ไทยพาณิชย์กำไรปี 57 อู้ฟู่ 53,335 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2%

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2557 ธนาคารมีกำไรสุทธิก่อนตรวจสอบจำนวน 53,335 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% จากปี 2556 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรสุทธิเติบโตในระดับที่ดีต่อเนื่องมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 11.1% จากปี 2556 หรือมีจำนวน 81,100 ล้านบาท ผลจากการลดค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยลงได้แม้มีปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจากปีที่แล้ว 6.9% มาอยู่ที่ 47,030 ล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้เงินปันผลที่ลดลง (เมื่อเทียบกับเงินปันผลรับในระดับสูงที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 และ 3 ของปี 2556) รวมทั้งการลดลงของรายได้จากธุรกรรมค้าเงินและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนรายได้จากเบี้ยประกันภัย

ด้านคุณภาพสินเชื่อ ในปี 2557 อยู่ในระดับคงที่แม้จะมีความกดดันในเชิงลบ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ที่ 2.11% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 ลดลงจาก 2.14% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 ยอดสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ที่ 42,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% จากสิ้นปี 2556 โดยธนาคารมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในปี 2557 เป็นจำนวน 13,214ล้านบาท

อย่างไรก็ตามในปี 2557 มีการลดลงของเงินปันผลรับ (เมื่อเทียบกับเงินปันผลรับที่สูงมากในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2556) และการลดลงของกำไรจากธุรกรรมค้าเงินและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

“ปีที่ผ่านมาต้องถือว่ากลยุทธ์ทางธุรกิจที่ธนาคารนำมาใช้ดำเนินการได้ถูกทดสอบอย่างเข้มข้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก ดังนั้นการที่ธนาคารสามารถสร้างผลงานที่ดีต่อเนื่องและผ่านปีอันท้าทายมาได้อย่างดีเป็นบทพิสูจน์ถึงความสำเร็จและแสดงถึงความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ความแข็งแกร่งทางด้านยุทธศาสตร์ และความสามารถของทีมผู้บริหารและพนักงานของธนาคารเป็นอย่างดี”

นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ตามที่ได้มีประกาศให้ทราบเป็นการทั่วกันแล้วว่า ดิฉันจะครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในต้นเดือนเมษายนนี้ ดิฉันจึงขอใช้โอกาสนี้แสดงความขอบคุณมายังคณะกรรมการธนาคาร เพื่อนพนักงาน และลูกค้าทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนดิฉันมาเป็นอย่างดี หากปราศจากท่านทั้งหลายผลสำเร็จด้านกำไรที่สูงขึ้นติดต่อกัน 5 ปีเช่นนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ดิฉันได้มีโอกาสนำธนาคารไทยแห่งแรกสู่ความสำเร็จในระดับนี้ ดิฉันมั่นใจอย่างยิ่งว่าคณะผู้บริหารชุดใหม่จะสามารถนำธนาคารก้าวสู่ความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปและผลักดันให้ธนาคารไทยพาณิชย์บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารที่ทุกคนเลือก (Bank of Choice)”

บล.ไทยพาณิชย์ เสนอขาย DW ล็อตใหญ่ 23 รุ่น ลงทุนได้ทั้งระยะสั้น – ยาว เริ่มซื้อขาย 28 ต.ค.นี้

บล.ไทยพาณิชย์ เสนอขาย DW ล็อตใหญ่ 23 รุ่น ลงทุนได้ทั้งระยะสั้น – ยาว เริ่มซื้อขาย 28 ต.ค.นี้

บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) นำเสนอใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญ (Derivative Warrants:DW) เบอร์ 23 รุ่นใหม่ จำนวน 23 ตัว ประกอบด้วย ประเภทสิทธิในการซื้อ (Call Warrant) จำนวน 15 ตัว ได้แก่

BMCL23C1510A TRUE23C1510A STEC23C1510A CK23C1510A ITD23C1510A TMB23C1601A AOT23C1601A AAV23C1601A BLAN23C1601A STPI23C1601A DTAC23C1603A INTU23C1603A KBAN23C1603A BBL23C1604A SCC23C1604A

และประเภทสิทธิในการขาย (Put Warrant) จำนวน 8 ตัว ได้แก่

AOT23P1507A PTT23P1507A BBL23P1507A KBAN23P1507A TRUE23P1507A PTTE23P1507A SCC23P1507A INTU23P1507A

ผลิตภัณฑ์ DW ที่ออกในครั้งนี้อ้างอิงหุ้นพื้นฐานดี มีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และมีความโดดเด่นด้วยเป็น DW ที่อายุยาวขึ้น โดย Call Warrant ยังคงอัตราทดที่ระดับ 2.5 เท่า เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวที่มองหาผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นสามัญ และมีความเสี่ยงต่ำกว่า DW ที่ออกโดยผู้เสนอขายรายอื่น ขณะที่ Put Warrant มีอัตราทดสูงถึง 4 เท่า เพื่อรองรับการทำกำไรในระยะสั้น ปัจจุบัน SCBS มี DW ประเภท Call Warrant ครอบคลุมหุ้นอ้างอิง จำนวน 52 ตัว และมี DW ประเภท Put Warrant บนหุ้นอ้างอิง จำนวน 16 ตัว สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนได้อย่างหลากหลาย โดย DW ทั้ง 23 รุ่น จะเปิดให้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ SCBS ยังมีเครื่องมือช่วยนักลงทุน “Price Guideline” ซึ่งเป็นตารางราคารับซื้อคืนโดยผู้ดูแลสภาพคล่องที่ช่วยนักลงทุนในการประมาณราคา DW ที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอ้างอิงที่ระดับราคาต่างๆ และอายุคงเหลือต่างๆ โดยคำนวณจากสูตร Black-Scholes ตามสมมติฐานที่ผู้ดูแลสภาพคล่องกำหนด โดยผู้ดูแลสภาพคล่องรับประกันราคา DW ตามตารางราคารับซื้อคืนภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ดูแลสภาพคล่องกำหนด นักลงทุนสามารถศึกษาเงื่อนไขต่างๆและวิธีใช้ได้ใน http://www.scbs.com/DW

thinkscb-setlnw

ผลิตภัณฑ์ DW ที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นประเภท Call Warrant และ ประเภท Put Warrant ที่ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี บนหุ้นอ้างอิงที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง จำนวน 23 รุ่น ได้แก่

ประเภทสิทธิในการซื้อ

1. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL23C1510A)

2. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE23C1510A)

3. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC23C1510A)

4. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ. ช.การช่าง (CK23C1510A)

5. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD23C1510A)

6. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ธนาคารทหารไทย (TMB23C1601A)

7. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT23C1601A)

8. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV23C1601A)

9. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAN23C1601A)

10. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI23C1601A)

11. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC23C1603A)

12. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTU23C1603A)

13. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBAN23C1603A)

14. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL23C1604A)

15. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC23C1604A)

ประเภทสิทธิในการขาย

16. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT23P1507A)

17. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ปตท. (PTT23P1507A)

18. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL23P1507A)

19. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBAN23P1507A)

20. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE23P1507A)

21. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTE23P1507A)

22. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC23P1507A)

23. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นสามัญของ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTU23P1507A)

ภาพรวมของผลการดำเนินงานปี 57 เติบโตเล็กน้อย และเติบโตต่อเนื่องในปี 58

 

KTB : คาดกำไร 4Q57 เพิ่มขึ้น 7% และ 27% และคงประมาณกำไรปี 57 ซึ่งเติบโตราว 2%

คาดกำไร 4Q57 ของ KTB ราว 9.6 พันล้านบาทเติบโต 7% และ 27%และคงประมาณการกำไรทั้งปี 57 ราว 3.46 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 2% ทั้งนี้มีสินเชื่อเติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่มธนาคารราว 8% เนื่องจากการเติบของสินเชื่อในทุกกลุ่มทั้งสินเชื่อเอกชนและสินเชื่อภาครัฐ ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรทั้งปี 57 ที่ราว 3.46 หมื่นล้านบาทซึ่งเติบโตราว 2% จากปี 56 และคาดจะเติบโตต่อเนื่องราว 7% ในปี 58 จากปัจจัยหนุนของการเติบโตของสินเชื่อที่คาดว่ายังดีต่อเนื่องตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 58 และการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจและกลุ่มผู้ประกอบการ SME เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังคงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 26.60 บาท (P/BV 1.4 เท่า)

-การเติบโตสินเชื่อที่ต่ำกว่าคาดทำให้ประมาณกำไรปี 57 สำหรับ BBL เติบโตเล็กน้อยเพียง 3%

คาดกำไรปกติในช่วง 4Q57 ของ BBL ทรงตัวใกล้เคียงกับ 3Q57 ที่ระดับ 9.6 พันล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้น 24%แม้ว่าการเข้าสู่ฤดูกาลในช่วงปลายปีช่วยหนุนให้สินเชื่อ 11 เดือนแรกปี 57 พลิกมาเติบโตจากปลายปี 56 เทียบกับที่หดตัวใน 3Q57 แต่ผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวและการคืนหนี้ก้อนใหญ่ทำให้สินเชื่อปี 57 เติบโตเพียง 1-2% ต่ำกว่าเป้าที่ระดับ 4-5% ด้านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลงจากไตรมาสที่แล้วเนื่องจากต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นจากการออกแคมเปญเพื่อระดมเงินฝากในการเพิ่มสภาพคล่อง สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับทรงตัวจากไตรมาสที่แล้วจากลูกค้าบางรายที่มีปัญหาตั้งแต่ไตรมาสที่แล้วแต่พอร์ตโดยรวมยังมีคุณภาพดี ฝ่ายวิจัยได้ปรับลดประมาณการเติบโตของสินเชื่อเหลือ 2% จากเดิม 5% ส่งผลให้ประมาณกำไรปี 57 ลดลง 3% เหลือ 3.7 หมื่นล้านบาทซึ่งเติบโต 3% จากปี 56 และปรับประมาณการกำไรปี 58 ลดลงจากเดิม 10% เหลือ 4.1 หมื่นล้านบาทซึ่งยังเติบโต 10% บนสมมติฐานว่าสินเชื่อในปี 58 จะกลับมาเติบโตราว 5% ปัจจัยพื้นฐานยังแข็งแกร่งจากการมีสาขาในต่างประเทศเป็นจำนวนมากรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ฝ่ายวิจัยคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 247 บาทจากเดิม 257 บาท (P/BV 1.4 เท่า)

-KBANK : แม้กำไร 4Q57 มีแนวโน้มแผ่วลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่คาดกำไรทั้งปี 57 เติบโต 12%

ฝ่ายวิจัยคาดกำไร 4Q57 ราว 1 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นเพียง 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลง 20% จาก 3Q57 เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อแผ่วลงในเดือนสุดท้ายที่มีการชำระคืนเงินกู้ (11 เดือนแรกปี 57 สินเชื่อเติบโตเกือบ 7% ซึ่งคาดว่าจะอยู่ใกล้เคียงระดับนี้จนถึงปลายปี 57 และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามฤดูกาลในไตรมาสสุดท้ายจากค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ ด้านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ใกล้เคียง 3Q57 ที่ 3.7% ฐานการเติบโตของสินเชื่อที่ต่ำทำให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นสู่ 2.3% ซึ่งยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคาร ฝ่ายวิจัยคงประมาณการกำไรปี 57 ที่ระดับ 4.6 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 12% โดยคาดกำไรปี 58 เติบโตต่อเนื่องราว 12% เป็น 5.2 หมื่นล้านบาท ราคาหุ้นที่ปรับลงมากในช่วงก่อนหน้านี้เป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้น คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 268 บาท (P/BV2.1 เท่า)

-SCB : คาดกำไร 4Q57 แผ่วลง 17% และ 4%คงคาดกำไรทั้งปี 57 เติบโต 7%

คาดกำไร 4Q57 ราว 1.27 หมื่นล้านบาทลดลง 17% และ 4% จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้วตามช่วงฤดูกาลจากกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงปลายปี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) น่าจะทรงตัวใกล้เคียง 3Q57 ที่ระดับ 3.35% สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ทรงตัว ขณะที่การตั้งสำรองหนี้สูญใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ซึ่งหากตัวเลขจริงมีการตั้งสำรองหนี้สูญต่ำกว่าสมมติฐานของฝ่ายวิจัย จะทำให้ผลประกอบการดีกว่าคาดการณ์ที่ราว 5.4 หมื่นล้านบาทซึ่งเติบโต 7% จากปี 56 และคาดจะเติบโตราว 4% เป็น 5.6 หมื่นล้านบาทในปี 58 โดยมี upside จากดีล tender off บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) ในช่วง 1Q58 คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 228 บาท (P/BV 2.4 เท่า)

ตามปกติแล้วในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะเป็นช่วงฤดูกาลที่จะมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ในช่วง 4Q57 กลับไม่เห็นสินเชื่อของแต่ละแบงก์เติบโตมากนัก เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้การเติบโตของสินเชื่อทั้งปีมีข้อจำกัดและต่ำกว่าเป้าหมายของผู้บริหาร อย่างไรก็ดี การเติบโตของสินเชื่อในปี 57 จะเป็นฐานที่ต่ำสำหรับปี 58 ซึ่งผู้บริหารธนาคารตั้งเป้าว่าสินเชื่อน่าจะเติบโตราว 2 เท่าของตัวเลข GDP (consensus 3.5 – 4%) โดยมีแนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ทรงตัว ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์โดยรวมยังอยู่ในระดับดีแม้จะมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) เพิ่มขึ้นในส่วนของสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME รายเล็ก แต่โดยรวมแล้วถือว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ไม่ใช่ปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ที่แย่ลงของทั้งพอร์ต ด้านฐานะเงินกองทุนยังแข็งแกร่งโดยแต่ละธนาคารมีการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์BASEL III ซึ่งจะช่วยเสริมเงินกองทุนให้แข็งแกร่งเพียงพอต่อการรองรับการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นในอนาคตจากที่คาดว่าเศรษฐกิจปี 58 จะเติบโตสูงจากฐานที่ต่ำในปี 57 เราให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคาร เป็น “Neutral” โดยเน้นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ได้แก่ BBL KBANK KTB และ SCB