี ออลล์ เปิดตัว “บัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE” ตั้งเป้าออกบัตรปีนี้ 1 ล้านใบ

setlnw-kasikornbank cpall_new_setlnw

ธนาคารกสิกรไทย จับมือซีพี ออลล์ ออก “บัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE” เน้นเป็นยูนิเวอร์แซล เดบิต การ์ด (Universal Debit Card) ชูจุดแข็งใบเดียวสะดวกสุด ๆ ใช้ที่เซเว่นอีเลฟเว่นกว่า 8,000 สาขาทั่วประเทศ และร้านอื่นได้ทั่วโลก พร้อมรับสิทธิประโยชน์ครบครันจากธนาคารกสิกรไทย และเซเว่นอีเลฟเว่น เปิดบริการมีนาคมนี้ ตั้งเป้าออกบัตร 1 ล้านใบ

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในฐานะผู้นำธุรกิจบัตรเดบิต ธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งพัฒนา “ยูนิเวอร์แซล เดบิต การ์ด” (Universal Debit Card) คือ ใช้บัตรเดบิตเพียงบัตรเดียวได้ในทุกที่และทุกเรื่อง ทั้งธุรกรรมการเงิน การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การเดินทาง ท่องเที่ยว การช้อปปิ้งทั้งในร้านค้าและบนออนไลน์ พร้อมมีสิทธิประโยชน์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายในแต่ละไลฟ์สไตล์

ล่าสุดธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น ออกบัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE ซึ่งนับเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทยที่ร่วมกับเซเว่นอีเลฟเว่นในการออกบัตรเดบิตโคแบรนด์ ที่เป็นทั้งบัตรเดบิตและเป็นกระเป๋าเงินสด (Electronic Purse) ในบัตรเดียวกัน ที่สำคัญเป็นการขยายช่องทางเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ถือบัตรเดบิตในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันผ่านเครือข่ายร้านค้าสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นที่มีกว่า 8,000 สาขาทั่วประเทศ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถตอบความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และยังสามารถนำ บัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE ไปใช้ได้ที่ร้านค้าอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ โดยบัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE จะเปิดให้สมัครใช้บริการได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป และตั้งเป้ายอดบัตรเดบิตดังกล่าว 1 ล้านใบภายในสิ้นปีนี้

นายปกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมตลาดบัตรเดบิตในปี 2557 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีผู้ถือบัตรเดบิตประมาณ 45 ล้านใบ มีมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ในประเทศประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40% ครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจบัตรเดบิต โดยธนาคาร ฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการออกบัตรเดบิตรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้ง K-My Debit card และ K-Max Debit Card ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ลูกค้าทั้งสิทธิประโยชน์ (Functional) และการสร้างความรู้สึกแปลกใหม่ (Emotional)

นายโกษา พงศ์สุพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด บริษัทในกลุ่มซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันเซเว่นอีเลฟเว่นมีอยู่กว่า 8,000 สาขาทั่วประเทศมีลูกค้าใช้บริการไม่ต่ำกว่าวันละ 10 ล้านคน รวมถึงเล็งเห็นแนวโน้มของการใช้บัตรเดบิตที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในการพัฒนา บัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE ถือเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเซเว่นอีเลฟเว่นได้มอบสิทธิประโยชน์ความเป็นสมาชิกบัตรเซเว่นการ์ดให้กับลูกค้าบัตรเดบิตกสิกรไทย 7 PURSE ด้วยทันที อาทิเช่น การได้ซื้อสินค้าในราคาถูกกว่า, การสะสมแต้มจากการใช้จ่ายและสามารถนำมาใช้แทนเงินสด หรือแลกพรีเมี่ยม และสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงธุรกิจในกลุ่มซีพี ออลล์ เช่น บุ๊คสไมล์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง, ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส, ร้านกาแฟ และเบเกอรี่อบสด คัดสรร นอกจากนี้ยังสามารถนำบัตรไปใช้จ่ายตามร้านค้าเครือข่ายของสมาร์ทเพิร์ส ทั้งสถานีบริการน้ำมัน ค่าผ่านทางโทลล์เวย์ และอื่น ๆ อีกกว่า 24,000 จุดทั่วประเทศ โดยคาดหวังว่าบัตรใบนี้จะช่วยขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่ใช่ลูกค้าประจำของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นเพิ่มเติมด้วย”

ธนชาตโชว์ผลงานเด่นนำกองทริกเกอร์เข้าเป้าแรกอีกครั้ง พร้อมส่งกองใหม่ลงตลาด

บลจ.ธนชาต ทำผลงานนำกองทริกเกอร์ฟันด์ T-Challenge20 เข้าเป้าหมายแรก 3% อีกครั้งหลังจากกอง T-Challenge19 สร้างผลงานไปแล้วเมื่อปลายปีก่อน พร้อมส่งกอง T-Challenge21 ลงตลาดเสนอขาย 3-6 ก.พ. นี้

บุญชัย-เกียติธนาวิทย์setlnw
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิด T-Challenge20 ซึ่งเป็นกองทุนทริกเกอร์ที่ลงทุนในหุ้นไทย สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายแรกที่กำหนดไว้โดยสามารถทำกำไร 3% ภายในเวลาเพียงเดือนกว่าๆ เท่านั้น นับจากเวลาที่ จดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา

“แม้ตลาดหุ้นไทยจะเผชิญปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ปลายปี แต่ บลจ.ธนชาต มีนโยบายบริหารการลงทุนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้กองทุน T-Challenge20 ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนหุ้นไทยประสบความสำเร็จเข้าเป้าหมายแรกได้อย่างรวดเร็วอีกครั้ง หลังจาก T-Challenge19 ก็เข้าเป้าแรกไปเมื่อปลายปีก่อน และเรามองว่าเป็นจังหวะดีที่จะออกกองทุน T-Challenge21 เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรในระยะนี้” นายบุญชัยกล่าว

ดังนั้น บลจ. ธนชาต ขอเสนอ กองทุน T-Challenge 21 เสนอขายช่วง 3 – 6 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเป็นกอง Trigger Fund ลงทุนในหุ้นไทย มีเป้าหมายเลิกโครงการที่ 6%* ภายใน 1 ปี (*เป็นเพียงเป้าหมายเลิกกองทุนภายใน 1 ปี ไม่ใช่การประมาณการหรือรับประกันอัตราผลตอบแทน หากไม่สามารถไปถึงเป้าหมาย กองทุนจะเปลี่ยนเป็นกองทุนเปิด) แต่จะ Auto Redeem เมื่อถึง 3%

สำหรับกองทุนเปิด T-Challenge20 เป็นกองทุนที่มีเป้าหมายเลิกโครงการที่ 6% ใน 1 ปี โดยมีนโยบายทยอยจ่าย 3% เมื่อถึงเป้าหมาย ซึ่งกองทุนนี้ถือว่าประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งทาง ทั้งนี้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดธนชาตตลาดเงิน (T-MONEY) ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนังสือชี้ชวนได้ในวันและเวลาทำการเสนอขายที่ บลจ.ธนชาต โทรศัพท์ 0-2126-8399 กด 0 หรือธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1770 หรือผู้สนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.ธนชาต แต่งตั้ง http://www.thanachartfund.com

หมายเหตุ กองทุนทริกเกอร์ของ บลจ.ธนชาต ในซีรี่ย์กองทุนหุ้นไทย ปัจจุบันมีทั้งหมด 18 กอง ทริกไปแล้ว 7 กอง และอีก 2 กอง Auto redeem บางส่วนตามนโยบายไปแล้วเช่นกัน

คำเตือน
·การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
·ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
·การกำหนดเป้าหมายอัตราการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเป็นเพียงเป้าหมายที่เป็นเหตุให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเท่านั้น ไม่ใช่การประมาณการหรือรับประกันว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้ หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ภายในเวลาที่กำหนด กองทุนจะดำเนินการเปลี่ยนเป็นกองทุนเปิด

ลดต้นทุน-เพิ่มมูลค่า ทางโต IRPC

ฐานะการเงิน “ขี้เหร่” ทำให้ บมจ.ไออาร์พีซี ทำงานไม่คล่องตัว ทว่าเมื่อแผนลดต้นทุน “กำไรหมื่นล้าน”

news_irpc-setlnw

ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง!! ทำให้หลายฝ่ายทำนายว่า มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะหลุด 40 เหรียญต่อบาร์เรล ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 จากสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทพลังงานที่สต็อกน้ำมันต้นทุนสูงไว้จำนวนมาก ย่อมต้องก้มหน้ารับผลขาดทุนจาก Stock loss สุดท้ายจะแสดงตัวเลขขาดทุนมากหรือน้อยคงต้องวัดกันที่ฝีมือการบริหารล้วนๆ

บริษัท ไออาร์พีซี หรือ IRPC ผู้ประกอบการธุรกิจปิโตรเลียม,ธุรกิจปิโตรเคมี,ธุรกิจท่าเรือและถัง และธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สิน ถือเป็นหนึ่งบริษัทพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากการสต็อกน้ำมันเต็มๆ หลังบริษัทสต็อกน้ำมันมากถึง 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันบริษัทมีความพยายามจะบริหารความเสี่ยง ด้วยการลดสต็อกน้ำมันเหลือเพียง 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน

แต่แผน “ลดต้นทุนการผลิต” ของบริษัท ไออาร์พีซี ทำให้เหล่านักวิเคราะห์มีมุมมองว่า ปี 2558 บริษัทอาจมีกำไรสุทธิแตะระดับ 1,600 ล้านบาท หลังจากได้เริ่มดำเนินการโครงการ Delta Program ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถกลับมาผลิตหน่วย DCC Plant (Dcc Deep Catalytic Cracking) ได้เหมือนเดิมเหมือน หลังเกิดเหตุไฟไหม้เมื่อปีก่อน

นอกจากนั้นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2558 บริษัทเตรียมเดินเครื่องผลิตโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สะอาด หรือ Upstream Project for Hygiene and Value Added Products (UHV) ซึ่งจะทำให้มีโพรพิลีนเพิ่มขึ้นอีก 320,000 -340,000 ตันต่อปี โดยแผนงานดังกล่าวนอกจากจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแล้วยังจะทำให้มีต้นทุนการผลิตลดลงจาก 8-8.5 เหรียญ เหลือเพียง 7.5-8 เหรียญ

“ภาวะราคาน้ำมันดิ่งเช่นนี้ บริษัทคงหลีกหนีผลขาดทุนไม่ได้ ฉะนั้นงบการเงินของปี 2557 คงออกมาไม่สวยเหมือนปี 2556 ที่มีกำไรสุทธิ 826 ล้านบาท แต่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีความทันสมัยจนสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทลดลงอย่างมาก ซึ่งผลดีจะเริ่มสะท้อนผ่านผลประกอบการในปี 2558 “ตั้ว-สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”

ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างลงทุน 2 โครงการ นั่นคือ โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สะอาด หรือ UHV และ โครงการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิต หรือ Delta ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับบริษัท เขาย้ำ โดยในปี 2557 โครงการดังกล่าวได้ช่วยเพิ่มกำไรให้บริษัทแล้วจำนวน 2,000 ล้านบาท ส่วนปี 2558 อาจเพิ่มกำไรอีกประมาณ 4,000 ล้านบาท

ในอดีตบริษัทคือผู้ผลิตน้ำมันเตา คิดเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ ของการผลิตทั้งหมด ซึ่งน้ำมันเตาถือเป็นตัวถ่วงที่ทำให้งบการเงินขาดทุนมาตลอด เนื่องจากเมื่อ 2 ปีก่อน ราคาน้ำมันเตาถูกมาก หลังสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบเซา ทำให้การค้าขายทางทะเลลดลง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเตาหดหาย ฉะนั้นเมื่อโครงการ UHV แล้วเสร็จ บริษัทจะมีสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า ต้นทุนการผลิตจะลดลง ขณะที่มูลค่าของผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น

“ 5 ปีข้างหน้า “กำไรสุทธิ” ต้องแตะ “หมื่นล้าน”

“กรรมการผู้จัดการใหญ่” ยืนยันเป้าหมาย ก่อนขยายความว่า ในปี 2557-2561 บริษัทวางแผนจะใช้เงินลงทุนประมาณ 65,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาได้ใช้เงินไปแล้วในหลายๆโครงการ เช่น โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สะอาด ซึ่งภายในปีนี้เรายังคงลงทุนต่อเนื่องจำนวน 10,000 ล้านบาท คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ปี 2558 และจะเริ่มรับรู้รายได้เต็มจำนวนในปี 2559 เขาย้ำ

ขณะเดียวกันปีนี้บริษัทยังจะลงทุนต่อเนื่องในโครงการฟินิกซ์อีก 6 โครงการ หลังดำเนินการเสร็จไปแล้ว 10 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการผลิตพาราไซลีน 1.21 ล้านตันต่อปี และเบนซิน 3.72 แสนตันต่อปี

2.โครงการผลิตโพลิโพรพิลีน คอมพาวด์ หรือ PPC 300,000 ตันต่อปี

3.โครงการผลิตโพลิออล 100,000 ตันต่อปี

4.โครงการผลิตอะคริลิก แอซิด ซูเปอร์ แอบซอฟเบนต์ โพลิเมอร์ หรือ AA/SAP กำลังการผลิต AA 100,000 ตันต่อปี และ SAP 80,000 ตันต่อปี

5.โครงการ Bio-Hydrogenated Diesel หรือ BHD 2 ล้านลิตรต่อเดือน และ

6.โครงการผลิตสไตรีน โมโนเมอร์ หรือ SM 350,000 ตันต่อปี

 

โดยโครงการขยายกำลังการผลิตโพลีโพรพิลีน คอมพาวด์ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 475, 000 ตัน เป็น 775,000 ตัน คาดว่าปลายปี 2559 หรือต้นปี 2560 โครงการจะแล้วเสร็จ

อย่างไรก็ดีโครงการฟีนิกซ์ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 4 ปี ซึ่งโครงการที่ดำเนินการเสร็จไปแล้ว เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพน้ำมันสู่เชื้อเพลิงสะอาดและนวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียว,โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิต EBSM, โครงการเพิ่มมูลค่าจากคลังน้ำมันและโรงผสมน้ำมันหล่อลื่นตามมาตรฐานสากล และโครงการบริหารจัดการเพื่อลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิตปิโตรเคมีและการกลั่น เป็นต้น

“บริษัทมีแผนจะร่วมทุนกับ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC ในโครงการผลิตพาราไซลีน ที่มีกำลังการผลิต 1.2 ล้านตัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงต้นปี 2558 ถือเป็นการสรุปแผนงานที่ล่าช้า เนื่องจากที่ผ่านมาส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์อ่อนตัวลงมาค่อนข้างมาก”

“นายใหญ่” บอกว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโรงกลั่นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจปิโตรเคมี 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นธุรกิจอื่นๆ แต่ความสามารถในการสร้างกำไรส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจปิโตรเคมี หลังบริษัทเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์เดิม และผลิตภัณฑ์ใหม่

เมื่อถามถึงแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบ้านค่าย จังหวัดระยอง พื้นที่ 2,000 ไร่ และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พื้นที่ 2,000 ไร่ เขาตอบว่า บริษัทกำลังทบทวนโครงการใหม่ทั้งหมด เชื่อว่าภายใน 6 เดือนข้างหน้าจะได้ข้อสรุป โดยในช่วงปลายปี 2556 บริษัทได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ.เรียบร้อยแล้ว

บริษัทอยากเห็นความชัดเจนเรื่องนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายก่อน ล่าสุดกำลังจัดทำโมเดลธุรกิจ โดยรูปแบบอาจมีทั้งลงมือทำเองและจับมือกับพันธมิตร สำหรับวงเงินลงทุน คาดว่าคงต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท เขายอมรับว่า รู้สึกกังวลต่อการทำธุรกิจดังกล่าวเนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายอยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบัง ฉะนั้นหากอยากดึงดูดนักลงทุนบริษัทคงต้องทำโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม

ส่วนการพัฒนาที่ดินในจังหวัดสงขลา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเช่นกัน ฉะนั้นคงยังไม่มีความชัดเจนเร็วๆ นี้ แต่เราอยากสร้างให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่จะสามารถต่อยอดยางพาราและปาล์มน้ำมัน

ถามว่ามีแผนจะแตกไลน์ธุรกิจหรือไม่? เอ็มดีใหญ่ ตอบว่า เราอยากทำธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งก่อนแล้วค่อยหันไปศึกษาการลงทุนในธุรกิจอื่น หากมีเงินเหลือมากพอ เพราะจากการสำรวจแผนธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนหลายๆแห่งพบว่า ส่วนใหญ่นำเงินที่เหลือจากการลงทุนในธุรกิจหลักนำไปแสวงหาโอกาสใหม่ที่ไม่มีความถนัด สุดท้ายเมื่อไม่รู้จริงก็ต้องกลับมาทำงานเก่า ซึ่งบริษัทไม่อยากเป็นเช่นนั้น

“ขัดแย้ง” สู่ “พันธมิตร”

ปิดฉาก 10 ปีแห่งความขัดแย้ง ระหว่าง “กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์” กับ “ไออาร์พีซี” หลังเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2557 ทั้งสองฝ่ายลงนามยุติข้อพิพาทต่อกันทั้งหมด “สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” อาสาเล่าเบื้องหลังฉบับย่อให้ฟังว่า คุณประชัย เป็นคนโทรเข้ามาขอเจรจายุติคดีความทั้งหมดกับบริษัท อาจเป็นเพราะท่านอายุมากแล้วจึงอยากจบเรื่องทุกอย่าง แต่สาเหตุที่ไม่สามารถจบปัญหาได้ก่อนหน้านี้ เพราะยังมีคดีค้างอยู่กว่า 100 คดี

บริษัทใช้เวลาเจรจาเรื่องนี้กับคุณประชัยมากถึง 3 รอบ เรียกว่า ทำตารางเปรียบเทียบกันเลยว่า หากต่อสู้คดีกันต่อไป ต่างฝ่ายจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมายเท่าไหร่ โอกาสแพ้ชนะเป็นอย่างไร และถ้ายุติคดีความ ต่างฝ่ายจะได้รับประโยชน์อย่างไร และสินทรัพย์ที่มีอยู่เดิมจะสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเท่าไหร่ หรือแม้กระทั่งการควบรวมบริษัทลูกจะทำให้ธุรกิจเกิดความกระชับหรือไม่

“กรรมการผู้จัดการใหญ่” เล่าต่อว่า เมื่อบริษัทได้ภาพที่ชัดเจนจึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสีย สุดท้ายเมื่อบอร์ดตัดสินใจยุติคดีความ เราจึงเริ่มดำเนินการทันที ปัจจุบันบมจ.ทีพีไอ โพลีน หรือ TPIPL ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นคู่ค้ากับบริษัทโดยสมบูรณ์แล้ว

อย่างไรก็ดีที่ประชุมบริษัทเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2557 นอกจากจะมีมติให้บริษัทดำเนินการยุติข้อพิพาทกับกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์แล้วยังมีมติให้บริษัทจำหน่ายหุ้นบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก นั่นคือ บริษัท อุตสาหกรรมสหธัญพืช จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจผลิตกระสอบ ถุง ที่ทำจากปอ กระดาษ พลาสติก จำนวน 992,698 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 18.05%

โดยได้จำหน่ายให้กับบริษัท เลี่ยวไพรัตนวิสาหกิจ จำกัด ราคา 251.84 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท มูลค่า 250 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นบริษัท ไออาร์พีซี จำนวน 410,458 หุ้น คิดเป็นเงิน 103.37 ล้านบาท และบริษัท อุตสาหกรรมโพลียูรีเทนไทย จำนวน 582,240 หุ้น คิดเป็นเงินจำนวน 146.63 ล้านบาท

นอกจากนั้นยังมีมติยกเลิกสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ หลังบริษัทและบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ เมื่อปี 2538-2542 พื้นที่รวม 26,653.72 ตารางเมตร ในระยะเวลา 90 ปี โดยได้จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 956 ล้านบาท และได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ทั้งจำนวนแล้ว

ปัจจุบันบริษัทไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าวแล้ว จึงได้ยกเลิกสัญญาเช่าอาคารทีพีไอ ทาวเวอร์ ตามพื้นที่และระยะเวลาที่เหลือทั้งหมดกับบริษัท พรชัยวิสาหกิจ โดยบริษัทได้รับคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าคงเหลือตามสัญญาการเช่า 470 ล้านบาท เป็นการคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าของไออาร์พีซีจำนวน 420.14 ล้านบาท บริษัท น้ำมันไออาร์พีซี จำนวน 37.64 ล้านบาท บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำนวน 11.85 ล้านบาท และบริษัท ไท เอบีเอส จำกัด 370 ล้านบาท