ช.การช่างคาดรายได้ปีนี้แตะ3.4หมื่นลบ.

“ช.การช่าง” คาดรายได้ปีนี้แตะ 3.4 หมื่นล้านบาท เล็งถือหุ้นบริษัทใหม่หลังควบ BMCL-BECL สัดส่วน 30%

นายประเสริฐ มริตตนะพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มงานบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดรายได้ปี 2558 จะใกล้เคียงกับปี 2557 ที่มีรายได้ประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากจะรับรู้รายได้จากงานในมือ ประมาณ 30%จากที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2557ที่ 104,928 ล้านบาท ส่วนงานใหม่บริษัทฯ คาดหวังจะได้งานประมาณ 20-25% ในการเข้าประมูลแต่ละโครงการ

ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ CK กล่าวว่า กำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปี 57 อยู่ที่ราว 10% ขณะที่คาดรายได้ปี57เกินกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยสิ้นปี 57 บริษัทมีงานในมือ (Backlog) 1.05 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BMCL และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ BECL ควบรวมเสร็จแล้ว ช.การช่าง จะเข้าไปถือหุ้นบริษัทใหม่ในสัดส่วน 30%จะทำให้บริษัทฯ สามารถบันทึกกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทใหม่ได้มากขึ้น และได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีขึ้นด้วย

โดยการควบรวมระหว่าง BMCL และ BECL จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้ง 2 บริษัท เพราะจะทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจ มีศักยภาพทางการเงิน การดำเนินงานและการแข่งขันแข็งแกร่งขึ้น สามารถลงทุนและแข่งขันได้ทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อว่าบริษัทใหม่นี้จะทำให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนที่ดีมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ทุกหุ้นทุกราย

“ช.การช่าง ยืนยันที่จะสนับสนุนการควบรวมของ 2 บริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทฯ จะซื้อหุ้น BMCL ที่BECL ถืออยู่จำนวน 10% มูลค่า 3,670 ล้านบาท และจะเป็นผู้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านด้วย ภายหลังที่บริษัทใหม่ควบรวมเรียบร้อยแล้ว ช.การช่างจะถือหุ้นบริษัทใหม่ 30%” นายปลิว กล่าว

ช.การช่างเตรียมขายหุ้นกู้

ช.การช่างเตรียมขายหุ้นกู้ 4 พันล้าน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เปิดจองก.พ.นี้

นายภานพ อังศุสิงห์ ผู้บริหารสายงานวาณิชธนกิจ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มูลค่ารวมไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน ให้จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท คาดว่าจะเปิดจองซื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

นายประเสริฐ มริตตนะพร กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการเตรียมจัดออกหุ้นกู้ของบริษัท ช.การช่าง ครั้งที่ 1/ 2558 มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองสำหรับเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุประมาณ 5 ปี 11 เดือน และคาดว่าบริษัทฯ จะได้รับการจัดอันดับเครดิตจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ BBB+

คาดควบบริษัท BECL – BMCL แล้วเสร็จไตรมาส3 ปีนี้

นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 เห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL เป็นผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของ BECL และ BMCL ร่วมกัน โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL เพื่อพิจารณาอนุมัติการควบบริษัทตามวิธีการแห่งพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ต่อไป
bmcl-becl-setlnw
ทั้งนี้การควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL ถือเป็นกลยุทธ์ในการผสานความแข็งแกร่งของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าการควบบริษัทครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและ ต่อยอดธุรกิจ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุน ทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้หุ้นของบริษัทจากมุมมองของนักลงทุน นอกจากนี้ การควบบริษัทจะเป็นการผสานจุดแข็งระหว่าง BECL กับ BMCL ซึ่งส่งเสริมประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอและมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม และมีศักยภาพพร้อมสำหรับรับโอกาสในการเข้าลงทุนในโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย

การจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ BECL และ BMCL มีอัตราส่วน คือ 1 หุ้นเดิมใน BECL ต่อ 8.65537841 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน BMCL ต่อ 0.42050530 หุ้นในบริษัทใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินการควบบริษัทจะแล้วเสร็จ และสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทใหม่ได้ภายในช่วงไตรมาส 3 ปี 2558

ด้านนายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ. ช.การช่าง หรือ CK เปิดเผยว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสองแห่งและผู้ถือหุ้นหลัก สนับสนุนการควบบริษัทในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และมีความเชื่อมั่นว่าการควบบริษัทนี้จะทำให้บริษัทใหม่มีความแข็งแกร่งในทุกด้าน มีความพร้อมในการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้นทุกคน ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงได้แสดงเจตนารมณ์ในการรับซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ไม่ประสงค์ที่จะถือหุ้นต่อโดยลงมติคัดค้านการควบบริษัทในครั้งนี้

CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่

CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่ ควบรวม”บีอีซีแอล-บีเอ็มซีแอล” ตั้งบริษัทใหม่ ถือหุ้นใหญ่ 40%

ck-setlnw

หวังรองรับโครงการพื้นฐานต่อยอดธุรกิจ เสริมศักยภาพด้านการเงิน เพิ่มโอกาสการลงทุนใน-นอกประเทศ เผยแผนควบรวมเสร็จส.ค.นี้ พร้อมจ่ายปันผลทันที ขณะที่บริษัทใหม่พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เดือนก.ย.นี้

กลุ่มช.การช่าง ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มครั้งใหญ่ โดยคณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL มีมติเห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่างบีอีซีแอล และบีเอ็มซีแอล โดยเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ให้มีมติควบรวมบริษัท

ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลยุทธ์ผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและต่อยอดธุรกิจ พร้อมช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย

กลุ่มบริษัทช.การช่าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา บริษัทและบริษัทลูกมีการปรับโครงสร้างภายในเครือทั้งหมด โดย ปัจจุบันช.การช่างถือหุ้นอยู่ในบีอีซีแอล 15.15% และถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 25.19% ขณะที่บีอีซีแอล ถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 10%

ควบรวม2บริษัทลูกตั้งบริษัทใหม่

ดังนั้นเพื่อเป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน บริษัทช.การช่าง จะเข้าซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล ในส่วนที่บีอีซีแอลถือทั้งหมด โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.79 บาท หลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว จะทำให้ช.การช่างถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลเพิ่มเป็น 35.19%

ส่วนการควบรวมกิจการระหว่างบีอีซีและบีเอ็มซีแอลนั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา จากนั้นจะเป็นการแลกหุ้นของบริษัทใหม่ โดย 1 หุ้น บีอีซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.065538 หุ้น และ 1 หุ้นบีเอ็มซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ดังนั้นการแลกหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 15,285 หุ้น หรือ 15,285 ล้านบาทพาร์หุ้นละ 1 บาท สำหรับบริษัทตั้งใหม่นี้ จะถูกถือหุ้นโดยช.การช่างประมาณ 40% และที่เหลืออีก 60% จะเป็นหุ้นสภาพคล่อง หรือฟรีโฟลท ซึ่งถือโดยนักลงทุนทั่วไป

ขายหุ้นไซยะบุรีให้ซีเคพาวเวอร์

นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังขายหุ้นโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี ให้กับบริษัทซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP ทั้งหมดที่ถืออยู่ 30% มูลค่า 4.34 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุน ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.34 หุ้นใหม่ ราคา 3 บาท ซึ่งจะทำให้ ซีเค พาวเวอร์ ได้รับเงินจากเพิ่มทุน 5.6 พันล้านบาท พร้อมแจกวอร์แรนท์สำหรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนท์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน จะทำการแตกพาร์จาก 5 บาท เป็น 1 บาทก่อน

วานนี้ (22 ม.ค.) ราคาหุ้น ช.การช่าง (CK) ปิดตลาดที่ 28.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.54% มูลค่าซื้อขาย 4,072.09 ล้านบาท ขณะหุ้น บีอีซีแอล (BECL) ปิดตลาดที่ 42 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ ลดลง 1.18% มูลค่าซื้อขาย 800.37 ล้านบาท และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ปิดตลาดที่ 18.60 บาท ลดลง 4.62 % มูลค่าซื้อขาย 889.13 ล้านบาท

ควบรวมหวังเตรียมรองรับแข่งขัน

ด้าน นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. แผนการเห็นชอบในการควบรวมกิจการ กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งการควบรวมดังกล่าว จะส่งผลให้ บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ศักยภาพในการเติบโต

“การควบรวมทั้ง 2 บริษัท จะช่วยให้ศักยภาพทั้ง 2 บริษัทเติบโตขึ้น ซึ่งบีอีซีแอล มีความพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการเงินแข็งแกร่งอยู่แล้ว และบีเอ็มซีแอล มีอนาคตการเติบโตที่ดี จากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการนำเอาความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งในอนาคตหากใครที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ หรือใครที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ต้องใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทแน่นอน”นายสมบัติ กล่าว

บีเอ็มซีแอลลดทุนล้างขาดทุนสะสม

เขากล่าวต่อว่า สิ่งที่บีเอ็มซีแอลจะได้ คือ เดิมทีผู้ถือหุ้นบีเอ็มซีแอล มักจะมีคำถามว่า บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันบริษัทมีขาดทุนสะสมอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 และต้องทยอยล้างขาดทุนสะสมก่อน ถึงจะปันผลได้

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ดังนั้นการควบรวมบริษัทครั้งนี้ บีเอ็มซีแอลจะใช้วิธีลดทุนจดทะเบียนจาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 7,000 ล้านบาท จากนั้นลดพาร์จาก 1 บาท เหลือ 30 สตางค์ โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ที่มีอยู่ ส่งผลให้บริษัทจะมีหนี้เหลืออยู่ในหลัก 100 ล้านบาท ดังนั้นจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยลดลง ส่งผลต่อศักยภาพในการระดมทุนมากขึ้น

ยุติออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

“การควบรวมกิจการครั้งนี้ ทำให้การระดมทุนในอนาคต โดยการใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นลืมไปได้เลย หรือไม่จำเป็นออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพราะบริษัทมีฐานทุนที่มากพอจะขยายธุรกิจ และทำให้จ่ายเงินปันผลได้ทันทีหากมีกำไร”นายสมบัติ กล่าว

การรวมหุ้นครั้งนี้ จะต้องเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท ในเดือนก.พ. และคาดว่า จะสามารถควบรวมแล้วเสร็จ และนำหุ้นเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในเดือนส.ค.นี้ โดยบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะมีทุนจดทะเบียน 15,285 ล้านบาท ในราคา พาร์ ที่ 1 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้ง 2 บริษัทรวมกันอยู่ในลำดับที่ 35 ที่ 78,403 ล้านบาท โดยบริษัทใหม่สามารถเข้าซื้อขายได้ในเดือนก.ย.นี้

“ส่วนนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทใหม่จะไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ”นายสมบัติ กล่าว

หุ้นบีเอ็มซีแอลดิ่งรับข่าวที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ในการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเกิดขึ้นนั้น มองว่าผู้ถือหุ้นจะยอมรับกับข้อเสนอการควบรวมดังกล่าวได้ เพราะทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีพื้นฐานที่เข้มแข็งขึ้น และผู้ถือหุ้นได้ถือหุ้นในบริษัทที่ดี สำหรับความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นบีเอ็มซีแอล ที่ปรับตัวลดลงแรงวานนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการรับข่าวที่เกิดขึ้นวานนี้

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า สำหรับการทำราคาหุ้นที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ ใช้ราคาหุ้นย้อนหลัง 60 วัน ซึ่งหลังจากการทำราคาหุ้นนั้น หุ้นของทั้ง 2 บริษัทอาจปรับตัวสูงกว่าการทำราคาสว็อปหุ้น การปรับตัวลดลงจึงเป็นการตอบสนองกับมูลค่าที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทไม่ได้มองว่าเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้ถือหุ้น ส่วนนักลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นของบริษัทอยู่ จะเดินหน้าให้ข้อมูลถึงประโยชน์ในการควบรวมครั้งนี้ และเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น

ราคาหุ้นบีเอ็มซีแอล(BMLC) ปิดตลาดวานนี้ ที่ระดับ 2.06 บาท ลดลง 0.32 บาท หรือ 13.45% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 2,436.17 ล้านบาท

เติบโตตามการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า

สำหรับการเติบโตของบีเอ็มซีแอลในอนาคตจะมีอีกมาก หากพิจารณาจำนวนเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบัน ระยะทางเกือบ 60 กิโลเมตร เป็นของบริษัท 20 กิโลเมตร และนโยบายของรัฐบาลต้องการเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครบ 500 กิโลเมตรในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทยังเห็นโอกาสเติบโต

เขากล่าวต่อว่า ล่าสุดบริษัทได้รับการประมูลการเดินรถในเส้นทางเดินสายสีม่วง และคาดจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 12 ส.ค. 2559 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทพลิกมีกำไร

นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการขยายเส้นทางเดินรถไปยังส่วนต่อขยายในระยะเวลาอันสั้นอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสายสีเขียว ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และในอนาคตจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าในอีก 3 เส้นทาง ทั้งสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง ทำให้เห็นโอกาสของการเติบโตที่อยู่อย่างมาก ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทมีเงินทุนเข้าไปประมูลได้

ช.การช่างพร้อมรับซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล

ด้านนางสาวปาหนัน โตสุวรรณถาวร รองกรรมการผู้จัดการสายการเงิน บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL เปิดเผยว่า หลังจากควบรวมกิจการ จะมีรายได้รวมในปีนี้อยู่ที่ 11,657 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.42% จากปี 2557 ที่มีรายได้รวม 11,276 ล้านบาท โดยจะมาจากรายได้ของ บีเอ็มซีแอล 2,974 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่ 10% ตามการปรับอัตราค่าโดยสารและมีผู้ใช้บริการโดยสารมากขึ้น และรายได้จาก บีอีซีแอล 8,683 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3% จากปี 2557

ส่วนนายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช.การช่วง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในส่วนของบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 บริษัท มองว่า การควบรวมดังกล่าว ส่งผลดีต่อการทำธุรกิจ ทำให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทพร้อมที่จะรับซื้อหุ้นทั้งหมด หากนักลงทุนไม่เชื่อมั่นกับการทำรายการครั้งนี้

“สำหรับหุ้นของบีเอ็มซีแอล ที่บีอีซีแอลถือกว่า 10%นั้น บริษัทจะรับซื้อทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการควบรวม โดยหลังจากการควบรวมนั้น ช.การช่าง จะถือหุ้นในบริษัทใหม่ราว 40%” นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าว

กรุงเทพธุรกิจ

ช.การช่างเตรียมขายหุ้นกู้ 4 พันล้าน

ช.การช่างเตรียมขายหุ้นกู้ 4 พันล้าน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เปิดจองก.พ.นี้

นายภานพ อังศุสิงห์ ผู้บริหารสายงานวาณิชธนกิจ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มูลค่ารวมไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน ให้จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท คาดว่าจะเปิดจองซื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

นายประเสริฐ มริตตนะพร กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการเตรียมจัดออกหุ้นกู้ของบริษัท ช.การช่าง ครั้งที่ 1/ 2558 มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองสำหรับเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุประมาณ 5 ปี 11 เดือน และคาดว่าบริษัทฯ จะได้รับการจัดอันดับเครดิตจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ BBB+